
"โฆษณาเกินจริง" ขึ้นแท่นอันดับหนึ่ง เดือดร้อนจนต้องร้องเรียนอื้อถึง 54.7%
โพลล์ 54.7% ถูกละเมิดสิทธิจากการซื้อสินค้าบริการ "โฆษณาเกินจริง" ขึ้นแท่นปัญหาอันดับหนึ่ง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดสถิติปี 2564 ร้องเรียนสินค้าบริการมากเป็นอันดับสอง
"โฆษณาเกินจริง" ขึ้นแท่นปัญหาอันดับหนึ่ง สภาองค์กรของผู้บริโภค นิตยสารฉลาดซื้อ ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น บ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้บริโภคเรื่องสินค้าและบริการที่ต้องการให้ทดสอบในกรุงเทพมหานคร
โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,143 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 22 - 26 กันยายน 2564 พบประชาชนเคยถูกละเมิดสิทธิจากการซื้อสินค้าและบริการ ร้อยละ 54.7
เรื่องที่ประสบปัญหามากที่สุด
- อันดับที่หนึ่ง คือ การโฆษณาเกินจริง ร้อยละ 26.4
- อันดับที่สอง คือ ขนาดของสินค้าไม่ตรง ร้อยละ 23.9
- อันดับที่สาม คือ สินค้าไม่ได้คุณภาพ ร้อยละ 22.2
- อันดับที่สี่ คือ สินค้าหมดอายุ ร้อยละ 12
- อันดับที่ห้า คือ ซื้อแล้วไม่ได้สินค้า ร้อยละ 7.7
- อันดับสุดท้าย คือ สินค้าไม่มีฉลากกำกับ ร้อยละ 7.5
สินค้าหรือบริการพบว่าไม่ได้คุณภาพ
- อันดับที่หนึ่ง คือ เครื่องใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 22.4
- อันดับที่สอง คือ เครื่องสำอาง ร้อยละ 20.4
- อันดับที่สาม คือ อาหาร ร้อยละ 18
- อันดับที่สี่ คือ เครื่องดื่ม ร้อยละ 9.4
- อันดับที่ห้า คือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 7.8
- อันดับที่หก คือ บริการขนส่งมวลชน ร้อยละ 7.4
- อันดับที่เจ็ด คือ เครือข่ายโทรศัพท์ ร้อยละ 6.6
- อันดับที่แปด คือ บริการจัดส่งสินค้า ร้อยละ 4.5
- อันดับสุดท้าย คือ บริการนำส่งอาหาร ร้อยละ 3.3
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากให้ สภาองค์กรของผู้บริโภค ทดสอบสินค้าและบริการเพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ ร้อยละ 77.2 และคิดว่าท่านจะสามารถใช้ผลการทดสอบสินค้าและบริการของ สภาองค์กรของผู้บริโภค เพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ ร้อยละ 67.2
โดยต้องการให้ สภาองค์กรของผู้บริโภค ทดสอบสินค้าและบริการ
- อันดับที่หนึ่ง คือ เครื่องใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 45.6
- อันดับที่สอง คือ อาหาร ร้อยละ 42.8
- อันดับที่สาม คือ เครื่องสำอาง ร้อยละ 41.7
- อันดับที่สี่ คือ เครื่องดื่ม ร้อยละ 34.9
- อันดับที่ห้า คือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 32.8
- อันดับที่หก คือ บริการจัดส่งสินค้า ร้อยละ 29
- อันดับที่เจ็ด คือ บริการขนส่งมวลชน ร้อยละ 25
- อันดับที่แปด คือ เครือข่ายโทรศัพท์ ร้อยละ 24.8
- อันดับสุดท้าย คือ บริการนำส่งอาหาร ร้อยละ 22.7
อยากให้สภาองค์กรของผู้บริโภค ทดสอบประเภทของสินค้าอาหาร
- อันดับที่หนึ่ง คือ อาหารเสริม ร้อยละ 38.5
- อันดับที่สอง คือ อาหารกึ่งสำเร็จรูป ร้อยละ 18.5
- อันดับที่สาม คือ อาหารปรุงสุก ร้อยละ 15.7
- อันดับที่สี่ คือ อาหารสด ร้อยละ 11.2
- อันดับที่ห้า คือ ขนมอบกรอบ ร้อยละ 9.7
- อันดับสุดท้าย คือ ผัก ผลไม้ ร้อยละ 6.5
อยากให้สภาองค์กรของผู้บริโภค ทดสอบประเภทของเครื่องดื่ม
- อันดับที่หนึ่ง คือ เครื่องดื่มผสมวิตามิน ร้อยละ 40.4
- อันดับที่สอง คือ เครื่องดื่มชูกำลัง ร้อยละ 15
- อันดับที่สาม คือ นม UHT ร้อยละ 12.2
- อันดับที่สี่ คือ ชา กาแฟ ร้อยละ 11.8
- อันดับที่ห้า คือ น้ำผลไม้ ร้อยละ 10.8
- อันดับสุดท้าย คือ น้ำดื่ม ร้อยละ 9.6
อยากให้สภาองค์กรของผู้บริโภค ทดสอบประเภทของเครื่องสำอาง
- อันดับที่หนึ่ง คือ ครีมบำรุงผิว ร้อยละ 23.6
- อันดับที่สอง คือ สบู่ / ครีมอาบน้ำ ร้อยละ 18.5
- อันดับที่สาม คือ โฟมล้างหน้า ร้อยละ 17.7
- อันดับที่สี่ คือ แชมพู ครีมนวดผม ร้อยละ 14.8
- อันดับที่ห้า คือ ผงซักฟอก / น้ำยาซักผ้า ร้อยละ 13
- อันดับสุดท้าย คือ ลิปสติก ร้อยละ 11.9
อยากให้สภาองค์กรของผู้บริโภค ทดสอบประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้า
- อันดับที่หนึ่ง คือ เครื่องปรับอากาศ ร้อยละ 27.9
- อันดับที่สอง คือ เครื่องฟอกอากาศ ร้อยละ 17.6
- อันดับที่สาม คือ เครื่องกรองน้ำ ร้อยละ 16.7
- อันดับที่สี่ คือ เตาอบ ร้อยละ 13.7
- อันดับที่ห้า คือ ทีวี ร้อยละ 12.5
- อันดับสุดท้าย คือ ตู้เย็น ร้อยละ 10.9
อยากให้สภาองค์กรของผู้บริโภคทดสอบ / สำรวจบริการเครือข่ายโทรศัพท์
- อันดับที่หนึ่ง คือ ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว ร้อยละ 30.4
- อันดับที่สอง คือ บริการ SMS ที่เก็บค่าบริการ ร้อยละ 20.6
- อันดับที่สาม คือ ค่าบริการ ร้อยละ 13.6
- อันดับที่สี่ คือ การชดเชยเมื่อเกิดความผิดพลาดของผู้ให้บริการ ร้อยละ 12.5
- อันดับที่ห้า คือ บริการ Call center ร้อยละ 12.1
- อันดับสุดท้าย คือ พื้นที่ให้บริการ ร้อยละ 10.8
อยากให้สภาองค์กรของผู้บริโภค ทดสอบ / สำรวจบริการอินเทอร์เน็ต
- อันดับที่หนึ่ง คือ ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว ร้อยละ 32
- อันดับที่สอง คือ ความเร็วอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 24.2
- อันดับที่สาม คือ พื้นที่ให้บริการ ร้อยละ 12.1
- อันดับที่สี่ คือ ค่าบริการ ร้อยละ 11.8
- อันดับที่ห้า คือ บริการ Call center ร้อยละ 10.3
- อันดับสุดท้าย คือ การชดเชยเมื่อเกิดความผิดพลาดของผู้ให้บริการ ร้อยละ 9.5
อยากให้สภาองค์กรของผู้บริโภค ทดสอบ / สำรวจบริการขนส่งสินค้า
- อันดับที่หนึ่ง คือ การดูแลพัสดุไม่ให้เกิดความเสียหาย ร้อยละ 24
- อันดับที่สอง คือ การชดเชยกรณีพัสดุเสียหาย ร้อยละ 22
- อันดับที่สาม คือ ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว ร้อยละ 17.6
- อันดับที่สี่ คือ การชดเชยกรณีพัสดุสูญหาย ร้อยละ 15.2
- อันดับที่ห้า คือ ความเร็วในการจัดส่ง ร้อยละ 12.6
- อันดับสุดท้าย คือ ค่าบริการ ร้อยละ 8.7
อยากให้สภาองค์กรของผู้บริโภค ทดสอบ / สำรวจบริการขนส่งมวลชน
- อันดับที่หนึ่ง คือ รถเมล์ ร้อยละ 26
- อันดับที่สอง คือ รถแท็กซี่ ร้อยละ 18.5
- อันดับที่สาม คือ จักรยานยนต์รับจ้าง ร้อยละ 16
- อันดับที่สี่ คือ รถรับจ้างสาธารณะ (สองแถว) ร้อยละ 15
- อันดับที่ห้า คือ รถไฟฟ้า ร้อยละ 13.3
- อันดับสุดท้าย คือ เรือโดยสาร ร้อยละ 11.2
สถิติการร้องเรียนของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกันยายน ปี 2564 มีเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 1,192 เรื่อง มีผู้ร้องเรียนปัญหาหมวดสินค้าบริการทั่วไป เป็นอันดับสอง จำนวน 324 เรื่อง ร้อยละ 27.18 รองจากอันดับหนึ่ง หมวดการเงินการธนาคาร / ประกัน จำนวน 516 เรื่อง ร้อยละ 43.29 ในหมวดสินค้าบริการทั่วไป ประเภทสินค้าที่ร้องเรียนที่พบมากที่สุด คือ สินค้า 248 เรื่อง ร้อยละ 76.54 รองลงมา คือ บริการ 76 เรื่อง ร้อยละ 23.46
เมื่อแบ่งประเภทปัญหาที่ร้องเรียนในหมวดสินค้าบริการทั่วไป
- อันดับที่หนึ่ง คือ สินค้าชำรุดบกพร่อง / ไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 65 เรื่อง ร้อยละ 20.06
- อันดับที่สอง คือ มีปัญหาการขอคืนเงิน จำนวน 56 เรื่อง ร้อยละ 17.28
- อันดับที่สาม คือ ไม่พอใจบริการ จำนวน 56 เรื่อง ร้อยละ 17.28
- อันดับที่สี่ คือ โฆษณาเป็น
เท็จ / หลอกลวง / เกินจริง จำนวน 52 เรื่อง ร้อยละ 16.05
- อันดับที่ห้า คือ ไม่ได้รับสินค้า / สินค้าไม่ถูกต้อง จำนวน 33 เรื่อง ร้อยละ 10.19
- อันดับที่หก คือ ฉ้อโกง / หลอกลวง จำนวน 21 เรื่อง ร้อยละ 6.48
ในปี 2564 พบว่า ผู้บริโภคเคยถูกละเมิดสิทธิจากการซื้อสินค้าและบริการถึงร้อยละ 54.7 แต่มีผู้ที่มาร้องเรียนกับมูลนิธิฯ ในหมวดสินค้าบริการทั่วไปเป็นอันดับสอง ร้อยละ 27.18 เป็นจำนวนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ที่พบปัญหาถูกละเมิดสิทธิ เมื่อเทียบปัญหาที่พบกับการร้องเรียนปัญหาเรื่องสินค้าและบริการทั่วไปแล้วยังพบว่ามีผู้ที่พบปัญหาแต่ไม่ได้ร้องเรียนอยู่มาก โดยเฉพาะเรื่องของการ "โฆษณาเกินจริง" ที่พบปัญหามากเป็นอันดับที่หนึ่งแต่ร้องเรียนกับมูลนิธิฯ เป็นอันดับที่สี่ อาจจะเพราะผู้บริโภคยังไม่รู้ว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาที่สามารถร้องเรียนได้
ฉะนั้น เมื่อพบปัญหาแล้วเกิดความสงสัยหรือไม่แน่ใจ ควรสอบถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และอยากให้ผู้บริโภคร้องเรียนปัญหาเพื่อรักษาสิทธิของตนเอง
หากพบปัญหาเรื่องสินค้าและบริการต่าง ๆ สามารถสอบถามเพิ่มเติม หรือแจ้งเรื่องร้องเรียนได้ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โทรศัพท์ : 02-2483734-7 Line id : @ConsumerThai หรือร้องทุกข์ออนไลน์ที่ https://www.consumerthai.com/ : คลิกที่นี่