เด่นโซเชียล

กทม. ยัน เตรียมเพิ่ม "ธนาคารน้ำใต้ดิน" อีก 2 แห่ง เดือนปลายปีนี้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผู้ว่า กทม.ฯ เตรียมสร้าง "ธนาคารน้ำใต้ดิน" เพิ่มอีก 2 แห่ง ในเดือน ธ.ค. 64 นี้ เพื่อใช้แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง ยันใช้ได้ดีตั้งแต่ปี 2561

ผู้ว่า กทม.ฯ เตรียมสร้าง "ธนาคารน้ำใต้ดิน" เพิ่มอีก 2 แห่ง ในเดือน ธ.ค. 64 นี้ เพื่อใช้แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง ยันใช้ได้ดีตั้งแต่ปี 2561

 

 

27 ต.ค.64 ผู้ว่า กทม.ฯ อัศวิน ขวัญเมือง ได้โพสต์เฟซบุ๊ก โดยรายละเอียดทั้งหมดระบุว่า กทม.แก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ โดยใช้วิศวกรรมเชิงโครงสร้างมาเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำให้ดีมากขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ เพิ่มเส้นทางการระบายน้ำที่เหมือนมีแม่น้ำอยู่ใต้ดินและช่วยเพิ่มความเร็วในการระบายออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้มากขึ้น

 

 

 

มีการก่อสร้างท่อเร่งระบายน้ำ (Pipe Jacking) ที่ช่วยเพิ่มท่อการระบายน้ำขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการเร่งระบายน้ำได้มากขึ้น และยังมีการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำด้วยการสร้างและปรับปรุงสถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ บ่อสูบน้ำ และเพิ่มเครื่องสูบน้ำในจุดต่าง ๆ ให้ระบายน้ำได้ดีมากขึ้น

 

 

กทม. ยัน เตรียมเพิ่ม "ธนาคารน้ำใต้ดิน" อีก 2 แห่ง เดือนปลายปีนี้

และยังก่อสร้างพื้นที่รองรับน้ำเพิ่มในพื้นที่ กทม. เพื่อช่วยให้น้ำไม่ท่วมขังในพื้นที่เป็นเวลานาน โดยจัดทำ “ธนาคารน้ำใต้ดิน” (Water Bank) เป็นที่กักเก็บน้ำขนาดใหญ่ใต้ดิน ที่ช่วยเร่งระบายน้ำที่ท่วมขังบนถนนให้ไหลลงท่อระบายน้ำได้เร็วขึ้น ทำให้น้ำไม่ท่วมขังบนถนนเวลานาน เพราะน้ำจะไหลลงที่กักเก็บน้ำใต้ดิน water Bank ไว้ก่อน และเมื่อไม่มีฝนตกและน้ำในคลองมีน้อย ก็จะสูบน้ำออกจาก Water Bank ระบายออกไปสู่คลองตามระบบ

 

 

กทม. ได้ก่อสร้าง Water Bank ในจุดเสี่ยงน้ำท่วม 4 แห่ง ซึ่งก่อสร้างเสร็จและใช้กักเก็บน้ำแล้ว ตั้งแต่ปี 2561 แล้ว 2 แห่ง ได้แก่

 

1. ธนาคารน้ำใต้ดิน บริเวณใต้วงเวียนบางเขน ที่กักเก็บน้ำได้ 1,000 ลบ.ม. สามารถระบายน้ำออกไปสู่ 2 คลองได้ทั้งทางทิศเหนือและทิศใต้ของวงเวียน คือ คลองรางอ้อรางแก้ว และคลองสอง ที่ช่วยแก้ปัญหาจุดอ่อนน้ำท่วมบริเวณวงเวียนบางเขนได้ จากปี 2559 มีน้ำท่วม 13 ครั้ง ในปี 2561 ที่เริ่มใช้งาน น้ำท่วมขังลดลงเหลือ 2 ครั้ง ในปี 2562 น้ำท่วมขัง 1 ครั้ง และในปี 2563 น้ำไม่ท่วมขังบริเวณนั้นเลย

 

 

2. ธนาคารน้ำใต้ดิน บริเวณใต้ถนนอโศกดินแดง ปากซอยสุทธิพร 2 ที่กักเก็บน้ำได้ 1,000 ลบ.ม. สามารถระบายออกไปยังคลองโบสถ์แม่พระ ไหลลงอุโมงค์ยักษ์บึงมักกะสัน ช่วยแก้ไขจุดอ่อนน้ำท่วมย่านดินแดง ทำให้น้ำท่วมขังลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน จากปี 2560 มีน้ำท่วม 15 ครั้ง ในปี 2561 ที่เริ่มใช้งาน น้ำท่วมขังลดลงเหลือ 6 ครั้ง ในปี 2562 น้ำท่วมขัง 1 ครั้ง และในปี 2563 น้ำไม่ท่วมขังเลย

 

 

กทม. ยัน เตรียมเพิ่ม "ธนาคารน้ำใต้ดิน" อีก 2 แห่ง เดือนปลายปีนี้

และกำลังก่อสร้างเพิ่มอีก 2 แห่ง จะสร้างเสร็จภายในปี 2564 คือ

 

3. ธนาคารน้ำใต้ดิน บริเวณสวนสาธารณะถนนรัชดาภิเษกตัดกับถนนวิภาวดีรังสิต กักเก็บน้ำได้ 10,000 ลบ.ม. แก้ปัญหาจุดอ่อนน้ำท่วมแยกรัชโยธิน และแยกรัชดาลาดพร้าว

 

4. ธนาคารน้ำใต้ดิน บริเวณแยกถนนศรีนครินทร์ตัดกับถนนกรุงเทพกรีฑา กักเก็บน้ำได้ 10,000 ลบ.ม. แก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณศรีนครินทร์

 

ซึ่งเมื่อธนาคารน้ำใต้ดิน (Water Bank) สร้างเสร็จทั้งหมด จะเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้เพิ่มมากขึ้น และกรุงเทพมหานครก็ยังมีการพัฒนาระบบการระบายน้ำในพื้นที่อื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้การระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

 

 

กทม. ยัน เตรียมเพิ่ม "ธนาคารน้ำใต้ดิน" อีก 2 แห่ง เดือนปลายปีนี้

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ