เด่นโซเชียล

ขยายกรอบสินเชื่อ ช่วยสถานประกอบสู้"โควิด-19" ไม่เกิน 200 คนวงเกิน 15ล้านบาท

"ประกันสังคม" ขยายกรอบวงเงินโครงการสินเชื่อฯ ช่วยเหลือสถานประกอบการ ได้รับผลกระทบจาก"โควิด-19" ให้สามารถดำเนินกิจการและรักษาสภาพการจ้างงาน ลูกจ้างไม่เกิน 200 คน วงเงิน ไม่เกิน 15ล้าน

นางสาวลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน ได้มีมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจจากโควิด-19 โดยให้สำนักงานประกันสังคม ดำเนินการโครงการสินเชื่อ เพื่อส่งเสริมการจ้างงานระยะที่ 2 (พ.ศ. 2563 – 2564) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งจากการดำเนินโครงการฯ พบว่า มีสถานประกอบการขนาดใหญ่ที่มีลูกจ้างเป็นจำนวนมาก ยังต้องการเงินกู้มากกว่า 15 ล้านบาท เพื่อรักษาการจ้างงานของลูกจ้างในสถานประกอบการของตนเองไว้ คณะกรรมการประกันสังคมฯ จึงมีมติในการประชุมเมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 เห็นชอบให้ขยายวงเงินสำหรับ สถานประกอบการจากเดิมไม่เกิน 15 ล้านบาทต่อสถานประกอบการ

เป็นกำหนดตามจำนวนลูกจ้าง ในสถานประกอบการ หากจำนวนลูกจ้างไม่เกิน 200 คน วงเงินไม่เกิน 15 ล้านบาทต่อสถานประกอบการ และจำนวนลูกจ้างตั้งแต่ 201 คนขึ้นไป วงเงินไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อสถานประกอบการ โดยกำหนดวงเงินรวมที่ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อให้กับสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 201 คน ขึ้นไป ไม่เกินร้อยละ 20 ของวงเงินสินเชื่อที่ธนาคารได้รับจัดสรรปัจจุบันอยู่ระหว่างการแก้ไขบันทึกข้อตกลง(MOU) โดยคาดว่าจะเริ่มเพิ่มวงเงินได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

ขยายกรอบสินเชื่อ ช่วยสถานประกอบสู้\"โควิด-19\" ไม่เกิน 200 คนวงเกิน 15ล้านบาท ขยายกรอบสินเชื่อ ช่วยสถานประกอบสู้\"โควิด-19\" ไม่เกิน 200 คนวงเกิน 15ล้านบาท
         

โฆษกสำนักงานประกันสังคม กล่าวด้วยว่า การให้สินเชื่อตามโครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริม การจ้างงานฯ สำนักงานประกันสังคมมิได้กำหนดเฉพาะเจาะจงในประเภทกิจการใดกิจการหนึ่ง ยังคงให้ สถานประกอบการทุกประเภทกิจการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมและจ่ายเงินสมทบ เข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 เดือน

สามารถยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เข้าร่วมโครงการสินเชื่อฯ กับสำนักงานประกันสังคม ปัจจุบันมีจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) วงเงินรายละ 2,000 ล้านบาท ซึ่งการพิจารณาให้สินเชื่อ เป็นไปตามระเบียบ และดุลยพินิจของแต่ละธนาคาร ในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกินร้อยละ 2.75 ต่อปี กรณีมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และอัตราดอกเบี้ย สูงสุดไม่เกินร้อยละ 4.75 ต่อปี กรณีไม่หลักทรัพย์ค้ำประกัน

โฆษกสำนักงานประกันสังคม กล่าวอีกว่า ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการสินเชื่อ เพื่อการจ้างงาน สามารถขอหนังสือรับรองสถานะความเป็นสถานประกอบการในระบบ e-service ผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th/eservices/esv/index.jsp และเลือกหัวข้อ “ขอหนังสือรับรอง (โครงการสินเชื่อฯ)” หรือสแกน www.sso.go.th/eservices/esv/index.jspQR code ซึ่งผู้ประกอบการสามารถติดต่อยื่นคำขอสินเชื่อที่ธนาคารทั้ง 5 แห่งข้างต้น ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564

 

ข่าวยอดนิยม