บันเทิง

22 ปีจากไปตลอดกาล 'จรัล มโนเพ็ชร' ศิลปินนักบุกเบิก 'โฟล์คซองคำเมือง'

22 ปีจากไปตลอดกาล 'จรัล มโนเพ็ชร' ศิลปินนักบุกเบิก 'โฟล์คซองคำเมือง'

04 ก.ย. 2566

ผ่านไปกว่า 22 ปีแล้ว "จรัล มโนเพ็ชร" ศิลปิน และนักแต่งเพลงผู้บุกเบิก แนวเพลงโฟล์คซองคำเมือง คมชัดลึกบันเทิง ร่วมรำลึกถึง และย้อนผลงานอันทรงคุณค่า

ผ่านมากว่า 22 ปีแล้ว กับการจากตลอดกาลของ "จรัล มโนเพ็ชร" ศิลปินชาวเชียงใหม่ ผู้บุกเบิกแนวดนตรีโฟล์คซองคำเมือง จนได้รับความนิยมในวงกว้าง และได้รับการยกย่องเป็นอีกหนึ่งคนมากฝีมือ เพราะยังเป็นนักแต่งเพลงที่ถ่ายทอดวิถีชีวิตของคนเมืองในท้องถิ่นล้านนาออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม แม้จากไปแล้ว แต่ผลงานเพลง และความสามารถยังคงจากรึกอยู่เสมอมา 

 

 

ประวัติ : "จรัล มโนเพ็ชร" เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2498 พ่อเป็นข้าราชการอยู่ที่แขวงการทางจังหวัดเชียงใหม่ "สิงห์แก้ว มโนเพ็ชร" ส่วนแม่ชื่อ "เจ้าต่อมคำ" (ณ เชียงใหม่) มโนเพ็ชร สืบเชื้อสายมาจากราชตระกูล ณ เชียงใหม่

22 ปีจากไปตลอดกาล \'จรัล มโนเพ็ชร\' ศิลปินนักบุกเบิก \'โฟล์คซองคำเมือง\'

 

 

 

จุดเริ่มต้นในการเป็นศิลปินของ จรัล มโนเพ็ชร : เริ่มมาจากการรับจ้างร้องเพลง และเล่นกีตาร์ตามร้านอาหาร คลับตามบาร์ในเมืองเชียงใหม่ แนวดนตรีที่ชื่นชอบ คือ ดนตรีโฟล์ค คันทรี และบลูส์ จนต่อมา จรัลได้รับแรงบันดาลใจ และเริ่มต้นบุกเบิกแนวดนตรี "โฟล์คซองคำเมือง" ซึ่งในปี 2520 เป็นช่วงเวลาที่เพลงลูกทุ่งคำเมืองเสื่อมความนิยมลงกว่ายุคก่อนหน้า และโฟล์คซองกำลังได้รับความนิยม จึงได้มีการนำเอาทั้งสองแนวเพลงนี้มาผสมกัน คือ รำภาษาคำเมืองมาขับร้องโดยใช้กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีประกอบ เป็นที่มาของ โฟล์คซองคำเมือง

 

 

ต่อมา จรัล มโนเพ็ชร ได้รับการสนับสนุนจาก มานิด อัชวงศ์ ศิลปินที่ชักชวนให้มาออกเทปด้วยกัน และได้ออกเทปแรกชื่อว่า "โฟล์คซองคำเมือง อมตะ" ที่มีเพลงดังอย่าง อุ๊ยคำ , สาวมอเตอร์ไซค์ . พี่สาวครับ และ น้อยใจยา จนเริ่มเป้นที่รู้จักมากขึ้น นอกจากกีตาร์ที่มาร่วมสร้างสรรค์เพลงแล้ว จรัลยังใช้แมนโดลินมาแทนซึง และใช้ขลุ่ยฝรั่งแทนขลุ่ยไทย พร้อมใช้เครื่องดนตรีตะวันตกอื่นๆ มาบรรเลงผสมผสานกัน และหยิบเอาเพลงเก่าแก่ของล้านนามารังสรรค์แนวเพลงโฟล์คซองคำเมือง

22 ปีจากไปตลอดกาล \'จรัล มโนเพ็ชร\' ศิลปินนักบุกเบิก \'โฟล์คซองคำเมือง\'

 

 

จรัลยังมีโอกาสได้แสดงภาพยนตร์ และละคร แต่ยังคงทุ่มเทให้กับการเป็นนักร้องมาโดยตลอด และมุ่งส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา ต่อมาในปี 2544 ซึ่งเป็นปีที่ 25 ในการสร้างสรรค์ผลงานโฟล์คซองคำเมือง จึงอยากจัดการแสดงโดยตั้งใจใช้ชื่อว่า "25 ปี โฟล์คซองคำเมือง จรัล มโนเพ็ชร" ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในวันที่ 25 ตุลาคม 2554 

 

 

เหตุไม่คาดฝัน และที่มาของการจากไปตลอดกาล : ในระหว่างการเตรียมงาน "25 ปี โฟล์คซองคำเมือง จรัล มโนเพ็ชร" เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2544 จรัลได้เสียชีวิตอย่างกะทันหัน ด้วยสาเหตุภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ณ บ้านดวงดอกไม้ จังหวัดลำพูน ซึ่งภรรยาของจรัลได้พรรณนาสภาพการเสียชีวิตของตรัลไว้ว่า "ร่างของจรัลอยู่ในอาการของคนหลับสนิท ศีรษะทับอยู่บนแขนซ้ายซึ่งรองรับอยู่ แขนขวาของเขาแนบไปกับลำตัว ร่างทั้งร่างทอดกายนิ่งสนิท ดูคล้ายรูปปั้นขนาดใหญ่"

22 ปีจากไปตลอดกาล \'จรัล มโนเพ็ชร\' ศิลปินนักบุกเบิก \'โฟล์คซองคำเมือง\'