เด่นโซเชียล

"สิทธิบัตรทอง" 6 เรื่องต้องรู้ วิธีเช็คสิทธิ เปลี่ยนหน่วยบริการง่ายแค่คลิก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

6 เรื่องต้องรู้ "สิทธิบัตรทอง" วิธีเช็คสิทธิ เปลี่ยนหน่วยบริการง่าย ๆ แค่ปลายนิ้ว ไม่ต้องรอ เกิดสิทธิทันที 6 อาการที่เข้าข่ายภาวะฉุกเฉินวิกฤติ ไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายในการรักษา

 

"สิทธิบัตรทอง" บัตรที่คนไทยทุกคนมีสิทธิใช้ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ วันนี้ คมชัดลึกออนไลน์ นำ 6 เรื่องต้องรู้ สิทธบัตรทอง ดังนี้

 

  • 4 วิธีเช็คสิทธิบัตรทอง ทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

 

  1. โทรสายด่วน สปสช. 1330 กด 2
  2. เว็บไซต์ www.nhso.go.th เลือก สำหรับประชาชน เลือก ตรวจสอบสิทธิ : คลิกที่นี่
  3. แอปพลิเคชัน สปสช. ทั้งระบบ Android และ iOS เลือก ตรวจสอบสิทธิตนเอง
  4. ตรวจสอบสิทธิผ่าน ไลน์ สปสช. โดยสแกน QR CODE เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิ

 

 

"สิทธิบัตรทอง" 6 เรื่องต้องรู้ วิธีเช็คสิทธิ เปลี่ยนหน่วยบริการง่ายแค่คลิก

 

 

 

 

  • เปลี่ยนหน่วยบริการง่าย ๆ แค่ปลายนิ้ว ไม่ต้องรอ เกิดสิทธิทันที ทำได้ง่าย ๆ ผ่าน 2 ช่องทาง

 

  1. ช่องทางที่ 1 ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันชื่อ สปสช. ทั้งระบบ Android และ iOS เลือกทำรายการ ลงทะเบียน เปลี่ยนแปลงหน่วยบริการ
  2. ช่องทางที่ 2 เพิ่มเพื่อนไลน์ สปสช. (@ nhso) จากนั้นเลือกเมนู เปลี่ยนหน่วยบริการ

 

 

"สิทธิบัตรทอง" 6 เรื่องต้องรู้ วิธีเช็คสิทธิ เปลี่ยนหน่วยบริการง่ายแค่คลิก

 

 

  • เปลี่ยนหน่วยบริการประจำได้ที่ไหนบ้าง หากไม่สะดวกดำเนินการผ่านสมาร์ทโฟน สามารถทำได้ดังนี้

 

  1. ติดต่อด้วยตนเองในวันเวลาราชการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรือสถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกชุมชนอบอุ่น ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลของรัฐ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1 - 12
  2. ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ โทร. 1330 กด 2 ตามด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และกด # กดโทรออก

 

 

  • เปลี่ยนหน่วยบริการประจำใช้แค่บัตรประชาชนใบเดียว

 

  1. หากที่พักอาศัยปัจจุบันตรงกับบัตรประชาชน ใช้บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง
  2. เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ถ้าไม่มีบัตรประชาชนให้ใช้สูติบัตร (ใบเกิด)

 

 

 

 

  • เปลี่ยนหน่วยบริการกรณีที่พักไม่ตรงกับทะเบียนบ้านแค่แสดงหลักฐานเพิ่ม อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

 

  1. หนังสือรับรองการพักอาศัยจากเจ้าบ้าน พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน
  2. หนังสือรับรองจากผู้นำชุมชน พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้นำชุมชน
  3. เอกสารหลักฐานแสดงที่ตั้งบริษัท / ห้างร้าน นายจ้าง / ผู้ว่าจ้างรับรองการพักอาศัยจริง พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้ว่าจ้าง / ผู้รับจ้าง
  4. เอกสารหรือหลักฐานอื่น ใบเสร็จค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ หรือสัญญาเช่าที่มีชื่อตนเองที่แสดงว่าพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ

 

* กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นลงทะเบียนแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

** เปลี่ยนหน่วยบริการได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อปี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สปสช. โทรสายด่วย 1330 ตลอด 24 ชั่วโมง

 

 

เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่

  • กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ คนไทยทุกคนไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายในการรักษา สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ในโรงพยาบาลใกล้ที่สุดทั้งรัฐและเอกชน โดยรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นใน 72 ชั่วโมงแรก

6 อาการที่เข้าข่ายภาวะฉุกเฉินวิกฤติ

  1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
  2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง
  3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็นหรือมีอาการชักร่วม
  4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
  5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
  6. มีอาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต

 

 

ข้อควรปฏิบัติในการนำผู้ป่วยฉุกเฉินไปโรงพยาบาล

  1. เตรียมบัตรประชาชนไปด้วย
  2. เข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
  3. ยื่นบัตรประชาชนของผู้ป่วย (ถ้ามี) พร้อมแจ้งขอใช้สิทธิฉุกเฉิน
  4. หากโรงพยาบาลเรียกเก็บเงิน ให้ยืนยันการใช้สิทธิฉุกเฉิน โดยอ้างสิทธิตามนโยบายรัฐบาล
  5. เมื่อแพทย์แจ้งว่าผู้ป่วยพ้นวิกฤติและสามารถเคลื่อนย้ายได้ ให้ประสานโรงพยาบาลตามสิทธิ เพื่อรับการรักษาต่อเนื่อง
  6. หากไม่ได้รับความสะดวกในการใช้สิทธิ แจ้งเรื่องได้ที่ สปสช. สายด่วน 1330
  7. สอบถามข้อมูลเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ โทรสายด่วน 1669

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ