เด่นโซเชียล

"พายุหมาเหล่า" จ่อเข้าไทย 28-30 ต.ค.นี้ คาดทำฝนตกหนักทั่วประเทศ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จับตา "พายุหมาเหล่า" พายุลูกใหม่ฟักตัวในทะเลจีนใต้คาดเข้าไทย 28-30 ต.ค.นี้ เสี่ยงกระทบไทยทำฝนตกหนัก ผู้เชี่ยวชาญเฝ้าระวังความรุนแรงและประเมินสถานการณ์ต่อเนื่อง

เพจเตือนภัยพิบัติ วาตภัย ฝนฟ้า พายุ โพสต์ข้อความเกี่ยวกับพายุลูกใหม่ที่กำลังจะเข้าไทย โดยระบุข้อความว่า  ผลการ Simulate IR-BRITHNESS วิเคราะห์จากแบบจำลอง ECMWF,CMC ในอีก 10วัน โดยประมาณ จากภาพจะเห็นว่าที่พายุโซนร้อน "พายุหมาเหล่า" กำลังฟักตัวบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง คาดว่าจะเคลื่อนเข้าปกคลุมเวียดนามตอนกลาง ก่อนปลายเดือนนี้

 

"พายุหมาเหล่า" จ่อเข้าไทย 28-30 ต.ค.นี้ คาดทำฝนตกหนักทั่วประเทศ

 

 

ด้าน รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก "รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์" เกี่ยวกับพายุลูกใหม่ โดยระบุว่า  เมื่อเช้านี้ ผมและทีมงานได้เข้าร่วมเวทีสมัชชาสุขภาพลุ่มน้ำท่าจีน โดยมีท่าน สว. สมเดช และท่าน สว. ประสิทธิ์ ท่านรองผู้ว่าฯ อภินันท์ รวมทั้งประชาคมสมัชชาฯ หลายท่านรู้สึกเป็นกังวลกับปริมาณน้ำที่กำลังหลากลงมาในแม่น้ำท่าจีนภายใน 1 สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งมาจากหลายแหล่ง น้ำเหนือจาก ม.เจ้าพระยา  (100 cms)  น้ำหลากจากปริมาณน้ำล้นเขื่อนทับเสลา และเขื่อนกระเสียว (ประมาณ 300-400 cms) น้ำจากคลองต่างๆ รวมปริมาณการสูบลงด้านข้าง (ประมาณ 100-200 cms) อิทธิพลน้ำทะเลหนุน รวมปริมาณน้ำระบายลง ม.ท่าจีนตอนล่างประมาณ 500-600 cms  

ในขณะที่ ม.ท่าจีนมีศักยภาพเพียงประมาณ 320 cms จึงมีความเสี่ยงที่จะทำให้น้ำล้นคันกั้นน้ำในบางพื้นที่ ซึ่งระดับน้ำยังคงต่ำกว่าระดับน้ำในปี 2554 ประมาณ 0.40-0.60 m (ผมได้ไปนั่งทานอาหารกลางวันที่ร้านสีฟ้า ตลาดท่านา นครชัยศรี จำความหลังเก่าๆเมื่อ 10 ปีที่แล้ว นั่งกินไปเท้าก็จุ่มน้ำเต็มน่อง คุยกับเจ้าของร้านที่ยังจำผมได้)

 

ผมได้แนบพื้นที่น้ำหลากท่วมบริเวณท้ายเขื่อนทั้งสอง ตั้งแต่ อ.ลานสัก อ.ทับทัน อ.หนองฉาง อ.หนองขาอย่าง และ อ.เมือง ใน จ.อุทัยธานี อ.ด่านช้าง อ.หนองหญ้าไซ อ.สามชุก อ.เดิมบางนางบวช ใน จ.สุพรรณบุรี ที่ปริมาณกำลังไหลลง ม.ท่าจีน จะทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นไม่เกิน 0.50 m 

ผมเชื่อว่าสมัชชาสุขภาพแม่น้ำท่าจีน จะเป็นกำลังสำคัญในการเผชิญเหตุการณ์ครั้งนี้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ความเตรียมพร้อมรับสถานการณ์จากฐานประชาชนที่เข้มแข็งจะช่วยบรรเทาเหตุการณ์ลงได้ 

 

ช่วงปลายเดือนนี้ (28-30 ตุลาคม) ตอนกลางของประเทศ (ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง รวม กทม.) มีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับพายุอีก 1 ลูก การประเมินความเสี่ยง และความรุนแรงเป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็น ผมก็กำลังประเมินสถานการณ์อยู่เช่นกัน เวลาเปลี่ยนสถานการณ์เปลี่ยน คอยติดตามเร็วๆนี้
 

ที่มา : เฟซบุ๊ก เตือนภัยพิบัติ วาตภัย ฝนฟ้า พายุ และ เฟซบุ๊ก รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์

logoline