
แอป "เงินกู้" เถื่อน เปิด 5 กลโกง อย่าเพิ่งตกเป็นเหยื่อ เจอแบบนี้หนีให้ไกล
แอป "เงินกู้" เถื่อน ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิด 5 กลโกง เจอแบบนี้หนีให้ไกล อย่าเผลอตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพเด็ดขาด
"เงินกู้" เมื่อแหล่งเงินกู้เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ประชาชนต่างพากันใช้บริการอยู่ไม่น้อย แต่ช่วงหลัง ๆ ที่ผ่านมานี้มิจฉาชีพมักจะให้ช่องทางฉวยโอกาสหลอกลวง หนึ่งในนั้นก็คือการทำแอปเงินกู้เถื่อน เมื่อประชาชนไม่รู้ก็จะตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ ทำให้ล่าสุดนี้ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็ได้ออกมาเปิดเผยกลโกง 5 ข้อสังเกตแอปเงินกู้เถื่อน เช็คให้แน่เจอแบบนี้หนีให้ไกล
"เงินกู้" เมื่อแหล่งเงินกู้กลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เหล่ามิจฉาชีพฉวยโอกาสหลอกลวงประชาชน ทำให้ช่วงหลัง ๆ ที่ผ่านมานี้จะเห็นข่าวที่หลายคนออกมาร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะสามารถใช้วิธีไหนบ้างเอาผิดกับมิจฉาชีพเหล่านี้ได้ นอกจากนั้นหลายคนก็ยังหาวิธีป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพอีกด้วย จนทางด้านเพจเฟซบุ๊ก PCT Police ของศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็ได้ออกมาโพสต์ข้อมูล 5 ข้อสังเกต แอปเงินกู้เถื่อน ถ้าเจอ 1 ใน 5 ข้อนี้ ขอเชิญหลีกหนีให้ไกล
โดย 5 ข้อสังเกต แอปเงินกู้เถื่อน นั้น ได้แก่
- ดอกโหด
ถ้าแอปไหนเรียกดอกเบี้ยโหดกว่าร้อยละ 15 ต่อปี หรือ 1.25 ต่อเดือน ก็บอกลาได้เลยผิดกฎหมายแน่นอน
- หาเรื่องเอาเงินก่อน
หาเหตุอ้างขอค่าธรรมเนียมหรือค่าค้ำประกัน โดยจะให้โอนไปก่อนที่จะได้รับเงินกู้ เสร็จแล้วก็จะหายไปตามระเบียบ
- ปล่อยกู้มากกว่าที่ขอ
ทำไมเหรอ? ก็จริง ๆ แล้วเขาก็หาเหตุเอาเงินต้นไปรวมกับดอกเบี้ยเพื่อทวงหนี้เราโหด ๆ ทีหลังไง
- ด่า ข่มขู่ไม่สุภาพ
เวลาที่เราผิดนัดไม่แปลกหรอกที่เจ้าหนี้จะโทรมาทวง แต่มันก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย แต่ถ้าถึงขั้นด่าทอ ข่มขู่แล้ว รับรองเลยว่าบริษัทที่ถูกต้องไม่มีที่ไหนเขาทำกัน
- โทรไปข่มขู่คนที่เรารู้จัก
ถ้าคนรอบตัวได้รับโทรศัพท์ว่า คุณไม่ใช้หนี้ให้ใคร หรือ ประจานให้คุณอับอายว่าคุณไปเป็นหนี้เขา นั่นแหละ คุณกำลังโดนแก๊งแอปเงินกู้ทวงหนี้เถื่อน ๆ เข้าให้แล้ว
นอกจากนั้นถ้าเอาชัวร์ที่สุด คลิกไปที่เว็บไซต์ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย https://www.bot.or.th/app/BotLicenseCheck แล้วเอาชื่อแอปพลิเคชัน ชื่อบริษัท เสิร์ชหาเลย ถ้าไม่มีแสดงว่าแอปพลิเคชันนั้น ค่ายนั้นไม่ได้รับอนุญาต
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : PCT Police