บันเทิง

ประวัติ 'พระเจ้าเสือ' เด็ดขาด ดุร้าย 'ก็อต จิรายุ' สวมบทอยากได้ ท้าวทองกีบม้า

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทำความรู้จัก "พระเจ้าเสือ" หรือ "หลวงสรศักดิ์" อีกหนึ่งตัวละครที่มีจริงในประวัติศาตร์จาก "ละครพรหมลิขิต" เด็ดขาดดุร้าย "ก็อต จิรายุ" สวมบทอยากได้ "ท้าวทองกีบม้า" เป็นสนม

กลายเป็นพีเวอร์ที่หลายคนต่างกล่าวขาน สำหรับชุดละครบุพเพสันนิวาส กลับมาในรูปแบบ "พรหมลิขิต" ละครที่รวมเหล่าบุคคลที่มีชีวิตจริงในประวัติศาสตร์มาไว้ในเรื่อง และอีกหนึ่งตัวละครที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องนี้ คือ "พระเจ้าเสือ" หรือ "หลวงสรศักดิ์" รับบทโดย "ก็อต จิรายุ" กลับมาสวมลุคแบดบอย สุดเผด็จการ ที่สำคัญคือน่าหมั่นไส้แบบสุดๆ ผู้ที่อยากได้ท้าวทองกีบม้ามาเป็นหนึ่งนางสนม
 

คือใคร : "พระเจ้าเสือ" หรือ "หลวงสรศักดิ์" หรือ "สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี" มีพระนามเดิมว่า "เดื่อ" ภายหลังขึ้นครองราชย์ มีพระนามว่า "สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8" เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 29 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่สองแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา

ประวัติ 'พระเจ้าเสือ' เด็ดขาด ดุร้าย 'ก็อต จิรายุ' สวมบทอยากได้ ท้าวทองกีบม้า

ครองราชย์ 5 ปี (พ.ศ. 2246 –2251): ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเจ้าเสือได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการ และได้ตำแหน่งเป็น "หลวงสรศักดิ์" และได้ช่วยพระเพทราชา ขึ้นมายึดอำนาจจากสมเด็จพระนารายณ์ และในการปฏิวัติ พ.ศ. 2231 ได้มีการสถาปนาราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง รวมถึงพระองค์ได้กำจัดผู้ที่มีสิทธิ์สืบราชสมบัติ 3 ราย คือ "เจ้าฟ้าอภัยทศ" และ "เจ้าฟ้าน้อย" ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าแผ่นดินในสมัยนั้น รวมทั้ง โอรสบุญธรรม คือ "พระปีย์" สมัยพระเพทราชาได้ราชสมบัติ พระเจ้าเสือ และได้รับการสถาปนาเป็น พระมหาอุปราช หรือ อุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) กระทั่งสมเด็จพระเพทราชาสวรรคต จึงได้ขึ้นครองราชสมบัติ และมีพระนามว่า "สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8"  โดยพระเจ้าเสือ มีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ เจ้าฟ้าเพชร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) และ เจ้าฟ้าพร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) ทั้งนี้ พระเจ้าเสือได้เสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมพรรษา 47 พรรษา

 


อุปนิสัย ดั่งเสือ : ชื่อของ "พระเจ้าเสือ" มาจากการที่เรียกขาน โดยเปรียบจากพระอุปนิสัยที่เด็ดขาด ชอบล่าสัตว์ มักมากในกาม ดุร้ายดั่งเสือ พระเจ้าเสือทรงมีพระปรีชาด้านมวยไทย มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจนว่า ทรงเป็นผู้คิดท่าแม่ไม้มวยไทย และได้มีการถ่ายทอดเป็นตำราให้ชาวไทยรุ่นหลังได้เรียนรู้ฝึกฝนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งทางกระทรวงวัฒนธรรม ได้กำหนดให้วันที่ขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าเสือ หรือ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ เป็น "วันมวยไทย"

 

 

คือ โอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จริงหรือ? : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มิทรงเชื่อว่า พระเจ้าเสือ เป็นพระราชโอรสลับในสมเด็จพระนารายณ์ เพราะได้ร่วมมือพระเพทราชายึดอำนาจ ซึ่งปัจจุบัน มีข้อสมมติฐาน เรื่องสมเด็จพระเจ้าเสือเป็นพระราชโอรสใคร จาก นพ. เอกชัย โควาวิสารัช นายแพทย์ และนักเขียน คือ 1. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช-พระราชบิดา, นางลาว พระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่-พระราชมารดา 2. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช-พระราชบิดา เจ้าจอมบุญ-พระราชมารดา 3. สมเด็จพระเพทราชา-พระราชบิดา ส่วนพระราชมารดา ไม่ปรากฏนาม

 


พระเจ้าเสือ ปรากฏในสื่อบันเทิง : อาทิ ละคร บุพเพสันนิวาส ทางช่อง 3 ปรากฏตัวละครชื่อ "พ่อเดื่อ" ที่ภายหลังจะสืบราชสมบัติเป็น "พระเจ้าเสือ" และเคยปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง "พันท้ายนรสิงห์" (2558) รับบทโดย "พันเอก วันชนะ สวัสดี"

ประวัติ 'พระเจ้าเสือ' เด็ดขาด ดุร้าย 'ก็อต จิรายุ' สวมบทอยากได้ ท้าวทองกีบม้า
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ