เด่นโซเชียล

ไม่ดื่มน้ำ หลัง "ปัสสาวะกลางคืน" เสี่ยงแน่ "โรคอันตราย" จริงหรือ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ชี้ ประเด็น ไม่ดื่มน้ำ หลัง "ปัสสาวะกลางคืน" เสี่ยง ภาวะหัวใจและสมองอุดตัน เป็น "ข่าวปลอม"

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ชี้ ประเด็น ไม่ดื่มน้ำ หลัง "ปัสสาวะกลางคืน" เสี่ยง ภาวะหัวใจและสมองอุดตัน เป็น "ข่าวปลอม"

 

วันนี้ 27 ม.ค.2565 ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ ในประเด็น ไม่ดื่มน้ำหลัง "ปัสสาวะกลางคืน" ทำให้เกิดภาวะการอุดตันของหัวใจ และสมอง ทาง ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

 

จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลว่าหากตื่นมา "ปัสสาวะกลางคืน" แล้วไม่ดื่มน้ำหลังจากที่ตื่นมาปัสสาวะ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะการอุดตันของหัวใจ และสมองนั้น ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า

 

โดยปกติร่างกายมีกลไกในการควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ให้สมดุลอยู่เสมอ และร่างกายจะสูญเสียน้ำตามปกติผ่านการพูดการหายใจ เหงื่อ และปัสสาวะ หากเราดื่มน้ำมาก ร่างกายก็จะขับน้ำที่เกินความจำเป็นออกมา ในทางตรงกันข้าม หากร่างกายขาดน้ำ ปัสสาวะก็จะน้อยหรือไม่รู้สึกปวดปัสสาวะเลย เนื่องจากกลางคืนอากาศเย็น เราจึงปัสสาวะมากกว่าปกติ เพราะร่างกายไม่ได้เสียน้ำไปกับเหงื่อ

 

แต่ก็ไม่ควรมากกว่า 2 ครั้งต่อคืน เพราะหาก "ปัสสาวะกลางคืน" มากกว่า 2 ครั้งต่อคืน อาจจะต้องตรวจหาสาเหตุต่อไป และการปัสสาวะเป็นกลไกการขับน้ำส่วนที่เกินความต้องการของร่างกายออกมา ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำหลังจากปัสสาวะทุกครั้ง แต่อาจจะดื่มตามความรู้สึกคอแห้งหรืออยากดื่มมากกว่า และไม่มีข้อมูลว่า การไม่ดื่มน้ำหลังปัสสาวะกลางคืน เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือหลอดเลือดหัวใจ

ซึ่งการดื่มน้ำในช่วงกลางคืนที่มากเกินไป ทำให้ต้องลุก "ปัสสาวะกลางคืน" บ่อยครั้งขึ้น ซึ่งทำให้การนอนไม่ต่อเนื่อง จะมีผลต่อสุขภาพในกลางวันได้ และอาจจะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุขณะลุกขึ้นมาเพื่อเข้าห้องน้ำในช่วงกลางคืน

 

โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และหากต้องการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หรือหลอดเลือดหัวใจ ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมความดันโลหิต ระดับน้ำตาล และไขมันในเลือด งดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และตรวจสุขภาพเป็นประจำสม่ำเสมอ

 

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันประสาทวิทยา สามารถโทร. 02 3069899

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ