เด่นโซเชียล

"ปภ." เผย 18 จังหวัดยังอ่วม เตือน 2 อำเภอพัทลุง ระวังท่วมฉับพลัน - น้ำป่าหลาก

05 ต.ค. 2564

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย "ปภ." รายงานล่าสุด 18 จังหวัด ยังคงมีน้ำท่วมขัง พร้อมเตือน 2 อำเภอในจังหวัดพัทลุง เสี่ยงท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

วันที่ 5 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย "ปภ." รายงานสถานการณ์อุทกภัย "น้ำท่วม" จากอิทธิพลพายุ "เตี้ยนหมู่" ในช่วงวันที่ 23 ก.ย. - 5 ต.ค. 2564 เกิดอุทกภัยใน 32 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, ตาก, สุโขทัย, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, พิจิตร, กำแพงเพชร, เลย, ขอนแก่น, ชัยภูมิ, ยโสธร, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, จันทบุรี, นครสวรรค์, อุทัยธานี, ชัยนาท, ลพบุรี, สระบุรี, สุพรรณบุรี, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี และนครปฐม 

 

 

รวม 205 อำเภอ 1,100 ตำบล 7,489 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 286,577 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 8 ราย สูญหาย 1 ราย สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 14 จังหวัด (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก บุรีรัมย์ นครปฐม ยโสธร สุรินทร์ เลย ศรีสะเกษ สระแก้ว จันทบุรี ปราจีนบุรี กำแพงเพชร) เสียชีวิต 8 ราย (ลพบุรี ชาย 6 ราย เพชรบูรณ์ ชาย 1 ราย ชัยนาท ชาย 1 ราย) ผู้สูญหาย 1 ราย (เพชรบูรณ์ หญิง 1 ราย) 

 

และยังคงมี "น้ำท่วมขัง" 18 จังหวัด ดังนี้ 

 

1. สุโขทัย น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีสำโรง อำเภอคีรีมาศ และอำเภอเมืองสุโขทัย ระดับน้ำลดลง

 

2. พิษณุโลก น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวังทอง อำเภอพรหมพิราม และอำเภอบางระกำ ระดับน้ำลดลง

 

3. เพชรบูรณ์ น้ำท่วมขังในพื้นที่ติดแม่น้ำป่าสัก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ระดับน้ำลดลง

 

4. พิจิตร น้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบึงนาราง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพทะเล และอำเภอสามง่าม ระดับน้ำลดลง ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตร

 

5. ขอนแก่น น้ำท่วมขังในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแวงน้อย อำเภอแวงใหญ่ อำเภอโคกโพธิ์ชัย อำเภอชนบท อำเภอมัญจาคีรี อำเภอโนนศิลา อำเภอพระยืน อำเภอบ้านแฮด และอำเภอบ้านไผ่ ระดับน้ำลดลง ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ

 

6. ชัยภูมิ น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอคอนสวรรค์ ระดับน้ำลดลง

 

7. นครราชสีมา น้ำท่วมขังในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสูงเนิน อำเภอโนนสูง อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอพิมาย อำเภอปักธงชัย อำเภอโนนไทย อำเภอคง อำเภอจักราช และอำเภอแก้งสนามนาง ระดับน้ำลดลง

 

8. อุบลราชธานี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ ระดับน้ำลดลง จุดอพยพอำเภอเมืองอุบลราชธานี 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลในเมือง และตำบลแจระแม รวม 121 ครัวเรือน 467 คน 

 

9. นครสวรรค์ น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอโกรกพระ และอำเภอพยุหะคีรี ระดับน้ำลดลง 

 

 

10. อุทัยธานี น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอเมืองอุทัยธานี ระดับน้ำลดลง 

 

11. ชัยนาท น้ำท่วมขังในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมโนรมย์ อำเภอวัดสิงห์ อำเภอเนินขาม อำเภอหันคา อำเภอสรรคบุรี อำเภอสรรพยา อำเภอเมืองชัยนาท และอำเภอหนองมะโมง ระดับน้ำลดลง 

 

12. ลพบุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี อำเภอชัยบาดาล และอำเภอบ้านหมี่ ระดับน้ำลดลง 

 

13. สระบุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวังม่วง อำเภอแก่งคอย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอเสาไห้ อำเภอหนองโดน อำเภอบ้านหมอ อำเภอดอนพุด อำเภอหนองแซง อำเภอวิหารแดง และอำเภอหนองแค ระดับน้ำลดลง 

 

14. สุพรรณบุรี ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง ระดับน้ำลดลง 

 

15. สิงห์บุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอค่ายบางระจัน ระดับน้ำลดลง 

 

16. อ่างทอง น้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอไชโย อำเภอป่าโมก อำเภอวิเศษชัยชาญ และอำเภอสามโก้ ระดับน้ำลดลง 

 

17. พระนครศรีอยุธยา น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 9 ได้แก่ อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอบางบาล อำเภอบางไทร อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางปะอิน อำเภอท่าเรือ อำเภอนครหลวง และอำเภอบางปะหัน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และคลองโผงเผงซึ่งอยู่นอกคันกั้นน้ำ ระดับน้ำลดลง 

 

18. ปทุมธานี น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก 

 

ปัจจุบันระดับน้ำลดลง ภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบันหลายพื้นที่เริ่มคลี่คลาย แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ  

 

ขณะที่ รายงานสถานการณ์ ข้อมูลคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย พื้นที่เฝ้าระวัง "น้ำท่วมฉับพลัน" น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ประจำวันที่ 5 ตุลาคม 2564 เมื่อเวลา 08.30 น. มีดังนี้ 

 

พื้นที่เฝ้าระวัง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก 

 

ภาคใต้ จ.พัทลุง (อ.เมืองฯ อ.เขาชัยสน)

 

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง

 

ภาคเหนือ จ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ อ.ศรีสําโรง อ.คีรีมาศ) จ.พิษณุโลก (อ.วังทอง อ.พรหมพิราม อ.บางระกํา) จ.เพชรบูรณ์ (อ.เมืองฯ) จ.พิจิตร (อ.บึงนารางโพธิ์ประทับช้าง อ.โพทะเล อ.สามง่าม) จ.นครสวรรค์ (อ.พยุหคีรี อ.โกรกพระ อ.เมืองฯ) และ จ.อุทัยธานี (อ.เมืองฯ) 

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา (อ.สูงเนิน อ.โนนสูง อ.เมืองฯ อ.พิมาย อ.ปักธงชัย อ.โนนไทย อ.คง อ.จักราช อ.แก้งสนามนาง) จ.ชัยภูมิ (อ.คอนสวรรค์) จ.ขอนแก่น (อ.แวงน้อย อ.แวงใหญ่ อ.โคกโพธิ์ไชย อ.ชนบท อ.มัญจาคีรี อ.โนนศิลา อ.พระยืน อ.บ้านแฮด อ.บ้านไผ่) จ.มหาสารคาม (อ.โกสุมพิสัย อ.กันทรวิชัย อ.เมืองฯ) จ.กาฬสินธุ์ (อ.ฆ้องชัย อ.กมลาไสย อ.ร่องคํา) จ.ร้อยเอ็ด (อ.จังหาร อ.เชียงขวัญ อ.ธวัชบุรี อ.โพธิ์ชัย อ.เสลภูมิ อ.ทุ่งเขาหลวง อ.พนมไพร อ.อาจสามารถ) จ.ยโสธร (อ.เมืองฯ อ.คําเขื่อนแก้ว อ.มหาชนะชัย อ.ค้อวัง) จ.ศรีสะเกษ (อ.กันทรารมย์) และ จ.อุบลราชธานี (อ.เมืองฯ อ.วารินชําราบ) 

 

ภาคกลาง จ.ชัยนาท (อ.มโนรมย์ อ.วัดสิงห์ อ.เนินขาม อ.หันคา อ.สรรคบุรี อ.สรรพยา อ.เมืองฯ อ.หนองมะโมง) จ.ลพบุรี (อ.เมืองฯ อ.ชัยบาดาล อ.บ้านหมี) จ.สระบุรี (อ.วังม่วง อ.แก่งคอย อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.เมืองฯ อ.เสาไห้ อ.หนองโดน อ.บ้านหมอ อ.ดอนพุด อ.หนองแซง อ.วิหารแดง อ.หนองแค) จ.สุพรรณบุรี (อ.บางปลาม้า อ.สองพี่น้อง) จ.สิงห์บุรี (อ.เมืองฯ อ.อินทร์บุรี อ.ค่ายบางระจัน) จ.อ่างทอง (อ.เมืองฯ อ.วิเศษชัยชาญ อ.ป่าโมก อ.ไชโย อ.สามโก้) จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.บางบาล อ.บางไทร อ.พระนครศรีอยุธยา อ.ท่าเรือ อ.นครหลวง อ.บางปะหัน) และ จ.ปทุมธานี (อ.เมืองฯ อ.สามโคก) 

 

พื้นที่ที่มีฝนฟ้าคะนอง

 

ภาคเหนือ จ.แม่ฮ่องสอน จ.เชียงใหม่ จ.ลําพูน จ.ลําปาง จ.ตาก และ จ.อุทัยธานี 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ จ.ขอนแก่น จ.นครราชสีมา จ.บุรีรัมย์ จ.สุรินทร์ จ.ศรีสะเกษ และ จ.อุบลราชธานี 

ภาคกลาง จ.ลพบุรี จ.สระบุรี จ.กาญจนบุรี จ.ราชบุรี จ.นครนายก จ.ชลบุรี จ.ระยอง จ.จันทบุรี จ.ตราด กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 

ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช จ.สงขลา จ.ปัตตานี จ.ยะลา จ.นราธิวาส จ.กระบี่ จ.ตรัง และ จ.สตูล 


ทั้งนี้ ประชาชนสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784 โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง 

 

\"ปภ.\" เผย 18 จังหวัดยังอ่วม เตือน 2 อำเภอพัทลุง ระวังท่วมฉับพลัน - น้ำป่าหลาก