เด่นโซเชียล

วิกฤต "ยอดผู้ป่วยโควิดทั่วโลก" ขยับขึ้นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

WHO เตือน วิกฤตยังไม่จบ หลัง "ยอดผู้ป่วยโควิดทั่วโลก" เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน เนื่องจากการระบาดในทวีปยุโรป 

WHO เตือน วิกฤตยังไม่จบ หลัง "ยอดผู้ป่วยโควิดทั่วโลก" เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน เนื่องจากการระบาดในทวีปยุโรป

 


แม้ว่าจำนวนผู้ป่วยในทุกภูมิภาคจะลดลง แต่จำนวนผู้ติดเชื้อในยุโรปกลับเพิ่มขึ้นในช่วง 3 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยในสัปดาห์นี้มีผู้ผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 4%

 

 

มาเรีย แวน เคอร์คอฟ หัวหน้าฝ่ายเทคนิคของ องค์การอนามัยโลก ด้านโควิด กล่าวว่า ฤดูหนาวที่ใกล้เข้ามาอาจกระตุ้นให้เกิดการระบาดได้เช่นกัน เนื่องจากผู้คนใช้ชีวิตในที่ร่มมากขึ้น อาจอยู่ในห้องที่ไม่มีการระบายอากาศที่ดี ทำให้มีการติดเชื้อมากขึ้น 

นอกจากนั้นแล้ว สายพันธุ์เดลต้าที่กำลังพัฒนาก็มีส่วนทำให้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ซึ่งองค์กรกำลังติดตาม sublineages ของ delta มากกว่า 30 รายการ รวมถึงสายพันธุ์ย่อย AY.4.2 หรือเดลต้าพลัส ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นในสหราชอาณาจักรและอาจติดต่อได้มากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม

 



ข้อมูลการวิเคราะห์ CNBC ของมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ระบุว่า โควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในสาธารณรัฐเช็กและฮังการี ภายใน 7 วัน ผู้ป่วยพุ่งขึ้นมากกว่า 100% ส่วนโครเอเชีย เดนมาร์ก นอร์เวย์ และโปแลนด์ พบว่ามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยทุกสัปดาห์มากกว่า 70% 
 

ทางด้านรัสเซียรายงานสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์เจ็ดวัน ซึ่งสูงกว่าสัปดาห์ก่อน 10%  แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ยูเครนที่มีผู้ป่วยรายใหม่มากกว่า 21,900 ราย เพิ่มขึ้น 43% จากสัปดาห์ก่อน

 

 

นอกจากจะมีการเรียกร้องให้เร่งกระจายการฉีดวัคซีนแล้ว ก็เริ่มมีกระแสเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐเร่งอนุมัติยาต้านไวรัสโควิดอย่างยาโมลนูพิราเวียร์ โดย โรเบิร์ต เดวิส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของบริษัท Merck & Co. ซึ่งเป็นบริษัทยารายใหญ่ของสหรัฐฯ กล่าวว่า บริษัทพร้อมจัดส่งยามากกว่า 10 ล้านเม็ดภายในสิ้นปีนี้ และอีกกว่าสองเท่าภายในปีหน้าทันทีที่ได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานรัฐ

 

 

ทั้งนี้ Merck ได้ยื่นขออนุมัติการใช้ยาโมลนูพิราเวียร์เป็นกรณีฉุกเฉินต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) เมื่อวันที่ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะได้รับการอนุมัติในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้

 

 

ขณะเดียวกัน มีการประเมินว่า Merck จะมีรายได้ทั่วโลกในปีนี้จากการจำหน่ายยาโมลนูพิราเวียร์ ซึ่งเป็นยารักษาโรคโควิด ราว 500-1,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 16,650-33,300 ล้านบาท

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ