แพทย์ มช. เตือน ผู้สูงอายุฉีด "ซิโนแวค" 2 เข็ม ยังอันตราย
คณะแพทย์ศาสตร์ มช. วิจัยการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้สูงอายุ พบว่า การฉีด "ซิโนแวค" 2 เข็ม ไม่เพียงพอ ควรกระตุ้นเข็มที่ 3 โดยเร่งด่วน
วันนี้ 23 ก.ย.64 ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. ศ.ดร.สาคร พรประเสริฐ คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มช. รศ.นพ.เฉลิม ลิ่วศรีสกุล หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช. และ ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร.วัชระ กสิณฤกษ์ คณะเทคนิคการแพทย์ มช. ร่วมเปิดเผยถึงความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์และคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ในงานวิจัยเพื่อทดสอบค่าภูมิคุ้มกันแอนติบอดีที่ยับยั้งการเข้าสู่เซลล์ของไวรัสโควิด-19 (neutralizing antibody, NAb) สายพันธุ์ต่าง ๆ ในอาสาสมัครบุคลากรทางการแพทย์อายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งมีสุขภาพแข็งแรง จำนวน 24 ท่าน ที่ได้รับวัคซีนสูตร 3 เข็ม ซึ่งได้แก่ วัคซีนมาตรฐาน 2 เข็มของซิโนแวค และได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยแอสตรา เซเนกา โดยเปรียบเทียบภูมิต้านทานต่อเชื้อโควิด- 19 สายพันธุ์ต่างๆ ก่อน
และหลังได้รับการกระตุ้นด้วยวัคซีนแอสตรา เซเนกา โดยข้อแตกต่างของงานวิจัยชิ้นนี้จากงานวิจัยอื่น คือเป็นการศึกษาเฉพาะประชากรกลุ่มเสี่ยงได้แก่ผู้สูงอายุ และเป็นการทดสอบ Neutralizing antibody (NAb) ไม่ใช่การทดสอบแอนติบอดีต่อโปรตีนหนามหรือต่อ RBD ที่ถูกรายงานมาก่อนหน้านี้ NAb เป็นแอนติบอดีที่มีผลยับยั้งเชื้อโควิด-19 ไม่ให้เข้าเซลล์โดยตรง ทำให้ไวรัสไม่สามารถก่อโรคในคนได้ นอกจากนี้ยังเป็นการทดสอบผลต่อเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์ต่างๆรวมทั้งสายพันธุ์เดลตา ซึ่งกำลังระบาดในประเทศไทยอีกด้วย
ผลการวิจัย พบว่าการฉีดวัคซีนแอสตรา เซเนกา กระตุ้นภูมิในประชากรสูงอายุที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค สูตรมาตรฐาน 2 เข็มมาก่อนหน้านี้ มีระดับ neutralizing antibody ที่ "เพียงพอ" ในการยับยั้งการเข้าสู่เซลล์มนุษย์ ของเชื้อโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิม, สายพันธุ์เดลตา, สายพันธุ์แอลฟา, และสายพันธุ์เบตา งานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่าการฉีดวัคซีนซิโนแวค สูตรมาตรฐาน 2 เข็ม สร้างระดับภูมิคุ้มกัน "ไม่เพียงพอ" ในการยับยั้งการเข้าสู่เซลล์มนุษย์ของเชื้อโควิด-19 ที่กลายพันธุ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์เดลตา ในประชากรกลุ่มเสี่ยงคือ ผู้สูงอายุ ดังนั้นประชากรสูงอายุที่ได้รับวัคซีนซีในแวค สูตรมาตรฐาน 2 เข็ม ควรได้รับการกระตุ้นภูมิด้วยวัคซีนเข็มที่ 3 ชนิดอื่น (ที่ไม่ใช่วัคซีนเชื้อตาย) โดยเร่งด่วน เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของประชากรกลุ่มเสี่ยงนี้
เอกสารรายงานผลการศึกษา : https://anyflip.com/nwdor/glux/
ติดตามผ่านช่องทาง Youtube : https://youtu.be/DxIqbzAuEF8
ที่มา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- โผล่อีก "รถตู้ตำรวจ" พาเที่ยวตจว. อ้างศึกษาดูงาน ด้านชาวเน็ตคอมเมนต์เดือด
- "เลขเด็ด" งวด 1 ต.ค.มาอีก สาวโพสต์ หวยปฏิทิน หลังงวดก่อนให้เลขท้ายถูก 3 ตัวตรง
- "ตำรวจไซเบอร์" จ่อฟันอีก "ชายสวมเครื่องแบบ" หากเป็นตำรวจจริงโทษหนัก
- หลอน ไม่รู้ว่าเป็น "ต้นตะเคียน" ลากเข้าบ้านเจอดีเข้าให้
- หมอทัก "ก๊อตจิ ทัชชกร" เทยเที่ยวไทย เชื่อหมดใจ จนพับศัลยกรรม