เด่นโซเชียล

ขาเม้าท์สายนินทา "นายจ้าง" สามารถไล่ออกทันที ไม่ต้องจ่ายชดเชย จริงหรือไม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โซเชียลแห่แชร์ "ลูกจ้าง" นินทา "นายจ้าง" สามารถไล่ออกได้โดยไม่ต้องชดเชย ทาง กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อโซเชียลมีเดียเรื่องลูกจ้างนินทา "นายจ้าง" สามารถไล่ออกได้โดยไม่ต้องชดเชย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

 

 

หากคำพูดในการนินทาของ "ลูกจ้าง" ถึงขนาดเป็นการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่น ทำให้ "นายจ้าง" ได้รับความเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา การกระทำของลูกจ้างถือเป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119

 

 

(1) แต่หากคำพูดของลูกจ้างไม่ถึงขนาดเป็นหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นตามประมวลกฎหมายอาญา แต่คำพูดในการนินทาทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ถือว่าการกระทำของลูกจ้างเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119

 

 

(2) และเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ซึ่งบางกรณีคำพูดในการนินทาของลูกจ้างไม่ถึงขนาดร้ายแรง นายจ้างสามารถออกใบเตือนได้ จะเหมารวมว่าทุกกรณีที่นินทานายจ้างแล้วจะถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้ค่าชดเชยไม่ได้ ต้องว่ากันเป็นเรื่อง ๆ ไป

สำหรับคำพิพากษาฎีกาที่ 8206/2560 เฟซบุ๊กเป็นสื่อออนไลน์สาธารณะที่ผู้ใช้งานใช้ในการติดต่อกับบุคคลอื่นและบุคคลอื่นสามารถเข้าถึงข้อความที่มีผู้เขียนลงบนเฟซบุ๊กได้ โดยมีบุคคลภายนอกเข้ามาเขียนข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อความที่โจทก์เขียนไว้บนเฟซบุ๊ก

 

 

แม้ข้อความที่โจทก์เขียนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการระบายความคับแค้นข้องใจของโจทก์ แต่ก็ทำให้ผู้อ่านข้อความเข้าใจว่า "นายจ้าง" หรือ จำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ จำเลยเป็นนายจ้างที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง เอาเปรียบ "ลูกจ้าง" และจำเลยกำลังประสบปัญหาด้านการเงิน

 

 

ทั้งโจทก์ทำงานกับจำเลยมาเป็นเวลานานย่อมทราบดีว่าการเขียนข้อความดังกล่าวย่อมมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ในการบริหารของ "นายจ้าง" หรือจำเลย ซึ่งมีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้า การกระทำของโจทก์จึงเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) และเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์

 

 

ทั้งนี้ หาก "ลูกจ้าง" หรือ "นายจ้าง" มีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อ กองสวัสดิการแรงงาน กลุ่มงานกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน โทร 0 2660 2180 และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สามารถติดตามได้โทร 1546 หรือ 1506 กด 3

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ