เด่นโซเชียล

"ภาษี" ขายของออนไลน์ คิดยังไง ต้องยื่นแบบไหน มีขั้นตอนอะไรบ้าง ครบจบที่นี่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ภาษี" ขายของออนไลน์ ต้องจ่ายด้วยนะรู้ยัง แล้วภาษีที่ว่านี้มีวิธีคำนวณยังไง มีขั้นตอนการยื่นแบบไหนบ้าง รวมคำตอบแบบเข้าใจง่าย ๆ ไว้ที่นี่ รีบเช็ค ก่อนโดนเรียกเก็บย้อนหลัง

 

"ภาษี" ด้วยสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา ส่งผลให้หลายคนต้องอยู่สถานะว่างงาน หรือเปลี่ยนสายงานกระทันหัน บ้างก็ถูกลดเงินเดือนจนต้องหาได้เสริม ไม่ว่าจะเป็นการทำฟรีแลนซ์ ไปจนถึงการขายของออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เสื้อผ้า เครื่องสำอาง ฯลฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในทางเลือกที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน 

 

 

แต่ทุกคนรู้มั้ยว่าจริง ๆ แล้ว เป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ก็ต้องเสียภาษีเหมือนอาชีพอื่น ๆ เหมือนกันนะ พอถึงจุดนี้ พ่อค้าแม่ค้ามือใหม่อาจจะงง ว่าทำไมฉันจะต้องเสียภาษีด้วย! นั่นก็เป็นเพราะว่า ทางกรมสรรพากรกำหนดไว้ว่า รายได้จากการขายของออนไลน์ ถือว่าเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 (เงินได้จากการทำธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม) นั่นเอง 

 

 

 

 

วิธีคำนวณ "ภาษี" ที่ต้องจ่าย

หากไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน) ก็ถือว่าเป็นบุคคลธรรมดาที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยมีหลักการง่าย ๆ 2 อย่าง คือ

 

  1. สถานะโสด เมื่อมีรายได้เกิน 60,000 บาท จะต้องยื่นภาษีได้
  2. สถานะสมรส เมื่อมีรายได้เกิน 120,000 บาท จะต้องยื่นภาษีได้

 

หรือยิ่งมีเงินได้สุทธิมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเสียภาษีมากขึ้นเท่านั้น โดยลักษณะการคำนวณจะคิดแบบขั้นบันไดง่าย ๆ ดังนี้

 

  • เงินได้สุทธิ 1-150,000 บาท : ยกเว้นภาษี
  • เงินได้สุทธิ 150,001-300,000 บาท : เสียภาษี 5 %
  • เงินได้สุทธิ 300,001-500,000 บาท : เสียภาษี 10%
  • เงินได้สุทธิ 500,001-750,000 บาท : เสียภาษี 15%
  • เงินได้สุทธิ 750,001-1,000,000 บาท : เสียภาษี 20%
  • เงินได้สุทธิ 1,000,001-2,000,000 บาท :เสียภาษี 25%
  • เงินได้สุทธิ 2,000,001-5,000,000 บาท : เสียภาษี 30%
  • เงินได้สุทธิ 5,000,001 ขึ้นไป : เสียภาษี 35%

 

 

ทั้งนี้ การยื่นภาษีสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ สามารถเลือก 2 แบบ ดังนี้ 

 

หักค่าใช้จ่ายตามจริง

 

  • เหมาะสำหรับแม่ค้าออนไลน์ที่มีต้นทุนสูง เพราะ สามารถนำต้นทุนไปหักค่าใช้จ่ายได้สูงด้วยเช่นกัน เมื่อหักค่าใช้จ่ายเรียบร้อยแล้ว เงินได้สุทธิที่ต้องนำมาคำนวณภาษีก็จะลดลงตามไปด้วย 

 

 

หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60%

 

  • เหมาะกับผู้ค้าออนไลน์ที่มีกำไรเยอะ ๆ 
  • ข้อดีของการยื่นแบบนี้ คือไม่ต้องแสดงหลักฐานค่าใช้จ่ายใด ๆ ต่อกรมสรรพากร  ทำให้เราได้ประโยชน์ทางภาษีในส่วนต่างของต้นทุนกับค่าใช้จ่ายแบบเหมานั่นเอง

 

 

 

 

แล้วต้องจะยื่น "ภาษี" เมื่อไหร่

การยื่นภาษีออนไลน์ จะต้องยื่นปีละ 2 ครั้ง (ภ.ง.ด. 94 และ ภ.ง.ด. 90) เพื่อไม่ให้เสียภาษีหนักในครั้งเดียว โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

ยื่นภาษีครึ่งปีแรก

 

  • เริ่มยื่นภาษีภายในวันที่ 1 กรกฎาคม - 30 กันยายน ในปีเดียวกัน ตามแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 94 โดยแม่ค้าออนไลน์จะต้องนำเงินได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน มาแสดงในการยื่นภาษี  

 

 

ยื่นภาษีปลายปี

 

  • เริ่มยื่นภาษีภายในวันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคมของปีถัดไป โดยแม่ค้าออนไลน์จะต้องนำเงินได้ทั้งปี กรอกในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ