บันเทิง

ใจหาย 'ก๊อต จิรายุ' ผู้รับบท 'พระเจ้าเสือ' ใน 'พรหมลิขิต' ประกาศอำลาคนดู

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แฟนละครใจหาย "ก๊อต จิรายุ" ผู้ที่รับบท "พระเจ้าเสือ" หรือ "กรมพระราชวังบวรฯ" ในละคร "พรหมลิขิต" ประกาศอำลาคนดู

แฟนละครใจหาย เมื่อนักแสดงหนุ่ม "ก๊อต จิรายุ" ผู้ที่รับบท "พระเจ้าเสือ" หรือ "กรมพระราชวังบวรฯ" ในละครแห่งชาติ "พรหมลิขิต" ประกาศอำลาผู้ชม ผ่านอินสตาแกรมส่วนตัว "ข้าพเจ้ารับบท "กรมพระราชวังบวร" กราบลาท่านผู้ชมไปแต่เพียงเท่านี้ขอรับ ขอให้สนุกกับละคร พรหมลิขิตต่อไปเถิด (มาน้อยแต่มานะ)" ท่ามกลางแฟนละครที่เข้ามาคอมเมนต์แสดงความใจหาย และชื่นชมฝีมือการแสดงของ ก๊อต จิรายุ มากมาย 

"พรหมลิขิต"

สำหรับ "พระเจ้าเสือ" หรือ "หลวงสรศักดิ์" หรือ "สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี" ที่รับบทโดย "ก็อต จิรายุ" นั้น มีพระนามเดิมว่า "เดื่อ" ภายหลังขึ้นครองราชย์ มีพระนามว่า "สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8" เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 29 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่สองแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา

 

ครองราชย์ 5 ปี (พ.ศ. 2246 –2251): ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเจ้าเสือได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการ และได้ตำแหน่งเป็น "หลวงสรศักดิ์" และได้ช่วยพระเพทราชา ขึ้นมายึดอำนาจจากสมเด็จพระนารายณ์ และในการปฏิวัติ พ.ศ. 2231 ได้มีการสถาปนาราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง รวมถึงพระองค์ได้กำจัดผู้ที่มีสิทธิ์สืบราชสมบัติ 3 ราย คือ "เจ้าฟ้าอภัยทศ" และ "เจ้าฟ้าน้อย" ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าแผ่นดินในสมัยนั้น รวมทั้ง โอรสบุญธรรม คือ "พระปีย์" สมัยพระเพทราชาได้ราชสมบัติ 

"พรหมลิขิต"

พระเจ้าเสือ ได้รับการสถาปนาเป็น พระมหาอุปราช หรือ อุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) กระทั่งสมเด็จพระเพทราชาสวรรคต จึงได้ขึ้นครองราชสมบัติ และมีพระนามว่า "สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8"  โดยพระเจ้าเสือ มีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ เจ้าฟ้าเพชร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) และ เจ้าฟ้าพร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) ทั้งนี้ พระเจ้าเสือได้เสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมพรรษา 47 พรรษา

 

อุปนิสัย ดั่งเสือ : ชื่อของ "พระเจ้าเสือ" มาจากการที่เรียกขาน โดยเปรียบจากพระอุปนิสัยที่เด็ดขาด ชอบล่าสัตว์ มักมากในกาม ดุร้ายดั่งเสือ พระเจ้าเสือทรงมีพระปรีชาด้านมวยไทย มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจนว่า ทรงเป็นผู้คิดท่าแม่ไม้มวยไทย และได้มีการถ่ายทอดเป็นตำราให้ชาวไทยรุ่นหลังได้เรียนรู้ฝึกฝนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งทางกระทรวงวัฒนธรรม ได้กำหนดให้วันที่ขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าเสือ หรือ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ เป็น "วันมวยไทย"

"พรหมลิขิต"

คือ โอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จริงหรือ? : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มิทรงเชื่อว่า พระเจ้าเสือ เป็นพระราชโอรสลับในสมเด็จพระนารายณ์ เพราะได้ร่วมมือพระเพทราชายึดอำนาจ ซึ่งปัจจุบัน มีข้อสมมติฐาน เรื่องสมเด็จพระเจ้าเสือเป็นพระราชโอรสใคร จาก นพ. เอกชัย โควาวิสารัช นายแพทย์ และนักเขียน คือ 1. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช-พระราชบิดา, นางลาว พระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่-พระราชมารดา 2. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช-พระราชบิดา เจ้าจอมบุญ-พระราชมารดา 3. สมเด็จพระเพทราชา-พระราชบิดา ส่วนพระราชมารดา ไม่ปรากฏนาม

"พรหมลิขิต"

พระเจ้าเสือ ปรากฏในสื่อบันเทิง : อาทิ ละคร บุพเพสันนิวาส ทางช่อง 3 ปรากฏตัวละครชื่อ "พ่อเดื่อ" ที่ภายหลังจะสืบราชสมบัติเป็น "พระเจ้าเสือ" และเคยปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง "พันท้ายนรสิงห์" (2558) รับบทโดย "พันเอก วันชนะ สวัสดี"

"พรหมลิขิต"

"พรหมลิขิต"

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ