เด่นโซเชียล

เดินหน้าซื้อ อภ.ยันลงนาม "ATK" 8.5 ล้านชุด  หลังอย.ยืนยันคุณภาพ

เดินหน้าซื้อ อภ.ยันลงนาม "ATK" 8.5 ล้านชุด  หลังอย.ยืนยันคุณภาพ

17 ส.ค. 2564

องค์การเภสัชกรรม เดินหน้าลงนามสัญญาซื้อ ATK 8.5 ล้านชุดต่อ หลังได้รับการยืนยันคุณภาพตามมาตรฐาน อย. และตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อแล้ว

นพ.วิฑูรย์  ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เปิดเผยว่า คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม หรือ อภ. ได้มีมติให้ดำเนินการในขั้นตอนการลงนามสัญญาและส่งมอบ Antigen test kit (ATK) จำนวน 8.5 ล้านชุด  ต่อไป โดยจากการตรวจสอบในรายละเอียดแล้วเห็นว่าผลิตภัณฑ์ของ บริษัทออสแลนด์ แคปปิตอล จำกัด โดยผู้แทนจำหน่ายคือบริษัทเวิลด์ เมดิคอล อัลไลแอนซ์  (ประเทศไทย)  ที่ชนะการเสนอราคา  มีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)กำหนดและได้มีหนังสือยืนยันคุณภาพอีกครั้งมาแล้ว ประกอบกับเห็นว่ากระบวนการจัดซื้อจัดจ้างขเป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส สอดคล้องกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ และเป็นไปตามข้อกำหนดของ สปสช.และโรงพยาบาลราชวิถี   

เดินหน้าซื้อ อภ.ยันลงนาม \"ATK\" 8.5 ล้านชุด  หลังอย.ยืนยันคุณภาพ

ด้านดร.ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฎกกุล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ  องค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า นอกจาก ATK จะได้การรับรองคุณภาพมาตรฐานจาก อย.แล้ว ในส่วนขององค์การเภสัชกรรม ยังมีกระบวนการประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์ผู้ผลิตอื่น โดยเมื่อมีการส่งมอบผลิตภัณฑ์ ATK ให้องค์การฯในแต่ละครั้งก่อนการจัดส่งให้หน่วยบริการนั้น องค์การฯจะมีคณะกรรมการตรวจรับสินค้าตามTOR ตรวจประเมินใบตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ (COA) หรือเอกสารรับรองผลิตภัณฑ์ว่ามีคุณภาพเป็นไปตาม TOR ของผู้สั่งซื้อ 
เดินหน้าซื้อ อภ.ยันลงนาม \"ATK\" 8.5 ล้านชุด  หลังอย.ยืนยันคุณภาพ


จากนั้นจะทำการสุ่มตัวอย่างไปตรวจทดสอบคุณภาพที่ห้องปฏิบัติการที่ได้รับมาตรฐาน  โดยจะตรวจวิเคราะห์ในหัวข้อ ความไวเชิงวินิจฉัย (Diagnostic sensitivity)  ความจำเพาะเชิงวินิจฉัย (Diagnostic specificity)     ความไม่จำเพาะต่อเชื้อ (Non-Specificity) ตามเกณฑ์การทดสอบที่อย.กำหนด  และเมื่อได้รับผลทดสอบมาแล้ว องค์การฯ จะประเมินผลเทียบกับ TOR อีกครั้งหนึ่ง

 

ขณะเดียวกันองค์การฯจะทำการสุ่มตัวอย่าง เพื่อเก็บเป็นตัวอย่างอ้างอิงในการตรวจวิเคราะห์หากพบปัญหาในการใช้งาน( Retained Sample) ควบคู่กันไปด้วย  ในกรณีมีข้อร้องเรียนจากผู้บริโภค ทางบริษัทผู้จำหน่ายจะต้องสืบหาสาเหตุ และแนวทางการป้องกัน แจ้งมายังองค์การฯ เพื่อประเมินและติดตามผลการแก้ไขป้องกันปัญหาดังกล่าวต่อไป ในกรณีที่มีปัญหาคุณภาพจนต้องมีการเรียกคืนผลิตภัณฑ์( Recall )บริษัทผู้จำหน่ายต้องเรียกเก็บผลิตภัณฑ์คืน พร้อมชดใช้และแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ให้กับผู้บริโภค และทำรายงานผลการเรียกเก็บผลิตภัณฑ์คืน ส่งให้องค์การฯ ทำการประเมินประสิทธิผลของการเรียกคืนทุกครั้ง