"google doodle" กูเกิล ดูเดิล ร่วมรำลึกวันเกิด ของ Stephen Hawking
"google doodle" "google doodle" กูเกิล ดูเดิล ร่วมเฉลิมฉลองวันเกิดบุคคลสำคัญทางวิทยาศาสตร์ อัจฉริยะผู้ไขความลับแห่งจักรวาล อย่างสตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking) โดยวันที่ 8 มกราคม เป็นวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 80 ปี
"google doodle" กูเกิล ดูเดิล เปลี่ยนโลโก้เป็นวิดีโอฉลองวันเกิดอัจริยะผู้ไขความลับแห่งจักรวาล อย่างสตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking) ผู้ทรงอิทธิผลคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ เป็นทั้งนักเขียน, นักจักรวาลวิทยา และนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ อธิบายทฤษฏีการชนกันของหลุมดำจนเกิดบิ๊กแบง ในขณะที่หนังสือที่ขายดีที่สุดของเขา ทำให้ผู้อ่านหลายล้านคนทั่วโลกสามารถเข้าใจเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างกว้างขวาง
โดย "google doodle" กูเกิล ดูเดิล ได้จัดวิดีโอนี้ขึ้น เนื่องจาก วันที่ 8 มกราคม ในปี 1942 เป็นวันเกิดของ สตีเฟน วิลเลียม ฮอว์คิง (Stephen William Hawking) ในเมืองอ็อกซ์ฟอร์ด ของประเทศอังกฤษ ด้วยความอยากรู้อยากเห็นและสติปัญญาของเขา ทำให้เขาได้รับสมญานามว่า "ไอน์สไตน์" จากความหลงใหลในการทำงานของจักรวาลตั้งแต่อายุยังน้อย
ซึ่งหลังจากการพบแพทย์ในวัย 21 ปี ผลวินิจฉัยพบว่า เขาเป็นโรคทางระบบประสาท ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องเศร้าสำหรับใครหลายคน แต่สำหรับเขา กลับชีวิตของเขากลับขับเคลื่อนด้วยความสุขจาก ดนตรีของนักแต่งเพลง Richard Wagner และการสนับสนุนด้วยความรักจาก Jane Wilde ภรรยาในอนาคตของเขา ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เขา อุทิศตนให้กับฟิสิกส์, คณิตศาสตร์ และจักรวาลวิทยา
ในปี 1965 ฮอว์คิงได้เสนอวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของเขาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เรื่อง คุณสมบัติการขยายจักรวาล (Properties of Expanding Universes) ซึ่งนำเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการปฏิวัติที่ว่าอวกาศและเวลาเกิดขึ้นจากภาวะเอกฐาน จุดที่มีขนาดเล็กและหนาแน่นอย่างไม่สิ้นสุด ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในปัจจุบันว่า เป็นคุณลักษณะสำคัญของหลุมดำ
ด้วยทฤษฎีดังกล่าว ทำให้ ฮอว์คิง ได้รับการยอมรับให้เป็นนักวิจัยที่วิทยาลัย Gonville และ Caius ในเมืองเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นบ้านวิชาการของเขาตลอดระยะเวลาของการวิจัย ความหลงใหลในหลุมดำของ ฮอว์คิง ทำให้เขาค้นพบในปี 1974 ว่าอนุภาคสามารถหลบหนีจากหลุมดำได้ ซึ่งทฤษฎีนี้เรียกว่า การแผ่รังสีของฮอว์คิง ซึ่งถือเป็นการมีส่วนสนับสนุนที่สำคัญที่สุดของเขาในด้านฟิสิกส์
และในปี 1979 ผลงานที่ก้าวล้ำของฮอว์คิง ในเรื่องหลุมดำก็ทำให้เคมบริดจ์ตัดสินใจแต่งตั้งเขาให้เป็นศาสตราจารย์ภาควิชาคณิตศาสตร์ของลูคัส ซึ่งดำรงตำแหน่งโดยไอแซก นิวตันในปี 1669
วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของฮอว์คิงเผยแพร่สู่สาธารณะในปี 2017 บนเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งได้รับการเข้าถึงเป็นอย่างมาก และนี่คือนักประดิษฐ์ทรงอิทธิพลของวงการดาราศาสตร์ ผู้ที่เปลี่ยนแปลงวิธีที่โลกเข้าใจจักรวาลมากยิ่งขึ้น ทาง "google doodle" กูเกิล ดูเดิล จึงได้เปลี่ยนโลโก้ เพื่อเป็นการให้เกียรติบุคคลอันทรงคุณค่านั่นเอง