เด่นโซเชียล

ดีเดย์ 1 ก.ย. 64 "สรรพากร" รีดภาษี "E-service" คาดกระทบผู้บริโภค

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"สรรพากร" ลุยจัดเก็บภาษี ผู้ให้บริการ "E-service" วันที่ 1 กย. 64 หลังพยายามบังคับใช้อยู่หลายปี คาดโกยเงินกว่า 5 พันล้านบาท

 


วันที่ 1 ก.ย. 64 นี้ นับเป็นวันแรกที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ของกรมสรรพากร ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ. 2564 หรือ พ.ร.บ. e-Service เริ่มมีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย

 

 หลังจากมีความพยายามที่จะบังคับใช้มาหลายยุคหลายสมัย หลายครั้งล้มเหลวเพราะองค์กรต่างชาติ และผู้แทนการค้าต่างประเทศ เดินสายล็อบบี้รัฐบาล ไม่ให้มีการจัดเก็บ ในขณะที่รัฐมนตรีบางคนไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการจัดเก็บ เพราะเกรงว่าต่างชาติจะไม่มาลงทุนในประเทศไทย



สำหรับภาษี e-Service จะจัดเก็บภาษีจากผู้ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ ซึ่งมีรายได้จากการให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (7%) นำส่งให้กรมสรรพากร

 

 

 

 

 

โดยแบ่งออกเป็น 5 ประเภท

 

• ธุรกิจที่มีรายได้จากค่าโฆษณา เช่น Facebook, YouTube, Google 

 

• แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ที่เปิดให้ซื้อขายผ่านออนไลน์ เช่น Amazon, Ebay 

 

• ธุรกิจตัวกลางที่เป็นเอเจนซี่ ซื้อ - ขาย ตั๋วเครื่องบินและจองโรงแรม เช่น Booking.com, Agoda, Airbnb เป็นต้น

 

• แพลตฟอร์มตัวกลางระหว่างคนซื้อ – คนขาย โดยให้บริการเรียกแท็กซี่ หรือฟู้ดดีลิเวอรี เช่น Grab

 

• ธุรกิจบริการออนไลน์ที่มีรายได้จากระบบสมาชิก โดยให้บริการดูหนัง ฟังเพลง เช่น Netflix, Spotify, Apple Play, Zoom เป็นต้น

ส่วนกรณีที่มีความกังวลว่าแพลตฟอร์มต่างประเทศฯที่ต้องเสียภาษี e-Service ในอัตรา 7% จะผลักภาระให้ผู้บริโภคคนไทยนั้น นายเอกนิติ กล่าวว่า คงต้องขึ้นอยู่กับสภาพการแข่งขัน เช่น แพลตฟอร์มที่ให้บริการดาวน์โหลดภาพยนต์ในบางประเทศ พบว่าแพลตฟอร์มไม่ได้ผลักภาระภาษีไปให้ผู้ใช้บริการ เนื่องจากไม่ได้มีผู้ให้บริการเพียงแพลตฟอร์มเดียว แต่มี 4-5 ราย หากบวกภาษีเข้าไปในค่าบริการ ผู้ใช้บริการก็จะเปลี่ยนไปใช้แพลตฟอร์มของเจ้าอื่น แต่ในกรณีที่การให้บริการบางประเภทที่มีแพลตฟอร์มที่ให้บริการไม่กี่ราย แน่นอนว่าแพลตฟอร์มจะผลักภาระไปให้กับผู้ใช้บริการ

“สิ่งที่เราช่วยตอนนี้ คือ การสร้างความเป็นธรรมระหว่างแพลตฟอร์มของผู้ประกอบการไทยกับต่างชาติ ส่วนการผลักภาระไปให้ผู้บริโภคนั้น สรรพากรเราไม่มีอำนาจตรงนี้ แต่ถ้าเป็นเรื่องการเอาเปรียบผู้บริโภค เราจะมีสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เข้ามาดูแล หรือถ้าตั้งราคาสูงเกินจริง ก็เป็นเรื่องของกระทรวงพาณิชย์”

นายเอกนิติ กล่าว

 

อาจมีธุรกิจบางประเภทขึ้นราคาค่าบริการกับผู้บริโภค (จากการศึกษาของกรมสรรพากร พบใน 60 ประเทศที่ได้ดำเนินการ ภาษี e-Service ไปแล้วธุรกิจเพื่อความบันเทิง เช่น ดูหนังฟังเพลงจะไม่ค่อยขึ้นราคา)



 

 

 

 

 

 

ซึ่งการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากแพลตฟอร์มดิจิทัลจากต่างประเทศ เป็นเรื่องที่หน่วยงานจัดเก็บภาษีทั่วโลกให้ความสำคัญ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ประกอบการภายในประเทศที่ต้องเสียภาษี และไทยเป็น 1 ใน 60 กว่าประเทศทั่วโลกที่ได้เริ่มดำเนินการเก็บภาษีประเภทนี้ โดยกรมสรรพากรประเมินว่า จะมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาทต่อปี  

“เมื่อยุคสมัยการทำธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป การพัฒนาการจัดเก็บภาษีก็ต้องปรับให้ทันสมัย เพราะฉะนั้นภาษี e-Service จึงเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อสร้างความยุติธรรมให้กับผู้ประกอบการไทย ที่มีภาระภาษีและยังต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่หนักหน่วง จากแพลตฟอร์มต่างชาติที่มาแรงด้วยเทคโนโลยี ยิ่งเมื่อเกิดวิกฤติการแพร่ระบาดไวรัสโควิด การใช้เทคโนโลยีและการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ กรมสรรพากรจึงต้องเตรียมพร้อมรับมือกับธุรกิจยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปทุกวัน”

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากรกล่าว

 

 

ขอบคุณข้อมูลจากกรมสรรพากร

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ