ปภ. เตือนล่าสุด 4 จว. เสี่ยงท่วมฉับพลัน - น้ำป่าหลาก เช็คเลยมีอำเภอไหนบ้าง
ปภ. แจ้งเตือนล่าสุด 4 จว. "พื้นที่เฝ้าระวัง" น้ำท่วมฉับพลัน - น้ำป่าหลาก เช็คเลยมีอำเภอไหนเสี่ยงบ้าง ขณะที่สถานการณ์อุทกภัยในเขตตัวเมือง จันทบุรี ภาพรวมเริ่มคลี่คลาย หากไม่มีฝนตกมาเพิ่มเติม
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย "ปภ." รายงานคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 14 ตุลาคม 2564 เวลา 08.10 น. "พื้นที่เฝ้าระวัง" น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ได้แก่
- ภาคกลาง จ.จันทบุรี (อ.เมืองฯ อ.ขลุง อ.มะขาม อ.เขาคิชฌกูฏ) และ จ.ตราด (อ.เขาสมิง อ.บ่อไร่ อ.เมืองฯ)
- ภาคใต้ จ.ระนอง (อ.เมืองฯ อ.กะเปอร์ อ.ละอุ่น อ.สุขสำราญ) และ จ.พังงา (อ.เมืองฯ อ.กะปง อ.ตะกั่วป่า)
โดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย "ปภ." แจ้งเตือน "พื้นที่เฝ้าระวัง" น้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง ดังนี้
ภาคเหนือ จ.นครสวรรค์ (อ.เมืองฯ อ.พยุหะคีรี อ.โกรกพระ อ.ชุมแสง)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น (อ.แวงน้อย อ.แวงใหญ่ อ.โคกโพธิ์อ.ไชย อ.ชนบท อ.มัญจาคีรี อ.พระยืน อ.บ้านแฮด อ.บ้านไผ่ อ.เมืองฯ) จ.มหาสารคาม (อ.โกสุมพิสัย อ.กันทรวิชัย อ.เมืองฯ) จ.กาฬสินธุ์ (อ.ฆ้องชัย อ.กมลาไสย อ.ร่องคำ) จ.ร้อยเอ็ด (อ.จังหาร อ.เชียงขวัญ อ.ธวัชบุรี อ.โพธิ์ชัย อ.เสลภูมิ อ.ทุ่งเขาหลวง อ.พนมไพร อ.อาจสามารถ อ.โพนทราย อ.สุวรรณภูมิ) จ.ยโสธร (อ.เมืองฯ อ.คำเขื่อนแก้ว อ.มหาชนะชัย อ.ค้อวัง) จ.นครราชสีมา (อ.โนนสูง อ.พิมาย อ.คง อ.ประทาย อ.ชุมพวง อ.เมืองยาง) จ.บุรีรัมย์ (อ.สตึก อ.ประโคนชัย อ.คูเมือง) จ.สุรินทร์ (อ.ชุมพลบุรี อ.ท่าตูม อ.รัตนบุรี) จ.ศรีสะเกษ (อ.เมืองฯ อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ อ.บึงบูรพ์ อ.ยางชุมน้อย อ.ราษีไศล อ.ศิลาลาด อ.อุทุมพรพิสัย อ.กันทรารมย์) และ จ.อุบลราชธานี (อ.เมืองฯ อ.วารินชำราบ อ.เขื่องใน อ.ดอนมดแดง อ.ม่วงสามสิบ อ.สว่างวีระวงศ์)
ภาคกลาง จ.ลพบุรี (อ.เมืองฯ อ.บ้านหมี่ อ.โคกสำโรง) จ.สระบุรี (อ.เมืองฯ) จ.สุพรรณบุรี (อ.บางปลาม้า อ.สองพี่น้อง) จ.สิงห์บุรี (อ.เมืองฯ อ.อินทร์บุรี อ.พรหมบุรี) จ.อ่างทอง (อ.เมืองฯ อ.ไชโย อ.ป่าโมก อ.วิเศษชัยชาญ อ.สามโก้) จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.บางบาล อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางไทร อ.บางปะอิน อ.นครหลวง อ.บางปะหัน อ.มหาราช อ.บางซ้าย) จ.ปทุมธานี (อ.เมืองฯ อ.สามโคก) จ.นครปฐม (อ.นครชัยศรี) จ.จันทบุรี (อ.ขลุง อ.มะขาม อ.เขาคิชฌกูฏ อ.ท่าใหม่ อ.เมืองฯ แหลมสิงห์) และ จ.ตราด (อ.เขาสมิง อ.เมืองฯ)
พื้นที่เฝ้าระวัง ดินถล่ม
- ภาคกลาง จ.จันทบุรี (อ.ขลุง อ.มะขาม อ.เขาคิชฌกูฏ) และ จ.ตราด (อ.เขาสมิง อ.บ่อไร่)
- ภาคใต้ จ.ระนอง (อ.เมืองฯ อ.กะเปอร์ อ.ละอุ่น อ.สุขสำราญ) และ จ.พังงา (อ.เมืองฯ อ.กะปง อ.ตะกั่วป่า)
พื้นที่เฝ้าระวัง คลื่นลมแรง ได้แก่
- ภาคกลาง จ.จันทบุรี และ จ.ตราด
- ภาคใต้ จ.ระนอง จ.พังงา จ.ภูเก็ต จ.กระบี่ จ.ตรัง และ จ.สตูล
ส่วนพื้นที่ที่มีฝนฟ้าคะนอง
ภาคเหนือ จ.น่าน จ.ตาก จ.กำแพงเพชร จ.อุตรดิตถ์ จ.พิษณุโลก จ.พิจิตร จ.เพชรบูรณ์ จ.อุทัยธานี และ จ.นครสวรรค์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย จ.บึงกาฬ จ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี จ.สกลนคร จ.นครพนม จ.ขอนแก่น จ.กาฬสินธุ์ จ.มุกดาหาร จ.มหาสารคาม จ.ร้อยเอ็ด จ.ยโสธร จ.อำนาจเจริญ จ.สุรินทร์ จ.ศรีสะเกษ และ จ.อุบลราชธานี
ภาคกลาง จ.ชัยนาท จ.ลพบุรี จ.สระบุรี จ.กาญจนบุรี จ.ราชบุรี จ.สมุทรสงคราม จ.นครนายก จ.สระแก้ว จ.ปราจีนบุรี จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี จ.ระยอง จ.เพชรบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคใต้ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.ภูเก็ต
ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการ พื้นที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ฝนตกหนัก ปริมาณฝนสะสม โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนเมือง อาจได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขังระยะสั้น ๆ พื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ลาดเชิงเขา อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งอาจเกิดดินถล่ม พื้นที่ริมลำน้ำอาจได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมในระดับสูง ระวังอันตรายจากสัตว์และแมลงมีพิษ อันตรายจากกระแสไฟฟ้า รวมทั้งการขับขี่พาหนะบริเวณน้ำไหลผ่านเส้นทาง
ขณะที่ สถานการณ์อุทกภัย "น้ำท่วม" ในเขตเมืองจันทบุรี เมื่อวานนี้(14 ต.ค. 64) ปภ.จันทบุรี รายงานว่า จากการเฝ้าระดับน้ำในแม่น้ำจันทบุรีทุกครึ่งชั่วโมง ตั้งแต่ 17.00 น.ของวันที่ 13 ต.ค.64 พบว่า ปริมาณน้ำลดลงจากจุดวิกฤติต่อเนื่อง แต่ยังอยู่ระดับที่เฝ้าระวังสูงสุด น้ำในแม่น้ำไหลระบายได้ดี ขณะที่ระดับน้ำในคลองน้ำใส เขตตัวเมืองฝั่งตะวันตก ปริมาณน้ำต่ำกว่าตลิ่งประมาณ 80 เซนติเมตร แต่ยังมีน้ำล้นตลิ่งบริเวณสะพานหมู่บ้านนาฏศิลป น้ำไหลระบายดี
สำหรับสถานการณ์อุทกภัยในเขตตัวเมืองจันทบุรี เมื่อเวลา 02.00 - 04.30 น.วันที่(14 ต.ค. 64) ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ยังคงมีน้ำท่วมภายในหมู่บ้านมั่นคง ชุมชนเนินเอฟเอ็ม หมู่บ้านนาฏศิลปะ หมู่บ้านหลังตลาดเจริญสุขสถานที่ราชการ และที่ลุ่มต่ำ ในระดับสูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร ถนนหลายสายเริ่มสัญจรผ่านได้ สถานการณ์ในภาพรวมเริ่มคลี่คลาย หากไม่มีฝนตกมาเพิ่มเติม
ประชาชนบริเวณชายฝั่งทะเล ให้ระวังอันตรายจากคลื่นลมแรง ชาวเรือ ผู้บังคับเรือ ผู้ประกอบการเดินเรือโดยสาร ให้ตรวจสอบอุปกรณ์ความปลอดภัยให้มีความพร้อมก่อนออกเดินเรือ และควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อปพร. จิตอาสา เครือข่ายอาสาสมัคร องค์กรสาธารณกุศลได้เตรียมความพร้อมตามแผนเผชิญเหตุ เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ พร้อมประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับชุมชน/หมู่บ้านในทุกช่องทาง ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอกระจายข่าวหรือเสียงตามสายประจำหมู่บ้าน เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบถึงแนวทางการปฏิบัติตนอย่างปลอดภัย