เด่นโซเชียล

ไม่จ้อจี้ ข่าวจริง "เตรียมเข้าหน้าหนาว" สิ้นเดือนตุลาคมนี้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ข่าวจริงอุตุ คาด เตรียมเข้าสู่ฤดูหนาว ช่วงสิ้นเดือนตุลานี้ ถึงปลายกุมภา 65 ช้ากว่าปกติ 1-2 สัปดาห์ แจ้งเตือนพฤศจิกา-ธันวา มีพายุหมุนฤดูร้อนเคลื่อนผ่านภาคใต้

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ยืนยัน กรณีการเผยแพร่ข้อมูลประเด็นเรื่อง เตรียมเข้าสู่ฤดูหนาว ช่วงสิ้นเดือนตุลาคม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง 

ไม่จ้อจี้ ข่าวจริง "เตรียมเข้าหน้าหนาว" สิ้นเดือนตุลาคมนี้

 

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดู หนาวของประเทศไทย ช่วงประมาณปลายเดือนตุลาคม 2564 ถึง ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ฤดูหนาวของประเทศไทยปีนี้ คาดว่า บริเวณประเทศไทยตอนบน ฤดูหนาวปีนี้ คาดว่า จะเริ่มต้นในช่วง ปลายเดือนตุลาคม 2564 ซึ่งจะช้ากว่าค่าเฉลี่ยปกติ 1 - 2 สัปดาห์และ จะสิ้นสุดประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2565

 

 

อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยประเทศไทยตอนบน 20 - 21 องศาเซลเซียส ซึ่งจะสูงกว่าค่าปกติประมาณ 0.5 องศาเซลเซียส (ค่าปกติ 19.9 องศาเซลเซียส) และจะมีอากาศหนาวเย็นใกล้เคียงปีที่ผ่านมา (อุณหภูมิ ต่ำสุดเฉลี่ยปีที่ผ่านมา 20.2 องศาเซลเซียส)

สําหรับอุณหภูมิต่ำที่สุด 6 - 7 องศาเซลเซียส ส่วนมากจะอยู่ตอนบนของทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนอุณหภูมิต่ำที่สุดของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 15 - 16 องศาเซลเซียส

ช่วงเวลาที่จะมีอากาศหนาวเย็นที่สุด จะเริ่มตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ธันวาคม 2564 ถึงปลายเดือนมกราคม 2565 สำหรับบริเวณยอดดอยและยอดภูรวมทั้งเทือกเขาจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดและจะมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง

ส่วนบริเวณภาคใต้จะมีอากาศเย็นบางแห่งในบางวันส่วนมากตอนบนของภาค และยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นต่อไปในช่วงเดือน พฤศจิกายนและธันวาคมโดยเฉพาะทางด้านฝั่งตะวันออกตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป กับจะมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากบางแห่ง ซึ่งจะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้ง น้ำล้นตลิ่งได้ในบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมในทะเลอ่าวไทยจะมีกําลังแรงเป็นระยะๆ บางช่วงมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร


ทั้งนี้ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม อาจจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้หรือเคลื่อนตัวผ่านบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้ ซึ่งจะทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่นเป็นบริเวณกว้าง รวมทั้งคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกําลังแรง และอาจมีคลื่นพายุซัดฝั่งความสูง ของคลื่น 3 - 4 เมตร 

การคาดหมายนี้เป็นการคาดหมายระยะนาน โดยใช้วิธีทางสถิติและวิเคราะห์จากแบบจําลองภูมิอากาศ การคาดหมายนี้จะมีการปรับปรุงในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคม 2564



ทั้งนี้การคาการณ์สภาพอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น มีดังนี้

  1. ช่วงปลายเดือนตุลาคม บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกและ ภาคใต้ตอนบนยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ประกอบกับในบางช่วงจะมีน้ำทะเลหนุนสูง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดน้ำท่วมและน้ำล้นตลิ่งได้ในบางพื้นที่
  2. ในเดือนธันวาคมและมกราคม บริเวณยอดดอยและยอดภูมักจะเกิดน้ำค้างแข็งขึ้นได้ กับจะมีหมอกหนาเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงควรระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้ยวดยานพาหนะไว้ด้วย
  3. ในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ อาจมีคลื่นกระแสลม ตะวันตก เคลื่อนตัวจากประเทศเมียนมาผ่านประเทศไทยตอนบนซึ่ง จะทำให้ช่วงดังกล่าวเกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและอาจมีลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่

 

logoline