เด่นโซเชียล

#สิระไม่มีตังค์จ่าย แฮชแท็กร้อน ไม่รับเช็ค 10 ล้าน "ลูกนัท" ชาวเน็ตรุมถล่ม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

#สิระไม่มีตังค์จ่าย แฮชแท็กร้อน ขึ้นเทรนด์อันดับ 1 Twitter หลังไม่รับเช็ค 10 ล้าน "ไฮโซลูกนัท" ชาวเน็ตแห่ถล่มหนัก

ภายหลังจากที่ (30 ส.ค.2564) นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ ได้เตรียมเงินสด 1 ล้านบาท ใส่พานรอ นายธนัตถ์ ธนากิจอำนวย หรือ "ไฮโซลูกนัท" เนื่องจากได้มีการนัดหมายกัน ที่จะมอบเงินสดให้ หากไฮโซลูกนัทตาบอดจริง แต่ "ไฮโซลูกนัท" ได้นำเช็คเงินสด 10 ล้านบาทมาวาง ทำให้นาย สิระ ถึงกับฉุนจัด ก่อนที่จะบอกว่า"ผมไม่ใช่เพื่อนเล่น ที่นี่ไม่ใช่สนามเด็กเล่น"  "เช็คใบละสิบบาท มาแลกกับเงินล้าน มันใช่หรอ ผมไปล่ะ ผมไม่มีเวลามาเล่นกับเด็กคนนี้"

 

#สิระไม่มีตังค์จ่าย แฮชแท็กร้อน ไม่รับเช็ค 10 ล้าน "ลูกนัท" ชาวเน็ตรุมถล่ม


หลังจากนั้น ทำให้ชาวเน็ต ต่างวิพากษ์วิจารณ์ พร้อมกับติด #สิระไม่มีตังค์จ่าย เพียงไม่กี่ชั่วโมง ทำให้แฮชแท็กซ์ ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับ 1 มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก บางคนก็บอกว่า ข้อกำหนดของแบงค์ชาติ ถ้าหากถอนเงินสดเกินวันละ 2 ล้านบาทต่อวัน ต้องทำเรื่องแจ้งล่วงหน้า ขณะเดียวกัน ธนาคารสาขา ก็ไม่มีนโยบายเก็บเงินสดมากขนาดนั้น 

 

#สิระไม่มีตังค์จ่าย แฮชแท็กร้อน ไม่รับเช็ค 10 ล้าน "ลูกนัท" ชาวเน็ตรุมถล่ม


 

#สิระไม่มีตังค์จ่าย แฮชแท็กร้อน ไม่รับเช็ค 10 ล้าน "ลูกนัท" ชาวเน็ตรุมถล่ม

 

#สิระไม่มีตังค์จ่าย แฮชแท็กร้อน ไม่รับเช็ค 10 ล้าน "ลูกนัท" ชาวเน็ตรุมถล่ม

 

อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดการเบิกถอนเงินสดของแต่ละธนาคาร ระบุว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ได้ออกประกาศกฎกระทรวง มีผลให้ธนาคารต้องตรวจสอบระบุตัวตนของลูกค้าผู้ทำธุรกรรม โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2554 เป็นต้นไปนั้น ลูกค้าที่มาทำธุรกรรมด้วยเงินสดกับธนาคาร ต้องแสดงหลักฐานการแสดงตนต่อธนาคารทุกครั้ง โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือใบอนุญาตขับขี่ หรือหลักฐานประจำตัวอื่น ๆ ที่ทางราชการออกให้ เมื่อลูกค้าเข้ามาทำรายการที่มีจำนวนเงินถึงเกณฑ์ต้องแสดงตน ดังนี้

 

  • ธุรกรรมเงินสดมูลค่าตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป
  • ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ มีมูลค่าตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป
  • ธุรกรรมเงินสดที่เป็นการโอนเงินหรือชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าตั้งแต่ 1 แสนบาทขึ้นไป
  • ธุรกรรมที่เป็นการโอนเงินหรือชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยหักจากบัญชี มีมูลค่าตั้งแต่ 7 แสนบาทขึ้นไป
  • ธุรกรรมการชำระเงินแทน (Bill Payment) ที่ใช้เงินสด มีมูลค่าตั้งแต่ 7 แสนบาทขึ้นไป

 

 

 

ที่มา : ทวิตเตอร์

         Facebook

         ธนาคารกรุงเทพ

 

 

 

logoline