เด่นโซเชียล

"กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ" หลังฉีดวัคซีน mRNA ตัวเลขพุ่ง พบ อายุน้อยเพิ่มอีก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"หมอยง" เผยข้อมูล ภาวะ "กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ" หลังฉีดวัคซีน mRNA ตัวเลขพุ่ง แถมพบในเด็กชาย อายุน้อยลง เพิ่มอีก

ศ.นพ.ยง  ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan กรณีโควิด-19 วัคซีนเยื่อหุ้มและกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากวัคซีนโควิด ชนิด mRNA ระบุว่า

 

อุบัติการณ์ของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากวัคซีนโควิดชนิด mRNA มีแนวโน้มรายงานเพิ่มขึ้น อาจจะเป็นเพราะเฝ้าสังเกตอาการมากขึ้น โดยพบในผู้อายุน้อยมากกว่าอายุมาก เช่น

 

  • ในเด็ก 12 ถึง 17 ปี 
  • ผู้ชายพบมากกว่าผู้หญิง
  • อาการเกิดหลังฉีดวัคซีนเข็ม 2  มากกว่าเข็มแรกอย่างชัดเจน

 

การประเมินความเสี่ยง และประโยชน์จากวัคซีนในเด็ก จึงขึ้นอยู่กับอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะนี้มีการรายงานที่มีตัวเลขแตกต่างกันมาก เช่น ในเด็กชาย
อายุ 12-17 ปี  หลังการฉีดวัคซีนเข็ม 2 จากเดิมรายงาน  60 รายใน 1 ล้าน  เพิ่มขึ้นเป็นในเด็กชาย 12-15 ปี สูงถึง 162 ในล้าน และอายุ 16-17 ปี พบ 94 ในล้าน ส่วนใหญ่มีอาการใน 1-7 วัน หลังได้รับวัคซีน แต่อาจพบได้นานถึง 6 สัปดาห์ อาการมักไม่รุนแรง และหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ มีส่วนน้อยที่ต้องให้การรักษาด้วย IVIG ผู้ป่วยที่ตรวจพบ มีความผิดปกติในการทำงานของหัวใจ ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจมักกลับมาปกติภายใน 3 เดือน แต่ยังไม่มีการศึกษาผลกระทบระยะยาว

 

ศ.นพ.ยง ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ระบุว่า ทำไมพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ทำไมพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ ทำไมพบในการฉีดเข็ม 2 มากกว่าเข็มแรก คงต้องรอคำตอบการศึกษากลไกการเกิดโรค ในปัจจุบันกลไกการเกิดภาวะดังกล่าวยังไม่ทราบ  การแนะนำให้หยุดออกกำลังกาย ภายหลังการฉีดวัคซีน 1-2 สัปดาห์ ไม่ลดผลของการเกิดผลข้างเคียงจากวัคซีน แต่จะลดอาการที่เกิดจากการมีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไม่ให้มีความรุนแรงได้ ถึงแม้ความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากวัคซีนชนิด mRNA จะพบได้น้อย แต่ยังคงต้องมีการศึกษาถึงหลักเกณฑ์การวินิจฉัย การตรวจวินิจฉัย การส่งต่อและการรักษาที่เหมาะสม ผลกระทบระยะยาวต่อประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ รวมทั้ง การออกคำแนะนำ การกลับมาการออกกำลังกาย หรือพฤติกรรมตามปกติของผู้ป่วยที่มีผลข้างเคียงจากวัคซีน

 

นอกจากนี้ ควรศึกษาถึงกลไกการเกิดที่จำเพาะ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ปัจจัยทางพันธุกรรม และประชากรกลุ่มเสี่ยง

ไทม์ไลน์ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ นักเรียน-นักศึกษา อายุ 12-18 ปี เดือน ต.ค. เป็นต้นไป พื้นที่ 29 จังหวัดสีแดงเข้ม

 

  • 10-17 ก.ย. สถานศึกษา จัดเตรียมรายชื่อ และจำนวนนักเรียน ศธ.และ สธ.จัดประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซักซ้อมความเข้าใจการฉีดวัคซีน และการทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง
  • 17-22 ก.ย. สถานศึกษาจัดประชุมทำความเข้าใจ ให้ข้อมูลกับผู้ปกครองในการฉีดวัคซีนให้เด็ก
  • 2-24 ก.ย. สถานศึกษาเชิญผู้ปกครองลงนามแจ้งความประสงค์และให้ความยินยอม ให้นักเรียนเข้ารับวัคซีน
  • 25 ก.ย. โรงเรียน/ สถานศึกษา นำส่งบัญชีรายชื่อนักเรียนที่ประสงค์รับวัคซีนไฟเซอร์แก่เขตพื้นที่การศึกษาก่อนรวบรวมที่ ศึกษาธิการจังหวัด
  • 26 ก.ย. ศึกษาธิการจังหวัดและหน่วยงานการศึกษาในจังหวัด ประชุมสรุปจำนวนและรายชื่อนักเรียน
  • 1 ต.ค. โรงเรียน รับทราบกำหนดการฉีดวัคซีนและจัดเตรียมสถานที่
  • 4 ต.ค. เริ่มฉีดวัคซีนแก่นักเรียน

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ