เด่นโซเชียล

"พ่อเเม่ลำเอียง" ต้นเหตุจาก "ค่าเทอม" จริงหรือ ?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"พ่อเเม่ลำเอียง" ถูกว่าเพราะ "ค่าเทอม" ลูกไม่เท่ากันจริงหรือ ชาวเน็ตเห็นต่าง เเชร์ประสบการณ์ตรง เงินพ่อเเม่ไม่ใช่เงินเรา

"พ่อเเม่ลำเอียง" ไหม กลายเป็นประเด็นที่ชาวเน็ตตั้งคำถาม เมื่อความสัมพันธ์ในครอบครัว ระหว่างพ่อเเม่ - ลูก  ที่มีลูก  2 คน เกิดความเเตกต่างกันในเรื่องของการให้การศึกษา โดยตั้งกระทู้ถามว่า ถ้าพ่อเเม่ส่งลูก 2 คน เรียนโรงเรียนที่มี "ค่าเทอม" ต่างกัน ถือเป็นความไม่ยุติธรรมของพ่อแม่ไหม ??? 

โดยเคส "พ่อเเม่ลำเอียง" ไหมได้ยกตัวอย่างกรณีที่ มี 2 แบบ คือ

 

  1. ต่างกันแต่แรกแบบชัดเจน เช่น คนพี่เรียนโรงเรียนไทย คนน้องเรียนอินเตอร์ หรือ คนพี่เรียนโรงเรียนรัฐบาลปกติ น้องเรียน EP หรือเอกชนชื่อดัง
  2. ต่างกันไม่เยอะ 2-3 หมื่น แต่กินเวลายาวนาน ตั่งแต่อนุบาล ยันมหาวิทยาลัย 

 

 

 

 

 

เช่น การที่ตอนประถมคนพี่เรียนเก่งกว่า สอบเข้าสาธิตติด แต่คนน้องเรียนไม่เก่งเท่า เลยสอบไม่ติด พ่อแม่เลยพาเข้าโรงเรียนเอกชนชื่อดัง ซึ่งค่าเทอมแพงกว่า

 

พอเข้า ม.ปลาย พี่ติดมหิดลวิทยานุสรณ์ / กำเนิดวิทย์ (เรียนฟรี) หรือเตรียมอุดม (ค่าเทอมหลักพัน) แต่คนน้องก็ยังสอบไม่ติด เลยเข้าเอกชนชื่อดังแทน

 

ต่อมาเข้ามหาลัย พี่เรียน ม.รัฐ น้องเรียน ม.เอกชน หรือเรียนรัฐทั้งคู่ แต่น้องดันเลือกคณะที่ค่าเทอมแพงกว่าพี่มาก ๆ ส่วนพี่เรียนคณะอื่นที่ค่าเทอมไม่แพงเท่า

 

อันนี้อาจฟังดูไม่เยอะ แต่ถ้าคิดดูดี ๆ แล้วเยอะมาก เพราะกว่าจะเรียนประถมจนจบมัธยม มี 12 ปี 24 เทอม ถ้าเรียนมหาลัยคณะที่มี 6 ปี ก็เพิ่มอีก 12 เทอม รวมเป็น 36 เทอม สมมติต่างกันเทอมละ 25,000 รวมก็จะต่างกัน 25,000x36 = 900,000 นี่ยังไม่รวมใช้จ่ายที่เป็นค่าสังคมที่ต่างกันอีก

 

สรุปคือจ่ายให้น้องมากกว่าพี่ล้านนึง

 

ถ้าการเลี้ยงดูอื่น ๆ เท่ากันหมด แค่อาจมีรายจ่ายค่าสังคมต่างกันไปตามสังคมเพื่อนที่ลูกอยู่ ทั้งสองกรณีนี้จะถือว่าพ่อแม่ลำเอียง รักลูกไม่เท่ากันไหม
 


นอกจากนี้ เจ้าของกระทู้ ยังได้ย้ำว่า ทั้งสองเคสมีจริง ๆ เคยเห็นตัวอย่างมาแล้วจากคนใกล้ตัว และที่น่าแปลกคือ มักเป็นคนน้อง ที่ค่าเรียนและค่าสังคมแพงกว่า (น้องชอบแต่งตัว ซื้อเครื่องสำอางดีๆ ใช้แบรนด์เนม ใช้ไอโฟน ย้อมผม/ทำผมตามห้างทุกเดือน) แต่พี่จะใช้จ่ายสมถะ (แต่งตัวลุย ๆ เสื้อยืดกางเกงยีน ไม่แต่งหน้า โทรศัพท์เก่า ๆ ) ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นผลมาจากสังคมเพื่อนที่ต่างกันของพี่น้อง


กระทู้ "พ่อเเม่ลำเอียง" ไหมนี้ มีคนเข้ามาเเสดงความเห็นกันมากมาย โดยมีทั้งเเสดงความเห็นถึงตัวอย่างที่เจ้าของกระทู้ยกมา และบางคนยกตัวอย่างจากชีวิตของตัวเอง 

โดยความคิดเห็นมีคนกดไลก์สูงสุด 3 คอมเมนต์เเรก คือ 

 

" มีคนเดียว สบายไปแต่ถ้าเจอเหตุการณ์อย่านั้นส่วนตัวจะเลือก ทางออกแบบนี้
1. เก็บเงินจำนวนเท่ากันให้คนที่ค่าเทอมถูกกว่า (เพราะเค้าพยายามมากกว่า) ใส่บัญชี ให้ไป summer ตปท. หรือรางวัลเป็นครั้งคราว
2. อธิบายให้ลูกคนที่ค่าเทอมแพงฟังว่า พี่สอบได้พี่เลยได้ส่วนนี้ ส่วนเราสอบไม่ได้ ใช้เงินเยอะกว่าพี่ เลยอดส่วนนี้ไป 

เช่น ค่าเทอม 70000 อาจจะมีงบให้คนละแสน คนน้องเหลือ 30000 พี่อาจจะเหลือ 80000 เป็นต้น แล้วก็อย่าลืมสอนให้ช่วยเหลือกันในทางที่ถูกที่ควร "


" ถ้าพ่อแม่มีปัญหาและเต็มใจจะส่งเรียนอินเตอร์หรือเรียนนอกทั้งคู่
แต่บังเอิญคนนึงเรียนเก่ง ก็เลยได้ที่ ๆ ฟรี/ถูกและดีด้วย  
แบบนี้ไม่ถือว่าพ่อแม่ลำเอียงนะ แต่คือโชคดีที่ลูกช่วยทุ่นค่าใช้จ่าย

แต่ถ้ากำหนดไว้แต่แรกว่าจะส่งดี ๆ แพง ๆ เฉพาะกับคนนึง (พี่หรือน้องก็แล้วแต่)
แต่กับอีกคนยังไงก็ไม่ส่งเรียนแพงแน่ ๆ ถ้าเข้ารร.ดี ๆ ไม่ได้ก็เรียนรร.บ้าน ๆ ไป
อันนี้ถือว่าลำเอียงค่ะ (กรณีแบบนี้เจอเยอะมากกับครอบครัวคนจีนยุคเก่า ๆ ระหว่างลูกสาวกับลูกชาย) "

 

" จากเคสผมเลยละกัน พี่ผมไปเรียนเมืองนอก​ เงินที่บ้าน พี่ผมต้องเรียนไป  ทำงานพิเศษ​ + ที่บ้านส่งให้

ผ่านไปหลายปี​ ยุคผม​ ค่าเงินถูกลง​ ทุนมีมากขึ้น ผมไปเรียนเมืองนอก​ ผมสอบชิงทุนได้

ดังนั้นผมไม่ต้องทำงาน​ ใช้เงินที่บ้านส่งให้​(งบเท่ากัน) ผมใช้สบายๆ​ กิน​ เที่ยว​ เรียน​

คือเอาจริงๆ​ พี่น้องกัน​ คุยกันได้ พ่อแม่​ คุยอธิบายกับลูกได้​ มันไม่ได้ยากเลยครับ " 

 

นอกจากนี้ ยังมีคนเข้ามาเเสดงคอมเมนต์ถึงเคสของตัวเอง ซึ่งส่วนตัวไม่รู้ว่า "พ่อเเม่ลำเอียง" 


" จากประสบการณ์ส่วนตัวสอบติดรร.รัฐบาลมาตลอดตั้งแต่เด็กจนโต ส่วนพี่สาวสอบไม่ติดก็เรียนเอกชนแพงๆไป ก็ไม่มีอะไรนะ

ข้อ 1 อันนี้ทำให้ลูกคิดว่าได้พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากันแน่นอนค่ะ ตอนเล็กๆคงไม่คิดอะไร แต่โตแบบชั้นมัธยมไปแล้วเชื่อว่าคิดแน่นอน

ข้อ 2 ตอนเรียนมหาวิทยาลัยไม่ควรเป็นประเด็นนะคะ ต้องดูอาชีพเมื่อจบมาค่ะ ถ้าคนน้องตั้งใจเรียนแล้วมีอาชีพที่ดีก็ควรสนับสนุนนะ


ผมเป็นพี่นะครับ ตอนผมเรียน ก็ไม่เก่งนะครับ เรียนโรงเรียนธรรมดา แต่พอน้องจะเรียน (ผมห่างจากน้อง 15 ปี) สิ่งที่บอก พ่อกับแม่คือ อยากให้น้องเรียนโรงเรียนที่ดีที่สุด ในมุมของผมที่เป็นพี่ ไม่ได้คิดอะไรนะครับ แค่อยากเห็นน้องมีความสุขในสิ่งที่เขาเลือก และมีความสุขกับการใช้ชีวิต พร้อมจะสนับสนุนเขาอีกแรงด้วยครับ "

 

" ยุติธรรม  ไม่เท่ากับ  เท่ากันเป๊ะ

ในความคิดของแม่คนนึงนะคะ ลูกสาวยังเล็กอยู่ แต่แฟนมีความคิดว่าทุกอย่างต้องให้เท่ากันตลอด (คนโตเป็นลูกติดเราค่ะ) แต่แฟนมักจะเอียงไปทางคนโต เค้ากังวลว่าใครๆ จะว่ารักลูกไม่เท่ากัน เลยเหมือนจะโอ๋คนโตมากกว่า แต่เราก็บอกแฟนว่า คำว่ายุติธรรม ไม่ได้หมายความว่าต้องเท่ากันทุกอย่างเสมอไป เราควรให้ในสิ่งที่เหมาะสมและตรงตามศักยภาพ และความต้องการของลูก คือบางครั้งน้องอยากได้อะไรพี่ก็ต้องได้ด้วย แฟนเราจะคิดแบบนี้ แต่เราบอกก็ถ้าคนโตไม่เรียกร้องก็ไม่ต้องไปยัดเยียด หรือบางครั้งคนโตจำเป็นต้องใช้อะไรก็ซื้อให้เค้า แต่ไม่ต้องซื้อให้น้องก็ได้

ถ้าจากเคสที่ จขกท เล่ามา ที่พ่อแม่ดูแลแบบนั้น เรามองว่าก็โอเคนะ ให้เท่าที่หมาะสม ตามที่แต่ละคนทำได้ ก็ไม่เว่นเว่ออะไร ก็ถ้าคนโตอยากเรียนทันต แล้วพ่อแม่ไม่ให้เนี่ย ค่อยคิดว่าลำเอียง แต่นี่คนโตเค้าก็เลือกวิศวะไง เค้าชอบทางนั้นหรือเปล่า จะบังคับให้เค้าไปเรียนทันตะ จะได้ใช้เงินเท่าๆ น้องเหรอ " 

 

" ประสบการณ์ตรงครับ ผมเรียนมัธยมโรงเรียนรัฐบาล ค่าเทอมแค่หลักพันต้นๆ น้องผมเรียนอินเตอร์ 
แต่จบมา ถึงทุกวันนี้ ผมคิดว่าผมภูมิใจมาก เพราะโรงเรียนผมเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในระดับนึง แล้วเพื่อนที่ผมได้จากที่นี่ดีมาก ทุกวันนี้ยังติดต่อกันอยู่เลย

ถ้าลูกคนที่เรียนโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมีชื่อเสียง หรือไม่ก็ เขามีชีวิตที่ดีมีความสุข มีความทรงจำที่ดี มีเพื่อนดี จากโรงงานนี้ ไม่มีทางที่เขาจะน้อยใจครับ "

 

" ที่บ้านก็เป็นค่ะ เราสอบติดเรียนของรัฐตลอด น้องไม่ติดอะไรเลยเรียนแพงตลอด แต่ไม่ได้รู้สึกอะไร ก็น้องมันสอบไม่ติด ไม่เรียนเอกชนจะให้น้องไปเรียนที่ไหน... อีกอย่างคือพ่อแม่เป็นคนส่งเรียนเงินเขาไม่ใช่เงินเรา เราช่วยเขาประหยัดได้ก็ดีไปอีกอย่าง " 

 


อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าเเทนที่จะมาตั้งคำถามว่า "พ่อเเม่ลำเอียง" ไหม  ????? มีคอมเมนต์ข้อความหนึ่ง ได้โพสต์ไว้ได้อย่างน่าสนใจว่า กรณีนี้ สิ่งที่สำคัญคือความรู้สึกของลูก ๆ มากกว่า ว่ารู้สึกยังไง น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดของเรื่องนี้   

 

" มันน่าจะอยู่ที่เด็กๆ เขารู้สึกยังไงมากกว่าค่ะ ถ้ารู้สึกว่าพ่อแม่ลำเอียง อาจจะต้องคุย ต้องอธิบาย ไม่มีพ่อแม่ที่ไหน อยากให้ลูกรู้สึกอย่างนั้นหรอกค่ะ "


คลิกอ่านกระทู้เต็ม

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ