เด่นโซเชียล

8 ทริค รู้เท่าทัน กับดัก "ข่าวปลอม" บนโลกออนไลน์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รวม 8 ทริค ตรวจสอบ "ข่าวปลอม" หรือ (fake news) บนโลกออนไลน์ด้วยตัวเอง จะมี วิธีอะไรบ้าง วันนี้ คมชัดลึกออนไลน์ จะพามาดูกัน

ข้อมูลเท็จหรือ "ข่าวปลอม" (Fake news) คือสิ่งที่พวกเราคงเห็นกันบ่อย โดยเฉพาะข่าวสารและข้อมูลต่าง ๆ ที่ส่งกันมาทางโลกออนไลน์ จนบางครั้งเราเริ่มไม่แน่ใจว่าข่าวที่เราได้รับมาทุกวันนี้ เป็นข่าวจริงหรือไม่ ? วันนี้ คมชัดลึกออนไลน์ มี 8 ทริค ในการจับ "ข่าวปลอม" มาฝาก ถ้าพร้อมแล้วก็มาดูกันเลย

 

 

1. พิจารณารูปภาพ : โพสต์ที่เป็นข้อมูลเท็จมักจะมีรูปภาพหรือวิดีโอที่มีการตัดต่อ บางครั้งรูปภาพอาจเป็นรูปจริง แต่ไม่เกี่ยวข้องกับบริบทของเรื่องราว คุณสามารถค้นหารูปภาพหรือรูปถ่ายในแหล่งอื่นๆ เพื่อตรวจสอบว่ารูปภาพเหล่านั้นมาจากที่ไหน

 



2. อย่าเชื่อข้อความพาดหัว : โพสต์ที่เป็นข้อมูลเท็จมักจะมีพาดหัวที่สะกดด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดพร้อมกับเครื่องหมายอัศเจรีย์ หากข้อความพาดหัวที่น่าตื่นตระหนกฟังดูไม่น่าเชื่อถือ โพสต์นั้นก็อาจไม่น่าเชื่อถือจริงๆ

3. สืบเสาะแหล่งที่มา : ตรวจสอบให้แน่ใจว่าโพสต์มาจากแหล่งข้อมูลที่คุณเชื่อถือ หากโพสต์มาจากบัญชีที่ไม่คุ้นเคย ให้ลองศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

 



4. สังเกตการจัดรูปแบบ - ภาษาที่ไม่ปกติ : ข้อมูลเท็จจำนวนมากมักมีการสะกดผิดหรือวางเลย์เอาท์ไม่ปกติ โปรดอ่านอย่างระมัดระวังหากคุณเห็นสัญญาณเหล่านี้

 



5. ตรวจสอบวันที่ : โพสต์ที่เป็นข้อมูลเท็จอาจมีลำดับเหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุสมผล หรือมีการเปลี่ยนแปลงวันที่ของเหตุการณ์

6. ตรวจสอบหลักฐาน : ตรวจสอบแหล่งข้อมูลของผู้โพสต์เพื่อยืนยันว่าถูกต้อง การขาดหลักฐานหรือการอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ระบุชื่ออาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงข้อมูลเท็จได้

 

 


7. เป็นเรื่องตลกหรือไม่ : การแยกแยะข้อมูลเท็จออกจากเรื่องตลกหรือการเสียดสีอาจทำได้ยากในบางครั้ง ตรวจสอบว่าบัญชีนั้นขึ้นชื่อเรื่องการล้อเลียนหรือไม่ และสังเกตว่ารายละเอียดและลักษณะของโพสต์ดูเป็นเรื่องตลกหรือไม่

 

 


8. ดูความจงใจให้ข้อมูลเท็จ : คิดและวิเคราะห์เกี่ยวกับโพสต์ที่คุณเห็น และแชร์เฉพาะโพสต์ที่คุณทราบว่าน่าเชื่อถือเท่านั้น

 

 

เป็นยังไงบ้างครับกับ 8 ทริค ที่เรานำมาเสนอวันนี้ เพื่อน ๆ อย่าลืมนำไปใช้ประกอบกับวิจารณญาณเวลารับข่าวสารด้วยนะครับ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ