เด่นโซเชียล

"วัคซีนโควิด" ทำท้องเสียทั้งจังหวัด จริงหรือไม่ เช็คก่อนเชื่อ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ชาวเน็ตแห่แชร์ "วัคซีนโควิด" พาชาวจันทบุรีท้องเสียทั้งจังหวัด เป็นข่าวปลอมหรือไม่ หมอตอบชัด เช็คก่อนแชร์ ที่นี่

ชาวเน็ตแห่แชร์ "วัคซีนโควิด" พาชาวจันทบุรีท้องเสียทั้งจังหวัด เป็นข่าวปลอมหรือไม่ หมอตอบชัด เช็คก่อนแชร์ ที่นี่

 

ตามที่มีการส่งต่อข้อความถึงประเด็นเรื่อง จันทบุรีท้องเสียพร้อมกันทั้งจังหวัด ผลจาก "วัคซีนโควิด" ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

 

จากกรณีการแชร์เรื่องราวที่ระบุว่า "วัคซีนโควิด" เริ่มออกฤทธิ์แล้ว งานนี้ทำคนเมืองจันท้องเสียทั้งจังหวัดเลย ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรีได้ตรวจสอบและชี้แจงว่ากรณีที่มีรายงานข่าวว่าพบผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษเพิ่มสูงขึ้นใน จ.จันทบุรี นั้น กรมควบคุมโรค ได้มอบหมายให้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จ.ชลบุรี (สคร.6 ชลบุรี) ลงพื้นที่สอบสวนโรค เพื่อสนับสนุนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี และหน่วยงานในพื้นที่

 

 

ซึ่งจากรายงานในเบื้องต้นพบว่าเมื่อเทียบกับ 5 ปีย้อนหลัง ในช่วงเวลาเดียวกันของแต่ละปี มีเพียง อ.เมือง ซึ่งเป็นเขตที่มีผู้คนอาศัยหนาแน่นเท่านั้น ที่พบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นผิดปกติ แต่อาการไม่รุนแรง และไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต ส่วนสาเหตุหลักคาดว่าเกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส ไม่ใช่ ผล "วัคซีนโควิด"

 

ทั้งนี้ ต้องรอผลแลปจากตัวอย่างน้ำและอาหารที่ส่งตรวจเพื่อมายืนยันการระบาด และจากการสอบสวนเพิ่มเติมยังพบว่า อาหารที่ผู้ป่วยรับประทานก่อนมีอาการป่วย มีความหลากหลายเป็นอาหารทั่วไปไม่ได้จำเพาะ

 

โดยสถานการณ์ผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษและอุจจาระร่วง ที่จังหวัดจันทบุรี จากระบบรายงานของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ระหว่าง วันที่ 1-28 ธันวาคม 2564 พบผู้ป่วยจำนวน 589 ราย ซึ่งพบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 19-25 ธันวาคม 2564 โดยพบผู้ป่วยสะสมถึงวันที่ (28 ธ.ค.64) จำนวน 273 ราย เป็นเพศชาย 99 ราย เพศหญิง 174 ราย

 

กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุด ได้แก่ 20-29 ปี (31.14%) รองลงมา คือเด็กแรกเกิด-9 ปี (16.85%) และ 10-19 ปี (15.75%) ตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยอาหารเป็นพิษและอุจจาระร่วง เริ่มเพิ่มสูงผิดปกติ ตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค. 64 เป็นต้นมา เพิ่มสูงขึ้นมาก ช่วง 27-29 ธ.ค. 64 เมื่อรวมกับผู้ป่วยใหม่ที่มีรายงานเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ตั้งแต่วันที่ 25-29 ธ.ค. 64 อีก 455 ราย รวมเป็น 728 ราย ส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน และเด็กเล็ก อาการไม่รุนแรง มีถ่ายเหลว คลื่นไส้ ปวดท้อง ไข้บางราย พบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดเฉพาะในบางตำบลเท่านั้น

 

 

โดยในขณะนี้จำนวนผู้ป่วยใหม่รายวันที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเริ่มลดลงแล้ว เหลือเพียงวันละ 30-40 ราย จากเดิมช่วงสูงสุดประมาณวันละ 60-70 ราย ซึ่งในจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เหล่านี้ ผลจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พบเชื้อก่อโรคในผู้ป่วยหลายราย เป็นเชื้อไวรัสโนโร ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นสาเหตุหลักในการพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างผิดปกติในครั้งนี้ ไม่ใช่ "วัคซีนโควิด"

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ