เด่นโซเชียล

"เงินเยียวยาประกันสังคม" ล่าสุด ม.33 39 40 ตั้งกองทุนคุ้มครอง แรงงานนอกระบบ

อัปเดตล่าสุด "เงินเยียวยาประกันสังคม" โอนจ่ายแล้ว ม.33 ม.39 ม.40 กว่า 1 แสนล้านบาท เตรียมตั้งกองทุนคุ้มครองแรงงานนอกระบบ เพิ่มสิทธิประโยชน์ ม.40

 

เกาะติด "เงินเยียวยาประกันสังคม" ม.33 ม.39 และ ม.40 ความคืบหน้าล่าสุด วันนี้ หลังรัฐบาลได้อนุมัติเงินเยียวยา นายจ้าง และ ผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 ที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 ใน 9 ประเภทกิจการ ครอบคลุมพื้นที่ 29 จังหวัด โดยเริ่มทยอย โอนเงินเยียวยาเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประจำตัวประชาชน ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2564 เป็นต้นมา ซึ่งปัจจุบันการจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 , 39 และ 40 นั้น สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้จ่ายไปแล้ว 100,807,738,500 บาท ครอบคลุม นายจ้าง 176,769 แห่ง และ ผู้ประกันตน 12,096,818 คน

 

 

 

 

สำหรับกลุ่ม แรงงานนอกระบบ จากสถิติปี 2563 พบว่ามีแรงงานนอกระบบกว่า 20.4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 53.8 ของผู้มีงานทำทั้งหมด 37.9 ล้านคน

 

  • ภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 55.6
  • ภาคการค้าและบริการ ร้อยละ 34.1
  • ภาคการผลิต ร้อยละ 10.3

 

ทั้งนี้ รัฐบาลมีนโยบายดูแลเพื่อให้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ในการประกอบอาชีพและหลักประกันทางสังคมให้ครอบคลุม โดยระยะต่อไป จะดำเนินการจัดตั้ง "กองทุนส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ" ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ

 

 

 

 

“รัฐบาลให้ความสำคัญกับการดูแลแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ สำหรับผู้มีอาชีพอิสระ ขอเชิญชวนให้มาสมัครเป็นสมาชิกประกันสังคม มาตรา 40 เพราะจะได้รับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ประกันสังคม กรณีเช่น ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ขณะนี้ รัฐบาลได้ขยายอายุผู้ประกันตน มาตรา 40 เป็น 65 ปี ทั้งนี้ ในระยะต่อไป เมื่อกองทุนส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบได้จัดตั้งเป็นที่เรียบร้อย ก็จะเป็นการเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตน เพิ่มโอกาสการเข้าถึงเงินทุนประกอบอาชีพ และความมั่นคงในการประกอบอาชีพ” นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกรัฐบาล ระบุ

 

 

 

ข่าวยอดนิยม