เด่นโซเชียล

"สารทเดือนสิบ" ประเพณีที่เป็นมากกว่าวันหยุดพิเศษประจำภาคใต้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ย้อนตำนาน "สารทเดือนสิบ" วันที่โลกออกห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด และมีความหมายมากกว่าวันหยุดพิเศษประจำภาคใต้

"6 ตุลาคม 2564"   ถือเป็นปีที่มีวันหยุดพิเศษเพิ่มเติมรัฐบาลต้องการกระตุ้นการท่องเที่ยว ให้เกิดการหมุนเวียนของเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจ โดยวันที่ 6 ตุลาคม หรือวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 เป็นวันสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นวันสำคัญของภาคใต้ วันนี้เราจะพาไปดูที่ไปที่มาของ วันสารทเดือนสิบกัน   

ประเพณี สารทเดือนสิบ หรือ ประเพณีชิงเปรต เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ ซึ่งเป็นความเชื่อของพุทธศาสนิกชนที่เชื่อว่าบรรพบุรุษ ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ผู้ที่ทำบาปไว้มากจะตกนรก กลายเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานในอเวจี ต้องอาศัยผลบุญที่ลูกหลานอุทิศส่วนบุญกุศลให้ ในแต่ละปีมายังชีพ เมื่อถึงวันแรม1 ค่ำ เดือน 10 พระยายมจะปล่อยคนบาปทั้งหลาย ที่เรียกว่า "เปรต” กลับไปพบญาติพี่น้องในเมืองมนุษย์ เพื่อมาขอส่วนบุญจากลูก หลาน ญาติ พี่น้อง และจะกลับไปนรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน10 ในโอกาสนี้ ลูก หลาน ญาติ พี่น้อง ที่ยังมีชีวิตอยู่ จึงนำอาหารไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วนบุญกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที

นอกจากนี้วันสารทยังเป็นช่วงที่โลกออกห่างดวงอาทิตย์มากที่สุด โดยถ้านับจากวันสงกรานต์จนถึงวันสารทจะเป็นเวลาประมาณหกเดือนพอดี หากจะนับช่วงเวลาทางจันทรคติคือแรม 15 ค่ำ (หรือ 14) ซึ่งเป็นเดือนดับและเป็นเวลาที่โลกมืดมิดที่สุด ความเชื่อของคนโบราณในแถบภูมิภาคนี้ จึงถือว่าเป็นเวลาที่วิญญาณกลับจากนรก ญาติพี่น้องจึงควรทำบุญ เพื่อแผ่ส่วนกุศลไปให้ ถ้าผู้ล่วงลับได้รับส่วนบุญได้อิ่มท้องก็จะให้พร ถ้าไม่มีใครทำบุญไปให้ก็จะเสียใจบางทีอาจโกรธและสาปแช่ง จนถือเป็นวันรวมญาติ วันบูชาบรรพบุรุษ ใครไม่ร่วมจะโดนดูถูกว่าอกตัญญู วันสงกรานต์นับตามสุริยคติ วันสารทจะนับตามจันทรคติ

ระยะเวลาการทำบุญวันสารทเดือนสิบ

      - ครั้งแรก วันแรม 1 ค่ำ เดือน10 เรียกว่า วันรับเปรต

      - ครั้งที่สอง วันแรม 15ค่ำ เดือน10 เรียกว่า วันส่งเปรต

 

การประกอบพิธีกรรมในวันสารทเดือนสิบ

1.การจัดหมฺรับ คือ การบรรจุและประดับด้วยสิ่งของอาหาร ขนมเดือนสิบลงในภาชนะที่เตรียมไว้ เช่น ถาด กาละมัง ฯลฯ ชั้นล่างสุดบรรจุอาหารแห้ง ชั้นสองเป็นพืชผักที่เก็บไว้ได้นาน ชั้นสามเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน ชั้นบนสุดประดับขนมได้แก่ ขนมพอง ขนมลา ขนมบ้า ขนมเมซำ ขนมเทียน

2.การยกหมฺรับ ชาวบ้านจะยกหมฺรับที่จัดเตรียมไว้ไปวัด และนำภัตตาหารไปถวายพระด้วย โดยไปวัดที่อยู่ใกล้บ้าน หรือวัดที่บรรพบุรุษของตนนิยมไป

3.การฉลองหมฺรับและบังสุกุล เมื่อนำหมฺรับไปวัดแล้ว จะมีการฉลองหมฺรับ และทำบุญเลี้ยงพระเสร็จแล้วจึงมีการบังสกุล เพื่ออุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

4.การตั้งเปรต เสร็จจากการฉลองหมฺรับและถวายภัตตาหารแล้ว ชาวบ้านจะนำขนมอีกส่วนหนึ่งไปวางไว้ตามบริเวณลานวัด ข้างกำแพงวัด เรียกว่า ตั้งเปรต เพื่อแผ่ส่วนกุศลเป็นทานผู้ล่วงลับที่ไม่มีญาติ หรือญาติไม่มาร่วมทำบุญให้ การชิงเปรตจะทำตอนตั้งเปรตเสร็จแล้ว เพราะเชื่อว่าถ้าหากใครได้กินของเหลือจาการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ จะได้รับกุศลเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง บางวัดนิยมสร้างร้านเปรต เพื่อสะดวกแก่การตั้งเปรต บางวัดสร้างร้านเปรตไว้บนเสาสูงเพียงเสาเดียว รอบเสาชะโลมน้ำมันให้ลื่น เมื่อเวลาชิงเปรตผู้ชนะ คือผู้ที่สามารถปีนไปถึงร้านเปรตซึ่งต้องใช้ความพยายามมาก จึงสนุกสนานและตื่นเต้น

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ