เด่นโซเชียล

เช็คด่วน "เยียวยา 100 เท่า" ตกงานช่วงโควิด ปรับเพิ่มอัตราเงินสงเคราะห์เดิม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เช็คด่วนที่นี่ ตกงานช่วงโควิด "เยียวยา 100 เท่า" ปรับเพิ่มอัตราเงินสงเคราะห์ เงินเยียวยา กับ เงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ต่างกันหรือไม่ กระทรวงแรงงานชี้แจงอนุมัติยังไง

 

"เยียวยา 100 เท่า" ตกงานช่วงโควิด-19 ปรับเพิ่มอัตราเงินสงเคราะห์ ประเด็นโพสต์ร้อนว่อนเน็ต "เช็คด่วน จ่ายเงินเยียวยาผู้ที่ตกงานสูงสุด 100 เท่า กระทรวงแรงงานอนุมัติเงินเยียวยาสำหรับผู้ตกงานช่วง โควิด-19" จริงแค่ไหนนั้นมีคำตอบมาให้แล้ว ล่าสุด กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบโพสต์ดังกล่าวและชี้แจงว่า โพสต์ดังกล่าวใช้ข้อความพาดหัวข่าวที่ให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน อาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจคลาดเคลื่อน ระหว่าง เงินเยียวยา กับ เงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง กรณีนายจ้างได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 จนต้องปิดกิจการและไม่สามารถจ่าย ค่าชดเชย ได้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

 

 

 

 

กระทรวงแรงงาน ระบุถึง "เยียวยา 100 เท่า" ดังกล่าวข้างต้น ว่า มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง หลังสถานประกอบกิจการปิดดำเนินการ เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ โควิด-19 นั้น กระทรวงแรงงานออกระเบียบเพิ่มอัตราและระยะเวลาการจ่ายเงินสงเคราะห์ให้แก่ลูกจ้าง มีผลบังคับใช้ย้อนหลังตั้งแต่ 1 มีนาคม 2563 - 28 กุมภาพันธ์ 2565 มติเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่าย และระยะเวลาการจ่ายกรณีการระบาดของ โควิด-19 (Coronavirus Disease (COVID-19)) พ.ศ. 2564 โดยปรับเพิ่มอัตราเงินสงเคราะห์ ดังนี้

 

 

  1. กรณีนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ให้ปรับ เงินสงเคราะห์ จากอัตราเดิม คือ “จาก 30 เท่า เป็น 60 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ สำหรับลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 3 ปี จาก 50 เท่า เป็น 80 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ สำหรับลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี และจาก 70 เท่า เป็น 100 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ สำหรับลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป”
  2. กรณีเงินอื่นนอกจากค่าชดเชย ให้ปรับ เงินสงเคราะห์ จากอัตราเดิม คือ “60 เท่า เป็น 100 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ” ระเบียบนี้ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564

 

 

 

 

บทสรุปของเรื่อง "เยียวยา 100 เท่า" นี้คือ : ไม่ใช่เงินเยียวยาสำหรับผู้ตกงานช่วง โควิด-19 แต่เป็น อนุมัติเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างกรณีนายจ้างได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 จนต้องปิดกิจการและไม่สามารถจ่ายค่าชดเชยได้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

 

 

 

เยียวยา 100 เท่า, ค่าชดเชย, กฎหมายคุ้มครองแรงงาน, เงินเยียวยา, เงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ