เด่นโซเชียล

"ฟักแม้ว" รักษาความดันโลหิตสูง เชื่อได้หรือไม่ หาคำตอบได้ที่นี่

"ฟักแม้ว" รักษาความดันโลหิตสูง เชื่อได้หรือไม่ หาคำตอบได้ที่นี่

18 พ.ย. 2564

"ฟักแม้ว" กลายเป็นกระแสบนโซเชียล หลังจากมีข่าวลือกันว่า "ฟักแม้ว" สามารถรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้ ข่าวลือนั้นเชื่อถือได้จริงหรือไม่ หาคำตอบได้ที่นี่

 

"ฟักแม้ว" หรือมะระหวาน เป็นพืชตระกูลแตง ที่นิยมปลูกทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งตามที่มีข้อมูลเผยแพร่บนโซเชียล ว่า "ฟักแม้ว" ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการดื่มน้ำที่ต้มจากผลและใบ ช่วยบำรุงหัวใจและหลอดเลือดนั้น ทางกรมการแพทย์แผยไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณะสุข เผยว่า ประเด็นดังกล่าว เป็นเรื่องบิดเบือน

 

ซึ่งที่ผ่านมามีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของ "ฟักแม้ว" ซึ่งพบว่า ผลของน้ำฟักแม้ว ต่อการลดความดันโลหิตในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูง จำนวน 13 ราย ช่วยลดความดันโลหิตซิสโตลิก (ความดันสูงสุดขณะหัวใจบีบตัว) 30 มม.ปรอท. และความดันโลหิตแอแสโตลิก (ความดันต่ำสุดขณะที่หัวใจคลายตัว) 10 มม.ปรอท

 

 

 

 

 

ฟักแม้ว, โรคความดันโลหิตสูง, ลดความดันโลหิต

 

 

ผลของสารสกัดฟักแม้ว ต่อความดันโลหิตในผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูง โดยศึกษาจากหญิงตั้งครรภ์จำนวน 20 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

  • กลุ่มควบคุม 10 คน
  • กลุ่มทดลอง 10 คน

พบว่า การบริโภคฟักแม้ว สามารถช่วยลดความดันโลหิตในหญิงตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูงได้

 

 

 

 

 

ฟักแม้ว, โรคความดันโลหิตสูง, ลดความดันโลหิต

 

 

แม้ว่า จะมีการศึกษาวิจัยในมนุษย์เกี่ยวกับฤทธิ์ของ "ฟักแม้ว"  จะช่วยลดความดันโลหิตได้จริง แต่ยังเป็นวิจัยในกลุ่มเล็ก ๆ เท่านั้น ดังนั้น ควรรอการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมก่อนจะเป็นการดีที่สุด 

 

ทั้งนี้ การใช้สมุนไพรสำหรับลดความดันโลหิต ควรปรึกษาหรือตรวจ วินิจฉัยโดยแพทย์แผนไทย เภสัชกร หรือแพทย์แผนปัจจุบันทุกครั้ง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและเกิดประโยชน์สูงสุด

 

ข้อมูล : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม