เด่นโซเชียล

ถ้าท้ายสุด "เดลตาครอน" ไม่มีจริง จะพาดหัวข่าวไหนมาแก้ข่าวที่กระจายไปมั้ย

ถ้าท้ายสุด "เดลตาครอน" ไม่มีจริง จะพาดหัวข่าวไหนมาแก้ข่าวที่กระจายไปมั้ย

10 ม.ค. 2565

ดร.อนันต์ นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ตั้งคำถาม ถ้าท้ายสุด "เดลตาครอน" ไม่มีจริง จะพาดหัวข่าวไหนมาแก้ข่าวที่กระจายไปมั้ย หลังผู้เชี่ยวชาญชี้ Deltacron ไม่น่ามีอยู่จริง ถาม WHO ก่อนก็ดีนะ ก่อนเรียกอะไรแบบนี้

 

"เดลตาครอน" Deltacron สร้างความตื่นตะลึงไปทั่ว เมื่อมีการรายงานข่าวว่า ไซปรัสพบ โควิด-19 ลูกผสมใหม่ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญซึ่งนำโดยหัวหน้าห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพและไวรัสวิทยาระดับโมเลกุลประจำมหาวิทยาลัยไซปรัส เลลอนดิออส คอสตริกิส

 

  • คอสตริกิส เผยกับสื่อท้องถิ่นว่า เชื้อไวรัสฯ กลายพันธุ์ตัวใหม่นี้มีภูมิหลังทางพันธุกรรมของสายพันธุ์เดลตาร่วมกับการกลายพันธุ์บางส่วนของโอไมครอน จึงนำไปสู่การตั้งชื่อว่าเดลตาครอน

 

  • ทีมของคอสตริกิสพบผู้ติดเชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์เดลตาครอน 25 ราย จากการจัดลำดับพันธุกรรมตัวอย่าง 1,377 รายการ ภายใต้โครงการติดตามแนวโน้มการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสฯ ในประเทศ

 

  • คอสตริกิส ระบุว่า คณะผู้เชี่ยวชาญพบความถี่การติดเชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์ใหม่นี้ในกลุ่มผู้รักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งอาจสะท้อนว่ามันเชื่อมโยงกับการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ทว่าขณะนี้ยังถือว่าไม่น่าเป็นกังวล

 

 

 

 

ล่าสุด ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้โพสต์ข้อความผ่าน Anan Jongkaewwattana ถึง "เดลตาครอน" ว่า ไวรัสชื่อประหลาดอย่าง Deltacron ถ้ามีจริงต้องแยกเชื้อออกมาให้ได้ เพิ่มปริมาณได้ และถอดรหัสออกมาได้ชัดเจน การได้ข้อมูลจากคนป่วยมาโดยตรง รีบถอดรหัส โอกาสสูงมาก คือ การปนเปื้อนของ RNA ของไวรัสทั้ง เดลตา และ โอไมครอน ที่อยู่ในแล็บ

 

 

 

"อยากได้ขึ้นพาดหัวข่าวเลยรีบเร่งบอกสื่อ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่วิเคราะห์ผลให้ถี่ถ้วนก่อน" ดร. อนันต์ ระบุพร้อมบอกอีกว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับ Dr. Tom Peacock ของ Imperial College ซึ่งเป็นนักวิจัยที่เคยชี้ให้เห็น Omicron เป็นคนแรก ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่กับข้อมูลไวรัสทุกวัน ทั้งวัน บอกว่าหลังดูข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรม ว่า ไวรัสชื่อประหลาดนี้ ไม่น่ามีอยู่จริง ครับ ด้วยเหตุผลข้างต้น จำเป็นต้องเพาะออกมาให้เห็นจริง ๆ ก่อนค่อยเชื่อครับ ถาม WHO ก่อนก็ดีนะ ก่อนเรียกอะไรแบบ Deltacron

 

 

เดลตาครอน, Deltacron, ไซปรัส, โอไมครอน, เดลตา

 

 

เดลตาครอน, Deltacron, ไซปรัส, โอไมครอน, เดลตา

 

 

เดลตาครอน, Deltacron, ไซปรัส, โอไมครอน, เดลตา

 

 

 

 

ทั้งนี้ ดร. อนันต์ ยังตั้งคำถามที่น่าสงสัยว่า ถ้าท้ายที่สุด "เดลตาครอน" Deltacron ไม่มีจริง เป็นความผิดพลาดของการถอดรหัสใน Lab จะมีพาดหัวข่าวไหนมาแก้ข่าวที่กระจายไปมั้ย???

 

 

 

 

ด้านชาวเน็ตเข้ามาคอมเมนต์แสดงความเห็น อาทิ คนอ่านก็ตกใจฟรี , น่าจะเงียบไปคะ , เป็นวลี ฮิตไปแล้ว อะครับ อาจารย์ , คนอ่านเดี๋ยวนี้ ประสาทด้านหมดแล้วค่ะ อาจารย์ , ก็มันเป็นซะแบบนี้แหละครับ แม้กระทั่งบุคลากรทางการแพทย์ยังแชร์ข่าวพวกนี้เลย , หนูนี่งงมากค่ะ​ กระจายไวมาก , ข่าวมั่วไปหมด คนก็กลัวขี้หดตดหาย เฮ้อ , ออกมาให้คนแตกตื่นทำไม