เด่นโซเชียล

"วัคซีน mRNA" ไม่มีกัมมันตภาพรังสี นาโนพาร์ทิเคิล มีความปลอดภัย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สธ. แจงวัคซีน mRNA ไม่ได้มีสารกัมมันตภาพรังสี หรือสารโลหะเป็นส่วนประกอบ ส่วนลิปิดนาโนพาร์ทิเคิลไม่ได้เป็นอนุภาคที่เป็นอันตราย แต่เป็นเทคโนโลยีช่วยนำยาหรือวัคซีนเข้าร่างกายที่มีความปลอดภัย และวัคซีนไม่ได้ทำให้เจ็บป่วยรุนแรงมากขึ้น

นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กล่าวถึงกรณีข่าววัคซีนโควิด-19 มีการปนเปื้อน ว่า ขณะนี้โซเชียลมีเดียมีการให้ข้อมูลที่มีความคลาดเคลื่อน ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในวัคซีนหลายเรื่อง เช่น กรณีระบุว่า วัคซีน mRNA มีสารกัมมันตภาพรังสี สารโลหะอะลูมินัมปนเปื้อน ยืนยันว่าส่วนประกอบของวัคซีนไม่มีสารเหล่านี้ การผลิตวัคซีนจะต้องมีการจดแจ้งส่วนประกอบในการขึ้นทะเบียนชัดเจน และวัคซีนทุกล็อตที่เข้ามาต้องผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยและคุณภาพ เช่น สิ่งปลอมปนทางกายภาพ หากตรวจพบความผิดปกติจะส่งคืนให้บริษัททำลายทิ้ง เป็นมาตรฐานสากลที่ปฏิบัติเหมือนกันทุกประเทศ

"วัคซีน mRNA" ไม่มีกัมมันตภาพรังสี นาโนพาร์ทิเคิล มีความปลอดภัย

 

 

 

 

นอกจากนี้กรณีที่ระบุว่า มีนาโนพาร์ทิเคิลหรืออนุภาคที่เป็นอันตราย ขอชี้แจงว่า วัคซีน mRNA มีการใช้ลิปิดนาโนพาร์ทิเคิล หรืออนุภาคนาโนของไขมัน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีการพัฒนายารักษาโรคบางชนิดมีใช้มาก่อนหน้านี้ เพื่อช่วยนำตัวยาเข้าสู่ร่างกายให้ออกฤทธิ์ได้ มีการตรวจพิสูจน์ว่าปลอดภัยก่อนได้รับอนุญาตในสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปจึงมั่นใจได้ว่าลิปิดนาโนพาร์ทิเคิลที่เป็นส่วนประกอบของวัคซีนมีความปลอดภัย ส่วนที่อ้างว่าผู้ที่ฉีดวัคซีน mRNA ติดเชื้อแล้วมีอาการหนักมากกว่าผู้ที่ไม่ฉีด เรื่องนี้ไม่เป็นความจริงจากผลการศึกษาประสิทธิภาพวัคซีนช่วยป้องกันอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ถึง 95% แม้กระทั่งกลุ่มผู้สูงอายุที่การตอบสนองของภูมิคุ้มกันน้อยกว่าวัยอื่นๆ ประสิทธิภาพยังสูงในระดับ 94%

"วัคซีน mRNA" ไม่มีกัมมันตภาพรังสี นาโนพาร์ทิเคิล มีความปลอดภัย

วัคซีนที่นำมาฉีดในประเทศไทยมีการฉีดในต่างประเทศเป็นจำนวนมากแล้ว โดยบุคลากรทางการแพทย์ทุกกลุ่มได้รับการฉีดก่อน และเป็นการฉีดโดยความสมัครใจ เนื่องจากเป็นสิทธิส่วนบุคคลในการตัดสินใจ เช่นเดียวกับการฉีดในนักเรียนที่มีการสอบถามผู้ปกครองก่อน เพื่อให้แสดงความจำนง ส่วนภาคราชการจะรณรงค์เชิญชวนให้ฉีดวัคซีนด้วยเหตุผลทางวิชาการ แต่สุดท้ายขึ้นกับการตัดสินใจของแต่ละบุคคลว่าจะฉีดหรือไม่

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ