เด่นโซเชียล

เช็คเลย "Long COVID" อาการอะไรบ้าง 2 เดือนแล้วไม่หาย ควรแพบแพทย์

เช็คเลย "Long COVID" ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพจากโรคโควิด-19 หลังกรมการแพทย์ออกมาเผยแล้ว อาการอะไรบ้างอยู่นาน 2 เดือนแล้วยังไม่หายควรพบแพทย์

 

"Long COVID" ภาวะ Long COVID เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งผลกระทบต่อสุขภาพจากโรคโควิด-19 ที่ทำให้ประชาชนต่างเป็นกังวลอยู่ไม่น้อย โดยช่วงนี้สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยตั้งแต่ที่สายพันธุ์ใหม่โอไมครอนเข้ามาระบาดอย่างหนัก ก็ทำให้ประชาชนหลายคนต่างเตรียมตัวรับมือหาข้อมูลต่าง ๆ อย่างมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือ อาการ Long COVID ที่จะตามมาภายหลังนั่นเอง เพราะหลังจากรักษาการติดเชื้อโควิด-19 จนหายดีแล้วนั้น ร่างกายก็จะมีอาการที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องจากการติดเชื้อขึ้นมา 

 

โดย "Long COVID" ภาวะ Long COVID ล่าสุดวันนี้ (21 มกราคม 2565) ทางด้านเพจเฟซบุ๊ก กรมการแพทย์ ก็ได้ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นนี้ โดยระบุไว้ว่า ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพจากโรคโควิด-19 หรือ ภาวะ Long COVID เป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ และมีอาการอยู่นานอย่างน้อย 2 เดือน เกิดขึ้นได้หลายระบบ และอาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยอื่น ๆ 

 

 

 

 

และ "Long COVID" ภาวะ Long COVID ทางด้าน กรมการแพทย์ ก็ได้ให้ข้อมูลอีกว่า จากการสำรวจผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยโควิด-19 ของกรมการแพทย์ อาการที่พบได้บ่อยมีดังนี้

 

  • ระบบทางเดินหายใจ (44.38%) หอบเหนื่อยไอเรื้อรัง
  • ระบบทางจิตใจ (32.1%) นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า
  • ระบบประสาท (27.33%) อ่อนแรงเฉพาะที่เฉียบพลัน ปวดศีรษะ มึนศีรษะ หลงลืม กล้ามเนื้อลีบ
  • ระบบทั่วไป (23.41%) อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด (22.86%) เจ็บหน้าอก ใจสั่น
  • ระบบผิวหนัง (22.8%) ผมร่วง ผื่นแพ้

 

อาการผิดปกติดังกล่าวส่วนใหญ่หายได้เอง หากผู้ป่วยมีอาการต่อเนื่องนานกว่า 2 เดือน ควรพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลที่เคยรักษาโควิด-19 

 

 

Long COVID, ภาวะ Long COVID, 2 เดือน, พบแพทย์, โควิด-19

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : กรมการแพทย์