เด่นโซเชียล

เช็คขั้นตอนลงทะเบียนธุรกิจ SMEs "รับเงินเยียวยา" 3,000 บาท สูงสุด 6 แสนบาท

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นายจ้างธุรกิจSMEs เช็ครายละเอียดขั้นตอนลงทะเบียนรับ "รับเงินเยียวยา" หัวละ 3,000 บาท สูงสุด 6 แสนต่อกิจการ นาน 3 เดือน

ตามที่ ที่ประชุม ครม. (5 ตุลาคม 2564) เห็นชอบหลักการโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs จ่ายเงินเยียวยา จำนวน 3,000 บาทต่อหัวของจำนวนลูกจ้าง ไม่เกิน 200 คน สูงสุดไม่เกิน 6 แสนบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในการส่งเสริมและรักษาการจ้างงาน  เป็นเวลานาน 3 เดือน ตามมติของ ศบศ. 

 

อัปเดตรายละเอียดการจ่ายเงินเยียวยาล่าสุด พร้อมขั้นตอนการลงทะเบียนของนายจ้าง และไทม์ไลน์การดำเนินการ  ดังนี้ 

 

มาตรการเยียวยานายจ้างรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้ 

 

1.คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการเยียวยานายจ้าง

  • อุดหนุนการจ้างงาน จะต้องเป็นนายจ้างภาคเอกชนที่อยู่ในระบบประกันสังคม มีการจ้างงานลูกจ้างสัญชาติไทยไม่เกิน 200 คน โดยลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการในเดือนตุลาคม 2564 และรับเงินอุดหนุนในเดือนที่ 1 - 3 (ตั้งแต่พฤศจิกายน 2564 ถึงมกราคม 2565) 

 

2.เงื่อนไขการจ่ายเงินอุดหนุน 
 

  • รัฐจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อส่งเสริมและรักษาการจ้างงานให้แก่นายจ้าง ให้กับลูกจ้างสัญชาติไทย จำนวนไม่เกิน 200 คน ในอัตรา 3,000 บาท/คน/เดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน
  • เงินอุดหนุนคำนวณตามยอดการจ้างจริงทุกเดือน โดยพิจารณาจากจำนวนลูกจ้างที่นำส่งเงินสมทบประกันสังคม 
  • นายจ้างจะต้องรักษาการจ้างงานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ในระหว่างร่วมโครงการ โดย (หากต่ำกว่าร้อยละ 95 จะไม่ได้รับเงินอุดหนุนในเดือนนั้น) ในกรณีนายจ้างมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น จะได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มตามจำนวนการจ้างงานจริง ไม่เกินร้อยละ 5 ของจำนวนลูกจ้างสัญชาติไทย ณ วันเริ่มโครงการ
     

ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ 20 ต.ค.-20 พ.ย.64

  • ยืนยันเข้าร่วมโครงการ
  • เลขบัญชีธนาคาร
  • ทราบยอดการจ้างงาน ณ เดือนที่เข้าร่วมโครงการ

 

ระยะเวลาในการจ่ายเงินเยียวยานายจ้าง 

  • เดือนตุลาคม 2564 จะเปิดให้เจ้าของธุรกิจเอสเอ็มอีมาลงทะเบียน เพื่อขอรับการเยียวยาก่อน
  • เดือนพฤศจิกายน 2564 เริ่มจ่ายเงินเยียวยาให้แก่เจ้าของธุรกิจเอสเอ็มอี ต่อเนื่องไปอีก 3 เดือน หรือประมาณช่วง
  • เดือนมกราคม 2565 จะเป็นช่วงสิ้นสุดการจ่ายเงินเยียวยา 

 

อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าว เป็นไปเพื่อรักษาระดับการจ้างงานลูกจ้างสัญชาติไทยในธุรกิจ SMEs ที่มีลูกจ้างไม่เกิน 200 ราย โดยขณะนี้มีสถานประกอบการจำนวน 480,122 แห่ง  จะสามารถรักษาการจ้างงานลูกจ้างได้จำนวน 5,040,176 คน 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ