เด่นโซเชียล

"โรคผิวหนังหน้าร้อน" อาการแบบนี้เป็นโรคหรือเปล่า รักษายังไง เช็คด่วน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หน้าร้อนนี้อย่าวางใจ หากเกิดอาการแปลก ๆ ที่ไม่รู้จักสงสัยเป็น "โรคผิวหนังหน้าร้อน" หรือเปล่า แล้วรักาาอย่างไร เช็คสุขภาพด่วน ๆ

พอเข้า "หน้าร้อน" หลายคนอาจจะเริ่มมีอาการเหงื่อออกเยอะ หรือเป็นโรคผิวหนังเกิดขึ้น ทั้งหมดนี้คือ "โรคผิวหนังหน้าร้อน" โดยแต่ละโรคมีวิธีแก้อย่างไรนั้นตามอ่านได้เลย

"โรคผิวหนังหน้าร้อน" มีอะไรบ้าง

1.ผดร้อน

 

ผดร้อนเป็นโรคผิวหนังยอดฮิต ดูจากชื่อก็คงพอรู้ ซึ่งจะเกิดได้บ่อยกับเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ คนเจ้าเนื้อ หรือคนที่ใส่เสื้อผ้ารัดแน่นมาก ๆ จนเกิดการสะสมของเหงื่อ โดยจะมีอาการเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดง หรือเป็นตุ่มน้ำใสเม็ดเล็ก ๆ บริเวณซอกต่าง ๆ ของร่างกายที่เสียดสีกัน รวมทั้งหน้าอก คอ และหลัง

 

 ปกติแล้วผดร้อนเป็นอาการที่สามารถรักษาด้วยตนเองได้และไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ แต่ถ้าเกิดผดร้อนติดต่อกันเป็นเวลานาน และมีไข้ ตัวเย็น เจ็บบริเวณที่เป็นผดร้อนมากผิดปกติ หรือมีหนองออกมาจากแผลผดร้อน ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะนั่นอาจเป็นการติดเชื้อที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน

 

2.กลาก และเกลื้อน

กลาก เป็นโรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา ซึ่งมักจะเกิดในร่มผ้า ซอกพับที่อับชื้นจากเหงื่อหรือสภาพอากาศชื้น ๆ ลักษณะจะเป็นตุ่มแดง ๆ แล้วค่อย ๆ ขยายออกไปเป็นวง มีขอบเขตชัดเจน ตุ่มมีลักษณะนูน แดง และมีสะเก็ด ขอบผื่นอาจมีตุ่มน้ำใสหรือตุ่มน้ำหนอง แล้วแต่ความรุนแรงของอาการในแต่ละบุคคล

 

  เกลื้อน โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อราที่พบได้บ่อยในหน้าร้อนอีกหนึ่งโรค คือ เกลื้อน ที่มักจะขึ้นตามคาง ใบหน้า หู หน้าอก หลัง ไหล่ ต้นคอ และแขน ลักษณะเป็นผื่นวงเล็ก ๆ สีแดง สีขาว หรือสีน้ำตาล โดยวิธีรักษาเกลื้อนส่วนใหญ่จะรักษาด้วยแชมพูกำจัดเชื้อรา ในลักษณะทาและพอกทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที จากนั้นก็ล้างออก เพราะแชมพูกำจัดเชื้อรามีฤทธิ์ค่อนข้างแรง หากพอกทิ้งไว้นานอาจระคายเคืองต่อผิวหนังได้

 

 

3. ผิวไหม้แดด

 หากทำกิจกรรมกลางแจ้งติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจมีอาการ ผิวไหม้แดด ซึ่งถือเป็น "โรคผิวหนังหน้าร้อน" ชนิดหนึ่ง โดยเปลี่ยนจากสีผิวปกติเป็นสีแดงกร่ำ พร้อมอาการแสบร้อนที่ผิวหนัง จากนั้นผิวจะเริ่มคล้ำและหลุดลอกเป็นขุย ๆ ซึ่งหากเกิดอาการผิวไหม้แดดแล้ว ควรรีบบรรเทาอาการให้ไว

 

 ครีมทาผิวที่มีส่วนผสมของเมนทอล จะสามารถรักษาอาการผิวไหม้แดดได้ แต่เชื่อเถอะว่ามันจะช่วยฟื้นฟูผิวไหม้แดดได้เป็นอย่างดี เพียงแค่นำครีมทาผิวที่มีส่วนผสมของเมนทอล มาทาบริเวณผิวที่มีอาการไหม้แดด ฤทธิ์เย็นจากเมนทอลจะช่วยบรรเทาอาการผิวแสบร้อน ไหม้แดด และทำให้รู้สึกสบายผิวได้ ทั้งนี้เพียงแค่ 1-2 วันก็จะสามารถเห็นผลได้แล้วว่าผิวที่ไหม้แดดจะค่อย ๆ มีอาการดีขึ้น

 

หรือใช้น้ำส้มสายชูเพียงแค่นำผ้าขนหนูมาชุบน้ำส้มสายชูให้ชุ่ม จากนั้นให้นำไปประคบบริเวณผิวที่มีอาการไหม้ประมาณ 10-15 นาที ทำทุกวันผิวคล้ำเสียจากรอยผิวไหม้แดดก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นจนเห็นได้ชัด

 

4. ฝ้า กระแดด

ภาวะนี้แม้ไม่อันตรายมาก แต่ก็ทำให้หมดสวยหมดหล่อไปได้เยอะ ซึ่งฝ้า กระแดด เกิดขึ้นจากการตากแดดแรง ๆ บ่อย ๆ จนอัลตราไวโอเลตในแสงแดดไปกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสีเพิ่มขึ้น ทำให้ผิวหนังหมองคล้ำ และใบหน้ามีฝ้า กระแดด ได้

 

  รักษาโดยวิธีธรรมชาติก็คือ การขัดหน้าด้วยมะขามเปียกนั่นเองค่ะ โดยวิธีการก็ง่าย ๆ เพียงแค่นำมะขามเปียกมาละลายน้ำ พอให้ข้น ๆ จากนั้นนำมาขัดหน้า โดยค่อย ๆ ขัดอย่างเบามือ เสร็จแล้วพอกหน้าทิ้งไว้อีกประมาณ 2-3 นาที แล้วล้างหน้าให้สะอาด สูตรนี้ทำบ่อย ๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง จะช่วยผลัดเซลล์ผิว และสามารถทำให้รอยฝ้าจางลงและหน้าขาวเนียนใสขึ้นได้อย่างเป็นธรรมชาติ

 

5.โรครูขุมขนอักเสบ 

 เป็นภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง จากการหมักหมมของเหงื่อ ไคล เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น โดยอาการส่วนใหญ่จะมีผื่นแดงบริเวณรูขุมขนในจุดที่มีขนเยอะ เช่น หนวด เครา รักแร้ แต่จะไม่คัน ทว่าถ้ามีการอักเสบรุนแรงอาจจะเป็นตุ่มหนอง แดง และเจ็บ หรือที่เรียกกันว่าฝี และหากฝีแตกก็จะมีหนองไหลออกมา มีอาการไข้ จากการอักเสบของผิวหนัง

 ส่วนการรักษาหากอาการไม่มาก มักจะหายได้เอง หรือเบื้องต้นอาจรักษาด้วยยาทาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ แต่หากเป็นแผลอักเสบ มีฝีหนอง อาจต้องผ่าระบายหนองออก และรับประทานยาปฏิชีวนะร่วมด้วย

 

6.โรคแพ้เหงื่อตัวเอง

 

 โรคแพ้เหงื่อตัวเองก็เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง ที่มักจะเกิดกับผู้ที่มีความไวต่อสิ่งเร้าทางผิวหนังมาก จนก่อให้เกิดภาวะแพ้ได้ โดยอาการแพ้มักจะแสดงออกมาในรูปผื่นคัน หรืออาการแดงที่ผิวหนัง เมื่อมีเหงื่อออก โดยเฉพาะในหน้าร้อน ที่เรามักจะเหงื่อซึมกันอยู่ตลอด

 

ในเบื้องต้นเราอาจรักษาโรคแพ้เหงื่อได้ด้วยการชำระล้างคราบเหงื่อ อาบน้ำ หรือพยายามไม่ให้เหงื่อแห้งติดอยู่บนผิวหนังนานเกินไป ซึ่งก็จะช่วยลดอาการคันลงได้พอสมควร ในรายที่มีอาการแพ้มาก ๆ แพทย์อาจฉีดสารต้านฮีสตามีนให้ หรือให้ยาจำพวกนี้ไปรับประทานเมื่อมีอาการแพ้

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ