เด่นโซเชียล

"Hello World" ครั้งแรกของโลก ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทวีตข้อความด้วยความคิด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"Hello World" ทวีตแรกของโลก ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) ใช้เพียงความคิดผ่านชิปในสมองแปลงกระแสไฟฟ้าเป็นข้อมูลดิจิทัลเพื่อสื่อสารกับโลกออนไลน์

 

"Hello World" คำธรรมดาที่งานนี้ไม่ได้ธรรมดา ปรากฏผ่านทวิตเตอร์ Thomas Oxley @tomoxl ซีอีโอบริษัท Synchron ว่า "hello, world! Short tweet. Monumental progress." โดยผู้ที่ส่งข้อความนี้ขึ้นสื่อสังคมออนไลน์ ทวิตเตอร์ เป็นผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) วัย 62 ปี เขาไม่ใช้มือพิมพ์ แต่ใช้ สมอง ทำหน้าที่แทน ใช้เพียงความคิดเท่านั้น ผ่านชิปคอมพิวเตอร์ซึ่งถูกปลูกถ่ายในสมองของเขา ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของโลก

 

 

 

 

 

 

ทั้งนี้ ชิปฝังสมอง Stentrode ถูกปลูกถ่ายให้กับ นายฟิลิป โอคีฟ ชาวออสเตรเลีย วัย 62 ปี ซึ่งป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) ในเดือนเมษายน 2563 หลังจากอาการป่วยของเขาทรุดลงจนเขาไม่สามารถทำงาน หรือทำกิจกรรมอิสระอื่น ๆ ได้ โดยชิปถูกส่งเข้าไปผ่านหลอดเลือดดำที่คอ หรือ jugular vein และมีสายเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ควบคุมสัญญาณภายนอก เพื่อให้สมองมนุษย์สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง โดยไม่ต้องพิมพ์ข้อความหรือใช้เสียง อุปกรณ์ดังกล่าวทำให้นายโอคีฟสามารถสื่อสารกับครอบครัวได้อีกครั้งผ่านอีเมล สามารถเล่นเกมคอมพิวเตอร์ทั่วไปอย่างเกมการ์ด โซลิแตร์ (Solitaire) และทวีต "Hello World" ได้

 

 

 

 

บริษัท Synchron ได้ใช้ตัวอุปกรณ์ Brain-Computer Interface (BCI) ที่เรียกว่า Stentrode โดยมีขนาดเพียง 8 มม. เสียบเข้าเส้นเลือดบริเวณคอ ทำให้นายโอคีฟสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับสมองแบบไร้สายได้ผ่านการแปลงกระแสไฟฟ้าในสมองให้กลายเป็นข้อมูลดิจิทัล

 

 

 


"Hello World" นายโอคีฟ ระบุผ่านแถลงการณ์ Synchron "ตอนผมได้ยินเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้ครั้งแรก ผมก็รู้ทันทีว่ามันจะคืนอิสระให้กับผมได้มากแค่ไหน" และว่า “ระบบนี้น่าอัศจรรย์มาก มันเหมือนกับหัดปั่นจักรยาน มันใช้เวลาเพื่อฝึกฝน แต่พอชินแล้วมันจะเป็นธรรมชาติ ตอนนี้ผมแค่คิดว่าอยากจะกดตรงไหนบนจอคอมพิวเตอร์ ผมสามารถเขียนอีเมล, เข้าแอปฯ ธนาคาร, ซื้อของ และสามารถส่งข้อความสู่โลกผ่านทวิตเตอร์ได้แล้ว”

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ