เด่นโซเชียล

หายป่วย "โควิด" แต่ "ไตเสื่อม" ลง แนะเช็กต่อเนื่อง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ" พบ ค่าไตของผู้เคยติด"โควิด-19" มีประสิทธิภาพลดลงกว่า 50% แนะเช็กสภาพต่อเนื่อง ก่อนอันตราย

พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย โพสต์เฟซบุ๊ค Anutra Chittinandana แนะนำผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายป่วยแล้ว ควรติดตามการทำงานของไตอย่างต่อเนื่อง โดยยกผลวิจัยจากต่างประเทศ ระบุว่า มีรายงานก่อนการตีพิมพ์ (ahead of print) ข้อมูลที่น่าสนใจเรื่องผลกระทบต่อไตในผู้ป่วยโควิด-19 ระยะยาว (Kidney Outcomes in Long COVID) ลงใน Journal of the American Society of Nephrology เป็นการศึกษาเปรียบเทียบทหารผ่านศึกอเมริกันที่รอดชีวิตจากโควิด-19 จำนวน 89,216 ราย เปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่เป็นโควิด-19 จำนวน 1,637,467 ราย

 

หายป่วย "โควิด" แต่ "ไตเสื่อม" ลง แนะเช็กต่อเนื่อง

ติดตามไป 6 เดือน พบว่า การเกิดไตบาดเจ็บเฉียบพลัน (Acute Kidney Injury, AKI), การลดลงของอัตราการกรองของไต (eGFR decline), โรคไตระยะสุดท้าย (End Stage Kidney Disease, ESKD) และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์สำคัญต่อไต (Major Adverse Kidney Events, MAKE) ซึ่งหมายถึง การลดลงของอัตราการกรองของไตมากกว่า 50%  หรือ ESKD หรือเสียชีวิต เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่หายป่วยจากโควิด 19 โดยเฉพาะผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลและนอน ICU และเพิ่มขึ้นมากในผู้ป่วยที่มีปัญหา AKI ขณะที่ป่วยเป็นโควิด 19 อัตราการกรองของไตที่ลดลงในช่วง 30 วัน ในผู้ป่วยโควิด 19 ที่ไม่ได้นอน รพ. -3.26 (-3.58, -2.94), นอน รพ. -5.20 (-6.24, -4.16)  และนอนใน ICU -7.69 (-8.27, -7.12) mL/min/1.73sq.m. เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโควิด 19

หายป่วย "โควิด" แต่ "ไตเสื่อม" ลง แนะเช็กต่อเนื่อง

logoline