บันเทิง

ย้อนประวัติ 'ครูชลธี ธารทอง' เส้นทางในสายดนตรีของครู ไม่ใช่เรื่องง่าย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ย้อนประวัติ 'ครูชลธี ธารทอง' ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง ครูผู้ประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนองเพลงลูกทุ่ง ที่มีผลงานยอดนิยมมากที่สุดท่านหนึ่งของวงการเพลงลูกทุ่งไทย

หลังจาก 'ครูปุ้ม ศศิวิมล  รัตนอำพันธุ์ ' ภรรยา 'ครูชลธี ธารทอง' ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง ได้โพสต์ข้อความแจ้งเมื่อช่วง 17.57 น.วันนี้ 21 กรกฎาคม 2566 ว่า ครูชลธี นั้น ได้เสียชีวิตแล้ว หลังจากนอนพักรักษาตัวด้วยอาการป่วยอยู่ที่โรงพยาบาลมานาน

 

คมชัดลึกก็เลยขอพาไปย้อนประวัติ 'ครูชลธี ธารทอง' ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง กันอีกสักครั้ง เพราะกว่าจะมีวันนี้ เส้นทางในสายดนตรีของครู ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยจริงๆ

 

โดย ครูชลธี เป็นครูผู้ประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนองเพลงลูกทุ่ง ที่มีผลงานยอดนิยมมากที่สุดท่านหนึ่งของวงการเพลงลูกทุ่งไทย 

 

มีนามจริงว่า นายสมนึก ทองมา หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนามของ “ชลธี ธารทอง” ผู้สร้างดาวดังมาประดับวงการลูกทุ่ง ครูเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (นักแต่งเพลงลูกทุ่ง) ประจำ ๒๕๔๒ 

 

ย้อนประวัติ \'ครูชลธี ธารทอง\' เส้นทางในสายดนตรีของครู ไม่ใช่เรื่องง่าย

 

ย้อนประวัติ \'ครูชลธี ธารทอง\' เส้นทางในสายดนตรีของครู ไม่ใช่เรื่องง่าย

 

แต่ก่อนที่ครูจะโด่งดังมีลูกศิษย์ลูกหาและแฟนเพลงมากมายขนาดนี้ ครูก็ผ่านช่วงชีวิตที่จะต้องพิสูจน์ตัวเองมาอย่างมาก โดยใช้ความถนัดในการแต่งเพลง ใช้ถ้อยคำที่จริงใจตรงไปตรงมาเข้าใจง่าย แฝงด้วยลีลาการประพันธ์ที่แหลมคม ทำให้ผู้ฟังคล้อยตามอารมณ์เพลงจนเห็นเป็นภาพได้อย่างชัดเจน 

 

“ครูชลธี ธารทอง” ได้ฝากผลงานเพลงล้วนแต่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนักฟังเพลง สร้างนักร้องลูกทุ่งให้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมากอาทิ สายัณห์ สัญญา, ยอดรัก สลักใจ, ก๊อต จักรพันธ์, ศรเพชร ศรสุพรรณ, สดใส รุ่งโพธิ์ทอง, เสรีย์ รุ่งสว่าง, เอกพจน์ วงศ์นาค, แอ๊ด คาราบาว, มนต์สิทธิ์ คำสร้อย, ดำรง วงศ์ทอง เป็นต้น

 

 “ครูชลธี ธารทอง” เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2480 พื้นเพเป็นชาวจังหวัดชลบุรี จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนประชาสงเคราะห์ อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ก่อนที่ต่อมาจะย้ายไปอยู่กับญาติ ณ จังหวัดราชบุรี  

 

โดยชีวิตในวัยเด็กของครูชลนั้นลำบากมาก พ่อมีอาชีพรับจ้างทั่วไป ส่วนแม่นั้นก็ตกเลือดตายตั้งแต่ครูชลอายุได้เพียง6 เดือน เมื่อเติบโตขึ้นครูชลก็รับจ้างทำทุกอย่าง แต่ด้วยที่ชอบในการร้องเพลงลูกทุ่งทำให้ได้เป็นนักร้องเพลงเชียร์รำวงของวงดาวทอง 

 

จากนั้นก็ได้ไปเป็นนักร้องในวงดนตรีของ สุรพล สมบัติเจริญ ราชาเพลงลูกทุ่งไทยในสมัยนั้น ทว่าก็มีเหตุให้ครูชลต้องถูกไล่ออกจากวงหลังจากเข้าร่วมได้เพียง 3 วัน เนื่องจากครูชลไม่ได้พักในกรุงเทพฯ ทำให้ต้องเดินทางไปกลับราชบุรีเป็นเหตุให้เข้าวงมาทำงานสายและถูกไล่ออกในที่สุด

 

หลังถูกไล่ออกจากวงของสุรพล ครูชลก็เดินสายทำอาชีพหลากหลาย ไม่ว่าจะอยู่กับวงลิเก และเป็นนักพากย์หนังกระทั่งออกบวชและสึกออกมาเป็นหางเครื่องให้กับวงดนตรีของ เทียนชัย สมญาประเสริฐ สามีของนักร้องดัง ผ่องศรี วรนุช 

แต่โชคชะตาก็ทำร้ายครูชลอีกครั้ง ทำให้ครูชลต้องลาออกจากวง เพราะถูกกล่าวหาว่าขโมยของคนในวง 

 

ต่อมา ครูชลก็เข้าร่วมประกวดร้องเพลงที่จัดขึ้นโดยวงรวมดาวกระจายของ สำเนียง ม่วงทอง ซึ่งในการประกวดครั้งนั้นผลปรากฏว่า ครูชลได้รับรางวัลชนะเลิศจากการร้องเพลงที่แต่งขึ้นเอง และทำให้ได้เข้าไปอยู่กับคณะวงดนตรีรวมดาวกระจาย พร้อมกันนี้สำเนียงก็ได้ตั้งชื่อในวงการให้ว่า ชลธี ธารทอง เนื่องจากเป็นคนจังหวัดชลบุรี

 

แต่การอยู่ในคณะดนตรีของ สำเนียง ม่วงทอง ได้อัดแผ่นเสียง 4 เพลง แต่กลับไม่มีเพลงไหนโด่งดัง ซึ่งในช่วงที่มีเวลาว่าง ครูชลก็จะศึกษาเรียนรู้วิชาแต่งเพลงจาก สำเนียง ทองม่วง อยู่เป็นประจำ ทำให้มีความชำนาญการแต่งเพลงมากขึ้น แต่จู่ๆ เพลง “พอหรือยัง” ของครูชลก็โด่งดังขึ้นมา เนื่องจาก ศรคีรี ศรีประจวบ นำไปร้อง แต่กลับไม่มีการอ้างอิงถึงผู้แต่งอย่างครูชล ทำให้ครูชลต้องออกมาทักท้วง แต่สุดท้าย เรื่องราวก็จบลงด้วยความเข้าใจของทั้งสองฝ่าย ต่อมาไม่นานครูชลก็ถูกไล่ออกจากวงรวมดาวกระจายอีก

 

ชะตาชีวิตหลังจากนี้ของครูชลดูเหมือนจะเริ่มดีขึ้น เพราะได้แต่งเพลงให้กับ ศรคีรี ศรีประจวบ แต่เพลงยังไม่ทันจะมีชื่อเสียง ศรคีรีก็ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตไปเสียก่อน 

 

หลังจากนั้นครูชลก็หันหลังให้วงการเพลงลูกทุ่ง แต่ก่อนจะเดินทางออกจากกรุงเทพฯ ก็ได้มีโอกาสมอบเพลงให้กับเด็กปั๊มคนหนึ่ง ซึ่งภายหลัง เด็กปั๊มคนนี้ก็คือนักร้องดัง สายัณห์ สัญญา นั่นเอง

 

ชื่อเสียงที่โด่งดังของสายัณห์เปิดโอกาสให้ครูชลได้กลับกรุงเทพฯ มาแต่งเพลงอีกครั้ง โดยมีลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงจากเพลง “ทหารอากาศขาดรัก” ก็คือ เสกศักดิ์ ภู่กันทอง นับแต่นั้นมาครูชลก็ตั้งใจแต่งเพลงทำผลงานและเฟ้นหานักร้องเสียงดีมาสร้างงานคุณภาพประดับวงการเพลงลูกทุ่งอยู่ตลอด กระทั่งได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า เทวดาเพลง 

 

สำหรับลูกศิษย์คนโปรดอีกคนของครูชล ที่จากวงการเพลงลูกทุ่งไปอย่างน่าเสียดายคือ สุริยัน ส่องแสง

 

สำหรับจุดเด่นของผลงานเพลงที่แแต่งโดยครูชลนั้น จะมีการเลือกสรรถ้อยคำให้ไพเราะแบบกวีนิพนธ์ เนื้อหาเพลงก็ส่งเสริมคุณค่าวิถีชีวิตคนไทย รวมถึงท่วงทำนองเพลงที่ไพเราะติดหูผู้ฟัง 

 

อาจกล่าวได้ว่า ครูชลเป็นศิลปินที่มีความสามารถในการประพันธ์เพลงผ่านการใช้ฉันทลักษณ์ได้หลากหลายรูปแบบทำให้ในปี พ.ศ. 2542 ครูชลก็ได้ถูกยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) ซึ่งนับเป็นเกียรติประวัติอย่างสูงยิ่งสำหรับชีวิตคนดนตรี

 

ย้อนประวัติ \'ครูชลธี ธารทอง\' เส้นทางในสายดนตรีของครู ไม่ใช่เรื่องง่าย

 

ย้อนประวัติ \'ครูชลธี ธารทอง\' เส้นทางในสายดนตรีของครู ไม่ใช่เรื่องง่าย

 

ย้อนประวัติ \'ครูชลธี ธารทอง\' เส้นทางในสายดนตรีของครู ไม่ใช่เรื่องง่าย

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ