เด่นโซเชียล

"กลโกง" อัปเดตภัยออนไลน์ทุกรูปแบบ SMS กู้เงินปลอม แชทปลอม สินค้าไม่ตรงปก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"กลโกง" บนช่องทางออนไลน์ในปัจจุบันแพร่หลายเป็นอย่างมาก โดยเหล่ามิจฉาชีพจะอาศัยช่องทางหรือช่องโหว่ทางเทคนิค เพื่อโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว ไปจนถึงทรัพย์สินด้วย เพื่อป้องกันและรู้เท่าทันเล่ห์กลเหล่านี้ เรารวบรวมทริคมาให้แล้ว รีบเช็คเลย

 

"กลโกง" ของกลุ่มมิจฉาชีพในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบมาก ทั้งในรูปแบบ SMS อ้างเป็นธนาคารมาข้อมูลเพิ่มเติม, ส่งของมาไม่ตรงปก ไปจนถึงการปลอมแชทเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงก็มี เพื่อเป็นการป้องกัน และรู้เท่าทันโจร คมชัดลึกออนไลน์ ได้รวบรวม "กลโกง" มาฝากผู้ชมแล้วค่ะ

 

1.SMS ขอข้อมูลส่วนตัว

อย่างที่เราเคยทราบกันดีว่าก่อนหน้านี้ มีข่าว SMS แปลก ๆ เด้งเข้ามา เช่น

  • อ้างว่าติดต่อมาจากธนาคาร... ขอข้อมูลบัตรประชนชนบ้าง ชื่อบ้าง
  • รัฐบาลประเมินแล้วคุณมีสิทธิได้รับเงินกู้ 200,000 บาท
  • อ้างเป็นบริษัทขนส่ง แจ้งว่ามีพัสดุมีค่า ติดอยู่ที่สนามบิน ไม่สามารถนำจ่ายได้ ต้องโอนเงิน เป็นต้น
  • ชวนเล่นพนัน

 

ข้อความเหล่านี้ ล้วนเป็นเล่ห์กลของเหล่ามิจฉาชีพที่จะใช้หลอกประชาชนที่ไม่ทันตั้งตัว เพียงแค่คลิกข้อมูลและเงินในบัญชีของคุณก็หายไปในพริบตา หรืออาจจะเอาข้อมูลส่วนตัวของเราไปแฝงตัวแล้วหลอกผู้เสียหายรายต่อไปเรื่อย ๆ นั่นเอง

 

 

โจรกรรมข้อมูล

 

 

2.สินค้าไม่ตรงปก

ประเด็นยอดฮิตที่เหล่าขาช้อปออนไลน์ต้องเคยโดนกันมาบ้าง กับรูปสินค้าสวย ๆ น่ารัก ราคาถูก ที่เราสนใจสั่งซื้อ แต่สุดท้ายอ้าวเฮ้ย! ไม่เหมือนรูปที่เราเห็นนี่ จบท้ายด้วยแม่ค้าจะอ้างว่าสินค้ามาจากต่างประเทศ อาจจะมีไม่ตรงปกบ้าง ไม่ยอมให้คืนสินค้า บลา ๆ

 

วิธีป้องกัน "กลโกง" ดังกล่าว ควรขอดูภาพสินค้าจริงก่อนตัดสินใจซื้อ แล้วควรเลือกร้านที่น่าไว้วางใจ ไปจนถึงการถ่ายคลิปวิดีโอก่อนแกะสินค้า เพื่อยืนยันสิ่งของที่ส่งมาไม่ตรงปกหรือไม่ตรงตามที่สั่งจะดีที่สุดค่ะ

 

 

 

 

3."กลโกง" แอปกู้เงินปลอม

ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจในตอนนี้ ทำให้มิจฉาชีพใช้ช่องทางนี้ในการหลอกลวงประชาชน ตามช่องทางโซเชียลต่าง ๆ และที่เห็นบ่อยที่สุดจะอยู่ตามเพจ Facebook ที่มักจะนำเสนอออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เดือดร้อนต้องการ ทั้งติดเครดิตบูโรสามารถกู้ได้ วงเงินสูง อนุมัติไว กู้เงินด่วน 200,000 - 500,000 บาท แน่นอนว่าข้อความเหล่านี้ ย่อมสะดุดตาเป้าหมายแน่ ๆ

 

 

โจรกรรมข้อมูล

 

 

เพื่อเป็นการเซฟตัวเองจาก "กลโกง" ให้สังเกตข้อมูลที่ทิ้งไว้ หากแจ้งว่าอนุมัติภายใน 1 ชั่วโมงให้คอนเฟิร์มไว้ก่อนเลยว่าไม่ใช่แน่ ๆ และหากจำเป็นต้องใช้เงินจริง ๆ ควรหาแหล่งปล่อยสินเชื่อ ที่น่าเชื่อถือจะดีที่สุดค่ะ

 

 

 

 

4.อ้างเป็นบุคคลต่าง ๆ เพื่อหลอกให้โอนเงินหรือส่งของให้

รูปแบบ "กลโกง" กำลังแพร่หลายมากในบนช่องทางโซเชียลต่าง ๆ ทั้งการปลอมบัญชีเป็นบุคคลต่าง ๆ เพื่อหลอกยืมเงิน หรือการปลอมเป็นชาวต่างชาติที่ต้องการหารักแท้ ให้เหยื่อโอนเงินบ้าง ไปจนถึงเจ้าหน้าที่รัฐ อ้างว่าโอนเงินผิดบัญชี เป็นต้น

 

วิธีป้องกัน "กลโกง" นี้ ควรตรวจสอบตัวตนของเว็บไซต์ blacklistseller หรือหน่วยงานราชการที่มิจฉาชีพอ้างถึง ไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจหากไม่ใช่สิ่งที่เราทำจริง ๆ ควรใช้สติมาก ๆ ในการจัดการกลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้

 

 

โจรกรรมข้อมูล

 

 

5.สั่งซื้อสินค้า แต่ไม่ยอมส่งของ 

และ "กลโกง" สุดท้ายที่เรานำมาฝากวันนี้ คือ โอนเงินแต่ไม่ได้ของตามที่สั่ง อย่างกรณีจากกระแสข่าวหลอกขายมือถือทางออนไลน์ ซึ่งลักษณะส่วนใหญ่ของเคสนี้ มักจะเป็นการตั้งสินค้าราคาถูกเกินจริง

 

ก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า ควรเช็คเครดิตร้านค้าไปจนถึง ข้อมูลชื่อผู้ขาย เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคารของผู้ขายผ่านเว็บ blacklistseller หากไม่เจอข้อมูลก็อย่าเพิ่งโล่งใจ ถ้าเป็นไปได้ให้เลือกนัดรับสินค้าตามสถานที่ที่คนเยอะ ๆ เพื่อความชัวร์ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกป้องกัน "กลโกง" ได้เช่นกัน

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ