ปภ. อัปเดต "น้ำท่วม" 13 จังหวัดยังไม่คลี่คลาย อยุธยา-นครปฐมอ่วมหลายอำเภอ
ปภ. อัปเดตล่าสุดสถานการณ์ "น้ำท่วม" 13 จังหวัด อยุธยา-นครปฐมอ่วมหลายอำเภอ ขณะที่ 4 จังหวัดอีสานประชาชนได้รับผลกระทบ 4,531 ครัวเรือน ประสานดูแลให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่อเนื่อง
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย "ปภ." ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานสถานการณ์อุทกภัย "น้ำท่วม" จากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ตั้งแต่วันที่ 6-8 พฤศจิกายน 2564
ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง และพัทลุง และยังคงมีสถานการณ์ 3 จังหวัด รวม 3 อำเภอ 3 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 96 ครัวเรือน ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย "ปภ." เผยภาพรวมสถานการณ์ "น้ำท่วม" เริ่มคลี่คลาย ดังนี้
1. สุราษฎร์ธานี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอพระแสง (รวม 1 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น)
2. นครศรีธรรมราช ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอบางขัน (รวม 1 ตำบล 4 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 50 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง)
3. พัทลุง ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอควนขนุน (รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 40 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง)
ขณะที่อิทธิพล พายุเตี้ยนหมู่ พายุไลออนร็อก พายุคมปาซุ และร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออกและภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน - 8 พฤศจิกายน 2564 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ หนองบัวลำภู มหาสารคาม อุบลราชธานี นครราชสีมา ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนครปฐม รวม 32 อำเภอ 288 ตำบล 1,677 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 76,620 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 23 ราย (ลพบุรี 11 ราย เพชรบูรณ์ 2 ราย ชัยนาท 2 ราย นครสวรรค์ 3 ราย สิงห์บุรี 3 ราย สุพรรณบุรี 2 ราย) แยกเป็น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด (รวม 9 อำเภอ 37 ตำบล 212 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,531 ครัวเรือน) ได้แก่
1. หนองบัวลำภู ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนสัง และอำเภอศรีบุญเรือง รวม 7 ตำบล 16 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 254 ครัวเรือน
2. มหาสารคาม ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย และอำเภอเมืองมหาสารคาม รวม 12 ตำบล 41 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,627 ครัวเรือน
3. อุบลราชธานี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ รวม 4 ตำบล 26 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 577 ครัวเรือน
4. นครราชสีมา ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนสูง และอำเภอพิมาย 14 ตำบล 129 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,073 ครัวเรือน
ภาคกลาง 6 จังหวัด (รวม 23 อำเภอ 251 ตำบล 1,465 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 72,089 ครัวเรือน) ได้แก่
5. ลพบุรี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านหมี่ และอำเภอเมืองลพบุรี รวม 6 ตำบล 21 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 830 ครัวเรือน
6. สุพรรณบุรี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง รวม 20 ตำบล 58 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,011 ครัวเรือน
7. อ่างทอง ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอไชโย อำเภอป่าโมก และอำเภอวิเศษชัยชาญ รวม 36 ตำบล 166 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,453 ครัวเรือน
8. พระนครศรีอยุธยา ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอบางบาล อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน และอำเภอลาดบัวหลวง รวม 106 ตำบล 380 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 49,385 ครัวเรือน
9. ปทุมธานี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก และอำเภอหนองเสือ รวม 22 ตำบล 65 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,501 ครัวเรือน
10. นครปฐม ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางเลน อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน อำเภอกำแพงแสน และอำเภอดอนตูม รวม 61 ตำบล 475 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,909 ครัวเรือน
ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย "ปภ." ได้รายงานคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย พื้นที่เฝ้าระวัง "น้ำล้นตลิ่ง" น้ำท่วมขัง ประจำวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 เมื่อเวลา 08.40 น. ดังนี้
พื้นที่เฝ้าระวัง "น้ำล้นตลิ่ง" น้ำท่วมขัง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- จ.หนองบัวลำภู (อ.โนนสัง อ.ศรีบุญเรือง)
- จ.มหาสารคาม (อ.โกสุมพิสัย อ.กันทรวิชัย อ.เมืองฯ)
- จ.นครราชสีมา (อ.โนนสูง อ.พิมาย)
- จ.อุบลราชธานี (อ.เมืองฯ อ.วารินชำราบ)
ภาคกลาง
- จ.ลพบุรี (อ.บ้านหมี่ อ.เมืองฯ)
- จ.สุพรรณบุรี (อ.บางปลาม้า อ.สองพี่น้อง)
- จ.อ่างทอง (อ.เมืองฯ อ.ไชโย อ.ป่าโมก อ.วิเศษชัยชาญ)
- จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.บางบาล อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางไทร อ.บางปะอิน อ.ลาดบัวหลวง)
- จ.นครปฐม (อ.บางเลน อ.นครชัยศรี อ.สามพราน อ.กำแพงแสน อ.ดอนตูม)
- จ.ปทุมธานี (อ.เมืองฯ อ.สามโคก อ.หนองเสือ)
ภาคใต้
- จ.สุราษฎร์ธานี (อ.พระแสง)
- จ.นครศรีธรรมราช (อ.บางขัน)
- จ.พัทลุง (อ.ควนขนุน)
พื้นที่ที่อาจเกิด ฝนฟ้าคะนอง
ภาคเหนือ : แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง นครสวรรค์ และอุทัยธานี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เลย ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง : ชัยนาท สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคใต้ : สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการ พื้นที่ริมลำน้ำอาจได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมในระดับสูง ระวังอันตรายจากสัตว์และแมลงมีพิษ อันตรายจากกระแสไฟฟ้า รวมทั้งการขับขี่พาหนะบริเวณน้ำไหลผ่านเส้นทาง