เด่นโซเชียล

จับตา 12 จุดเสี่ยง "น้ำท่วม" กทม. เฝ้าระวังสูงสุด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กทม. เปิดจุดเสี่ยงน้ำท่วม 12 จุด "น้ำท่วม" ทั่วกรุง พร้อมเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเตรียมรับมือฝนตกหนักถึง3 ก.ย. 64 ตั้งเป้าลดจุดเสี่ยงเหลือ 8 จุด ในปี 65

จากกรณีฝนตกหนักทั่วประเทศตั้งแต่ปลายเดือน ส.ค. 64 ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังหลายพื้นที่ โดยกรุงเทพมหานครเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าวเช่นกัน ดังนั้นจึงได้มีการเฝ้าระวังระวังฝนตกหนักอย่างใกล้ชิดใน ระหว่างวันที่  30 ส.ค.-3 ก.ย. 64 ซึ่งอาจจะส่งผลให้หลายพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังรอการระบาย เนื่องจากมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ลุ่มต่ำ

ล่าสุด  พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชกราชกรุงเทพมหานคร เปิดเผย ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "ผู้ว่าฯ อัศวิน"  ว่า กรุงเทพมหานคร (กทม.) ใช้หลักวิศวกรรม เข้ามาแก้ไขจุดเสี่ยงน้ำท่วมมาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถลดจุดเสี่ยงน้ำท่วมได้มากถึงเกือบครึ่งหนึ่ง โดยล่าสุดในปี 2564  ส่งผลให้พื้นที่ กทม. มีจุดเสี่ยงน้ำท่วม ลดลงเหลือ 12 จุด ส่วนจุดเฝ้าระวังน้ำท่วมเหลือ 51 จุด

 

สำหรับรายชื่อ 12 จุดเสี่ยงน้ำท่วมมีดังนี้
 
1.ถนนรัชดาภิเษก บริเวณหน้าธนาคารกรุงเทพ
2.ถนนประชาราษฎร์สาย 2 บริเวณแยกเตาปูน
3.ถนนแจ้งวัฒนะ ช่วงจากคลองประปา ถึงคลองเปรมประชากร
4.ถนนราชวิถี บริเวณหน้าราชภัฏสวนดุสิตและเชิงสะพานกรุงธนบุรี
5.ถนนพญาไท บริเวณหน้ากรมปศุสัตว์ 
6.ถนนศรีอยุธยา บริเวณหน้า สน.พญาไท
7.ถนนจันทน์ ช่วงจากซอยบำเพ็ญกุศล ถึงที่ทำการไปรษณีย์ยานนาวา
8.ถนนสวนพลู ช่วงจากถนนสาทรใต้ ถึงถนนนางลิ้นจี่ 
9.ถนนสาธุประดิษฐ์ บริเวณแยกตัดถนนจันทน์
10.ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล ช่วงจากถนนพระรามที่ 2 ถึงคลองสะแกงาม
11.ถนนเพชรเกษม ช่วงจากคลองทวัฒนา ถึงคลองราชมนตรี 
12.ถนนหมู่บ้านเศรษฐกิจ ช่วงจากถนนเพชรเกษม ถึงวงเวียนกาญจนาภิเษก

 

อย่างไรก็ตามภายในปีนี้ กทม. มีโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเพิ่มขึ้นอีกหลายโครงการ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้มากกว่าเดิม อย่างไรก็ตามคาดว่าในปี 2565 จุดเสี่ยงน้ำท่วมใน กทม. จะลดลงเหลือเพียง 8 จุด และเหลือจุดเฝ้าระวังน้ำท่วมก็ลดลงไปจนเหลือ 36 จุดเท่านั้น 

 

ส่วนในระหว่างหน้าฝนนี้  กทม. ก็ได้เฝ้าระวังติดตามพยากรณ์ฝนจากเรดาร์ เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำ และเจ้าหน้าที่ ให้พร้อมระบายน้ำออกได้ทัน ไม่ทำให้น้ำท่วมขังเวลานาน แต่หากมีฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน จะมีเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังในจุดเสี่ยงน้ำท่วม และหน่วยแก้ปัญหาเร่งด่วนฉุกเฉิน (หน่วย Best) เข้าแก้ไขปัญหาเร่งด่วนทันที 

 

 

 

ที่มา เพจเฟซบุ๊ก: ผู้ว่าฯ อัศวิน  

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ