เด่นโซเชียล

"สาธารณสุข" เผยแล้ว ทำไมไม่รายงานผลตรวจโควิดแบบ RT-PCR กับ ATK รวมกัน

25 ก.พ. 2565

"สาธารณสุข" เผยแล้ว ถึงปมสาเหตุทำไมไม่รายงานจำนวนผลตรวจโควิดแบบ RT-PCR กับ ATK รวมกัน เหตุใดต้องแยกตามวิธีการตรวจ หลังเป็นที่สงสัยของชาวเน็ต

 

"สาธารณสุข" กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงแล้ว หลังเกิดเป็นประเด็นที่ชาวเน็ตสงสัยอย่างหนักว่าเหตุใดทำไมถึงไม่รายงานจำนวนผลตรวจโควิด-19 แบบ RT-PCR กับ ATK รวมกัน ทำไมต้องรายงานแยก งานนี้ลั่นเหตุผลชัดแล้วว่าการนำตัวเลขผลตรวจจากทั้ง 2 วิธีการมารวมกันอาจไม่ถูกต้องทั้งหมด

 

 

 

 

"สาธารณสุข" กระทรวงสาธารณสุข ก็ได้ออกมาตอบชัดถึงข้อสงสัยของชาวเน็ต สืบเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ในตอนนี้ ก็ยังคงน่ากังวลอยู่ไม่ใช่น้อย เพราะตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ทะลุ 2 หมื่นรายกันเลยทีเดียว และนอกจากนั้นก็พบว่ายังมีการรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อแยกตามวิธีการตรวจระหว่าง  RT-PCR กับ ATK ไม่ได้นำมารวมกัน ทำให้ชาวเน็ตหลายคนต่างพากันสงสัยว่าเป็นเพราะอะไรจนพากันแสดงความคิดเห็นอย่างคับคั่ง ซึ่งล่าสุดวันนี้ (25 กุมภาพันธ์ 2565) ทางด้านเพจเฟซบุ๊ก ไทยคู่ฟ้า ก็ได้ออกมาโพสต์ข้อความชี้แจงถึงประเด็นดังกล่าวแล้วว่า

 

 

 

 

จากยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งจากการตรวจแบบ RT-PCR และ ATK ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อแยกตามวิธีการตรวจ ไม่ได้นำมารวมกัน โดย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงถึงสาเหตุดังกล่าว ดังนี้

 

การนำตัวเลขผลตรวจจากทั้ง 2 วิธีการมารวมกันอาจไม่ถูกต้องทั้งหมด เนื่องจากผู้ที่มีผลบวกจาก RT-PCR มักจะมีผลบวกจาก ATK มาแล้ว เช่น ในกลุ่ม ATK บวก 100 ราย อาจจะมี RT-PCR บวก 10 ราย รวมถึงกลุ่มเสี่ยงที่ต้องรักษาในโรงพยาบาลจะต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำเช่นกัน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมุ่งให้ความสำคัญกับระบบการรักษาให้อัตราตายต่ำ ดูแลผู้ป่วยหนักให้ดี ส่วนที่ป่วยไม่หนักก็ดูแลไม่ให้ป่วยหนักเพิ่มขึ้น

 

และผู้ที่มีผลการตรวจ ATK เป็นบวก สามารถเข้าสู่ระบบรักษาที่บ้านและชุมชน (Home and Community Isolation) ได้ทันที โดยไม่ต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำ เนื่องจากมีความแม่นยำใกล้เคียงกัน ยกเว้นกลุ่มเสี่ยง (ผู้สูงอายุ - กลุ่ม 7 โรคประจำตัว - กลุ่มหญิงตั้งครรภ์)

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ไทยคู่ฟ้า