เด่นโซเชียล

"เจ็บป่วยฉุกเฉิน" รักษาฟรี รพ.ไม่มีสิทธิเรียกเก็บเงินหรือเซ็นรับสภาพหนี้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ประชาชนต้องรู้ "เจ็บป่วยฉุกเฉิน" รักษาฟรีทุกโรงพยาบาลภายใน 72 ชั่วโมง โรงพยาบาลเอกชนไม่มีสิทธิเรียกเก็บเงินหรือบังคับให้ญาติเซ็นรับสภาพหนี้ ฝ่าฝืนมีโทษสูงสุด

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เคยส่งหนังสือแจ้งเวียนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศ แจงข้อปฏิบัติรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต 72 ชั่วโมงแรกตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ.2559 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2560 ต้องปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน โดยมีการระบุว่ากฎหมายบังคับใช้แล้ว  ห้ามญาติคนไข้ จ่ายเงิน รพ.เอกชนฯ  กรณีฉุกเฉินเด็ดขาด  หาก รพ.เรียกเงินหรือไม่ยอมรักษา โทร.1669 ทันที 

อย่างไรก็ตามเมื่อมีอาการวิกฤติฉุกเฉินให้รีบเข้า รพ.ที่ใกล้ที่สุด   ซึ่งมีขนาดใหญ่ทันสมัย
พอเพียงจะให้การรักษาได้  มิฉะนั้นจะเสียเวลา ไม่ทันการ

เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต คนไทยทุกคนมีสิทธิรักษาฟรีใน 72 ชม. ในทุกโรงพยาบาล ไม่มีสิทธิเรียกมัดจำหรือให้ญาติเซ็นรับสภาพหนี้ 

กรมสนับสนุนฯ มีหนังสือเวียนถึงรพ.ต่าง ๆ 
รพ.ใดเก็บเงินผู้ป่วยฉุกเฉิน มีโทษตามกฎหมายทันที 

ผู้ป่วยวิกฤต หรือผู้ป่วยฉุกเฉิน คือ


1. หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ ไม่ตอบสนองต่อการเรียก หรือกระตุ้น ไม่มีชีพจร จำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพทันที 

2. การรับรู้ สติเปลี่ยนไป บอกเวลา สถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดอย่างเฉียบพลัน 

3. ไม่สามารถหายใจได้ปกติ หายใจเร็ว แรง และ ลึก หายใจมีเสียงดังผิดปกติ พูดได้แค่สั้นๆ หรือ ร้องไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ สำลักอุดทางเดินหายใจกับมีอาการเขียวคล้ำ 

4. ระบบไหลเวียนเลือดวิกฤตอย่างน้อย 2 ข้อ คือ ตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกจนท่วมตัว หมดสติชั่ววูบ หรือวูบเมื่อลุกยืนขึ้น

5. อวัยวะฉีกขาด เสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ

6. อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง 
เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรง  แขนขาอ่อนแรงทันทีทันใด 
หรือกำลังชักขณะแรกรับที่จุดคัดแยก

หากยังถูกเรียกเก็บเงิน ให้โทร 1669 
(สายด่วน สพฉ.- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน) ที่ผ่านมานโยบายนี้มีปัญหามาก  โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งเรียกเก็บโดยปชช.ไร้อำนาจต่อรอง เพราะชีวิตอยู่ในมือสถานพยาบาล 

บัดนี้เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว พวกเราปชช.ก็ต้องรู้สิทธิ และโต้แย้งเป็น  จะได้ไม่ต้องสิ้นเนื้อประดาตัวกันอีกต่อไป

ข้อความนี้  ดิฉัน นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา 
ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์  เป็นผู้จัดทำ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ