บันเทิง

รีวิว ‘4Kings2’ ไม่ใช่แค่นักเรียนตีกัน รากฐานสังคม เหตุแท้จริงความรุนแรง

รีวิว ‘4Kings2’ ไม่ใช่แค่นักเรียนตีกัน รากฐานสังคม เหตุแท้จริงความรุนแรง

01 ธ.ค. 2566

หากจะบอกว่า กินใจ จะเกินเหตุหรือไม่ รีวิว “4Kings2” มีสปอยล์ หากยังไม่ดูโปรดระวัง หนังไทยเล่ามากกว่าฉากบู๊ วิวาท บาดหมาง ขัดแย้ง นักเรียนตีกัน ระหว่างสถาบัน “4 KINGS อาชีวะ ยุค 90” เติบโตอีกขึ้น สะท้อนเหตุแท้จริงในความรุนแรง

ปรากฏในจอภาพยนตร์เป็นที่เรียบร้อย "4Kings2" ภาพยนตร์ไทยที่เคยกวาดความนิยม และคว้ารางวัลมากมาย รวมถึงคมชัดลึกอวอร์ดถึง 2 รางวัล ล่าสุด กลับมาสานต่อความเดือด สะท้อนจากเหตุการณ์จริงในสังคม สะท้อนปัญหาวัยรุ่นทะเลาะวิวาท และเรื่องราวของ อาชีวะ ยุค 90 

เชื่อว่า แฟนคอหนัง 4Kings ต่างรอชมในภาค 2 ซึ่งในภาคนี้ ได้เกริ่นตั้งแต่ในเรื่องย่อแล้วว่า เป็นการเล่าถึงเรื่องคาวาความบาดหมางระหว่าง กนก และ บุรณพนธ์ ล่าสุด ฉายแล้วทางโรงภาพยนตร์ ซึ่งก่อนหน้านี้กวาดเสียงปรบมือสนั่น หลังจากเปิดให้ชมในรอบสื่อ 

รีวิว ‘4Kings2’ ไม่ใช่แค่นักเรียนตีกัน รากฐานสังคม เหตุแท้จริงความรุนแรง

รีวิว 4Kings2 : ต้องบอกก่อนว่า ไม่เคยดูภาคแรกมาก่อน เคยดูเพียงทีเซอร์คำสารภาพของแต่ละตัวละครนำ แต่หลังจากที่ดูจบ เต็มไปด้วยความรู้สึกหลายอย่างที่แน่นอนคือความสงสัย และความใคร่รู้ในเหตุผลในความโด่งดังของ 4Kings ที่มากกว่าแค่หนังอาชีวะ 90 อย่างที่คนภายนอกมองผิวเผิน 

 

 

ภาพยนตร์ที่มากกว่า กลุ่มอาชีวะ ยุค 90 หรือ วัยรุ่นตีกัน : หนังในภาค 2 แน่นอนว่า ยังคงตั้งพื้นฐานอยู่บนเรื่องของนักเรียนระหว่าง 2 สถาบันที่เป็นคู่อริ แต่ในภาคนี้ จะมีโครงสร้างตัวละครที่มีรายละเอียดปีกย่อยยิ่งกว่า การเล่าเสริมจากตัวละครเดิมที่เคยปรากฏในภาคแรก โดยเฉพาะในด้านเจตนารมณ์แห่งพฤติกรรมที่พวกเขาได้ก่อไว้ ไม่ว่าจะเป็น ยาด เด็กบ้าน ที่ก่อความรุนแรงตั้งตัวเป็นศาลเตี้ยลงโทษเด็กช่างเพียงเพราะความหลังที่เคยเกิดขึ้นกับตาผู้เป็นที่รัก หรือการที่ รก บุรณพันธ์ มีพฤติกรรมขาดความรัก และต้องการมันโดยเติมเต็มจากเพื่อนอย่างชัดเจน หรือการที่ เอก บุรณพันธ์กล้าที่จะรักตัวเอง เพื่อคนข้างหลังที่สำคัญอย่างแม่ ที่สำคัญ คือ บ่าง กนก ที่เริ่มฉุกคิดหลังวิวาทกับพี่สาว บุ้ง ครั้งใหญ่ จวบจนเพื่อนสนิทในวัยเด็กไร้ลมหายใจ จากผลพวงความรุนแรง ที่ไม่ใช่แค่สาเหตุจากเด็กวัยรุ่นตีกัน ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากอะไร

รีวิว ‘4Kings2’ ไม่ใช่แค่นักเรียนตีกัน รากฐานสังคม เหตุแท้จริงความรุนแรง

 

รากฐานสังคมแท้จริงไม่ใช่แค่สถาบัน แต่คือ ครอบครัว :  แน่นอนว่า หนังไทยเรื่องนี้ แฝงด้วยประโยคจิกกัดสังคม สะท้อนความจริง อาทิ ในฉากของลุงตกปลาที่ระบายอารมณ์แบบคนบ้านๆหลังถูกถามความเห็นว่า เด็กช่างมีนิสัย เ…ี้ยหรือไม่ ก่อนที่ลุงจะพูดจากใจจริงว่าไม่ พร้อมระบายความอัดอั้นในมุมมองผู้ใหญ่ ที่เติบโตมาในระบบสังคมที่บกพร่องในการบริหาร สิ่งนี้กำลังทำให้หลายคนฉุกคิดว่า ระหว่างพวกเขาที่ออกมาทำเลวอย่างชัดเจน กับคนที่ทำเลวอย่างแยบยล ความเลวสิ่งไหนน้อยกว่ากันแน่  เพราะเห็นได้ชัดว่า พวกเขากำลังรับบาปเหล่านี้แทน 

รีวิว ‘4Kings2’ ไม่ใช่แค่นักเรียนตีกัน รากฐานสังคม เหตุแท้จริงความรุนแรง

 

อย่างที่เกริ่นไว้ ครอบครัวคือพื้นฐานสำคัญของทุกอย่าง และหนังเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจน ขออนุญาตยกตังอย่าง 4 ตัวละครกล่าวถึงก่อนหน้า ซึ่งเป็น 2 คู่เพื่อนสนิทที่ชูโรงในภาค 2 

 

 

"เอก บุรณพันธ์" ในภาค 2 น่าจะคือคนที่โชคดีที่สุด เขามักจะกล่าวเสมอว่า ครอบครัวไร้ซึ่งเงินทอง หากเกิดเรื่องคงยากลำบาก แต่ที่สำคัญในเหตุผลที่เขาไม่อยากก่อเรื่องคือแม่ แม่ของเขาที่คอยรับฟังเหตุผล และพร้อมอยู่เคียงข้าง ไม่ตัดสินความถูกผิด แต่พร้อมรับฟัง ทั้งหมดนี้กลายเป็นสิ่งที่ทำให้ เอก รู้สึกสำนึก และตระหนักในสิ่งที่ตัวเองต้องทำ - ตรงกันข้ามกับเพื่อนสนิท "รก บุรณพันธ์" มีความโดดเด่นตรงที่ว่า ฐานะทางบ้านดีกว่าเพื่อนคนอื่นรอบตัว จนหลายคนพากันเปรียบเทียบ และนิสัยของเขาทีสะท้อนออกมา คือความหยาบกระด้าง ไร้ซึ่งความปราณี ยกเว้นกับเพื่อน จนวันหนึ่งที่ถูกทำร้ายปางตาย แต่พ่อแม่กลับด่าทอ ตัดสินโดยไม่ฟังความแต่อย่างใด ยัดความถูกต้องที่พ่อแม่พอใจ จนตัวละครรก คล้ายดั่งลาวาที่กำลังรอวันระเบิด 

รีวิว ‘4Kings2’ ไม่ใช่แค่นักเรียนตีกัน รากฐานสังคม เหตุแท้จริงความรุนแรง

 

 

มาที่ "บ่าง กนก" โตมาโดยมีพี่สาวแท้ๆคอยเลี้ยงดู พร้อมความผูกใจเจ็บ ยึดเหนี่ยวพ่อที่ยิงตัวตายลาจากโลกจนลืมคนที่คอยอยู่เคียงข้าง หากใครได้ดูภาค 2 แล้ว คนเห็นการแสดงชั้นยอด จาก "ทราย เจริญปุระ" ที่รับบท "บุ้ง" พี่สาว บ่าง กนก ซึ่งซีนนี้ "แหลม สมพล" ได้ตอบรับการแสดง จนเกินคาด มันไม่ใช่แค่นำ้เสียงหรือคำพูดที่ฟาดฟังกันอย่างเดียว แต่มันยังเป็นความพี่น้อง ที่คนมีพี่น้องต้องเข้าใจ โดยเฉพาะบริบท ที่อุ้มชูกันมาเพียง 2 คน กระทั่ง ซีนเรียบง่าย อย่างการยื่นถุงโจ๊กให้ นั่นคือ สัญญาณตอบความกำลังสำนึกผิดที่ยิ่งกว่า และบ่าง กำลังเรียนรู้ในการเห็นความสำคัญของคนที่อยู่เคียงข้างจริงๆ

 

 

ประจวบเหมาะกับ "ยาท เด็กบ้าน" ซึ่งเป็นอดีตเพื่อนรัก บ่างในวัยเด็ก ซึ่งมีฉากที่แสดงความจงเกลียดจงชัง แต่ต่อให้ทั้งคู่ร้ายต่อหน้า เบื้องลึกต่างยังคงปกป้องกันและกันเสมอ ยาท ต้องโตมาในครอบครัวที่มีตาเพียงคนเดียว แต่ตากลับถูกทำร้ายจนพิการโดยเด็กช่าง และเพื่อนสนิทอย่าง บ่าง กลับ มาเป็นสิ่งนี้ที่เขาเกลียดมาโดยตลอด ซึ่งต่างคนก็ไม่สามารถตอบเหตุผลในการกระทำของตัวเองได้ ว่า ทำไมต้องทำเช่นนี้ แต่ท้ายที่สุดของการกระทำของเพื่อนรักคู่นี้ คือ การพร้อมให้อภัย แม้กระทำความติดสาหัส คำว่า ครอบครัว คงไม่ใช่แค่พ่อแม่ลูก แต่สิ่งที่เด็กวัยรุ่นต่างหวงแหน อย่างคำว่า เพื่อน ดูท่าว่าจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการขับเคลื่อนความสำนึกผิดของใครหลายคน อาทิ บ่าง - ยาด / รก - เอก

รีวิว ‘4Kings2’ ไม่ใช่แค่นักเรียนตีกัน รากฐานสังคม เหตุแท้จริงความรุนแรง

 


ความรุนแรงไม่ใช่ทางออก ทำอะไรย่อมได้เช่นนั้น : ที่หลายคนต่างเฝ้าสังเกตจากหนังเรื่องนี้ คงหนีไม่พ้น เรื่องการทะเลาะวิวาทระหว่างสถาบัน เด็กวัยรุ่นตีกัน การใช้ความรุนแรง ซึ่งต่อให้สังคมตีแผ่ข่าว หรือ ตัวอย่างมากมายจากแวดล้อมรอบข้าง เด็กแต่ละคน ที่เติบโตมาในครอบครัวต่างกัน ย่อมมีกระบวนความคิด ที่นำมาซึ่งการปล่อยวางต่างกัน หาก รก กับ เอก สลับแม่ อนาคตของทั้งสองจะเปลี่ยนไปหรือไม่ นี่คงไม่ใช่คำตอบ ในการเปลี่ยนแปลงสังคม แต่นี่คือ หนังไทยที่กำลังแสดงตัวละคนให้สังคมได้ฉุกคิดว่า ควรจะแก้ปัญหาอย่างไรกับความรุนแรงในสิ่งที่ทุกคนมองว่า เป็นแค่เรื่องเด็กตีกัน แต่ที่จริงทุกคนก็ทราบอยู่แก่ใจว่า มันไม่ใช่แค่นี้ แต่ทุกคนกำลังโยนควาทผิดให้ชนกลุ่มหนึ่งที่กำลังรู้สึกว่า สบายใจแก่การขว้างความไร้ซึ่งยางอายของตนเองหรือเปล่า  

 

 


ตราตรึงนี่คือหนังไทยคุณภาพ : แม้การเล่าเรื่องจะต่างจากภาคแรก แต่สิ่งที่พยายามบอกทุกคนยังแจ๋มขัด ในภาคนี้แฝงอารมณ์ต่างๆ แบบจัดเต็ม ปล่อยหมัดให้ทุกคนต้องเสียน้ำตาหลายฉาก ตัวบทภาพยนตร์คงกล่าวมามากพอแล้ว ส่วนเรื่องการกำกับ ในภาคนี้ทำให้ลืมองค์ประกอบปลีกย่อยเรื่องนี้ไปโดยปริยาย โดยเฉพาะการคว้านักแสดงนำระดับตัวเป้ง คนที่ทุกคนอยากเห็นปรากฏในหนัง ซึ่งเรื่องนี้ นักแสดงเก่าทำได้ดีเช่นเคย อาทิ แหลม สมพล ที่เด่นชัดในภาคนี้ยิ่งขึ้น แม้มาแบบเรียบๆนิ่งๆ แต่ซีนอารมณ์กินขาด ไม่แพ้ บิ๊ก ดิเจอราร์ด ที่สะท้อนความจิตในเวลาที่เป็น และความมีสองบุคลิค ตัดสลับเวลาอยู่กับครอบครัวที่แลดูแสจะอบอุ่น และน่าสงสารจับใจ แต่ในความเห็นส่วนตัว แอบชอบการแสดงของ เฟย ภัทร พูดนิ่งๆเน้นๆ ธรรมชาติ จนรู้สึกไม่ใช้การแสดง เป็นคนที่ทำให้สัมผัสได้มากที่สุด ถึงการเป็นเด็กช่าง ที่แน่นอนกว่าคือความเท่ ซึ่งถ้าอนาคตเป็นไปได้ก็อยากเห็นที่มาของความคิดตัวละครนี้ว่า เกิดอะไรขึ้น? ทำไมตัวเขาถึงคิดอ่านเช่นนี้

รีวิว ‘4Kings2’ ไม่ใช่แค่นักเรียนตีกัน รากฐานสังคม เหตุแท้จริงความรุนแรง

 

 

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการรีวิว ที่มีพิ้นฐานอยู่กับความเห็นส่วนบุคคุล และเจตนารมณ์ให้คนได้เห็นแง่มุมของหนังไทย ที่กำลังสะท้อนมากกว่าการเสพความบันเทิง แต่กำลังเติบโตไปในขั้นที่ช่วยขับเคลื่อนความเป็นอยู่ของสังคม