บันเทิง

สุพรรณหงส์ทองคำ
ไปเดินทอดน่องที่พัทยา

สุพรรณหงส์ทองคำ ไปเดินทอดน่องที่พัทยา

04 มี.ค. 2554

เท่าที่จำได้ ตลอดการทำงานเป็นนักข่าวและเขียนหนังสือเกี่ยวกับวัฒนธรรมบันเทิงตลอด 18 ปีนั้น ผมแทบไม่เคยเขียนอะไรจริงจังเกี่ยวกับรางวัล “สุพรรณหงส์ทองคำ” เลย รางวัลทางภาพยนตร์ที่แตะอย่างเต็มมือมาตลอด กลับเป็นสถาบันที่เพิ่งประกาศไปเมื่อ 5 วันที่แล้วที่ชื่อ “

 แต่หากกล่าวโดยนัยแล้ว ออสการ์มี positioning ต่างไปจากสุพรรณหงส์ฯ ตรงที่มันก้าวไกล และเดินทางไปเป็น pop culture มีผลต่อภาคอุตสาหกรรมและความรู้สึกของคนทั้งโลก รวมทั้งยังกลายเป็น “ต้นทุน”
ให้นักแสดงที่เข้าชิง เอาไปค้าขายหากินต่ออย่างชอบธรรม แบบยาวๆ

 อย่างไรก็ดี การเดินทางไกลหลายทศวรรษของตัวสุพรรณหงส์ฯ เอง ก็มีอยู่อย่างน่าสนใจ และผ่านทางตรงทางโค้ง รวมทั้งเคย “แหกโค้ง” หล่นไหล่ทางก็เคย ซึ่งจะว่าไปเป็นเรื่องธรรมดาที่รางวัลตัวหนึ่ง จะผ่านทั้งดอกไม้และก้อนอิฐ ไม่เว้นแม้แต่ออสการ์

 ปีนี้น่าจะสนใจนะครับ น่าสนใจตรงที่ว่าปี 2011 เป็นช่วงเวลาที่รางวัลต่างๆ เกี่ยวกับภาพยนตร์เกิดขึ้นมากกว่า 10 สถาบัน ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ และในฐานะที่เคยเป็นกรรมการ ยังเป็นและเลิกเป็นไปบ้างกับ 4 สถาบัน คือ ชมรมนักวิจารณ์ฯ , คมชัดลึก อวอร์ดส์, สุพรรณหงส์ทองคำฯ และ เทศกาลหนังนานาชาติกรุงเทพฯ

 ผมว่าตัวของสุพรรณหงส์ทองคำเองก็ต้องพิสูจน์ตัวเอง ด้วยแนวทางที่ควรจะเป็นต่อไปถ้านับปีนี้ด้วย ผมเคยเป็นกรรมการลงคะแนนตัดสินหนังของสุพรรณหงส์ฯ 4 ปี และเท่าที่เคยทำงานด้วยก็รู้สึกสบายดี ไม่มีใครมากดดันอะไร รวมทั้งผู้จัดเองก็ให้เกียรติเป็นอย่างดี มิหนำซ้ำจากประสบการณ์การเป็นกรรมการลงคะแนนในสถาบันต่างๆ

 “สุพรรณหงส์ทองคำ” เป็นงานที่มีการลงคะแนนแบบสดๆ เฉียดฉิวการเริ่มงานมากที่สุด เช่นในช่วงที่ผมเคยเป็นนั้น ผมจำได้ว่าวันประกาศนั้น การถกเถียงของกรรมการเป็นไปอย่างเผ็ดร้อนพอสมควร และเมื่อมีการรื้อข้อถกเถียงมาดูกันใหม่ผ่านจอ เวลานั้น เกือบจะใกล้ไปเดินพรมแดงกันอยู่รอมร่อแล้วพูดง่ายๆ ก็คือ คะแนนของผู้ชนะ ถูกหย่อนลงในซองแบบอุ่นๆ ก่อนเปิดไม่ถึง 3 ชั่วโมง

 สมมติว่างานประกาศพูดแถวๆ 19.00 น ปีนั้น 16.00 น กรรมการยังถกเถียงเกี่ยวกับการประชันขันแข่งของนักแสดงที่สูสีกันอยู่เลยครับ ในอดีตผมไม่ทราบนะครับ แต่จากประสบการณ์ ผมไม่เคยเจอเรื่องผิดปรกติอะไรทั้งสิ้น ตั้งแต่ทำงานมาเกือบ 2 ทศวรรษ เรื่องที่ผมได้ยินในการติติงมากที่สุดของสุพรรณหงส์ทองคำ
กลับเป็นเรื่องการเตรียมงาน การเดินทาง การรองรับสถานที่ อาหารการกินมากกว่า

 นั่นคือคืนวันที่ผันผ่านไปของสุพรรณหงส์ทองคำ ส่วนเรื่องรางวัลออกมา มีคนเห็นด้วยไม่เห็นด้วย อันนี้เป็นเรื่องแสนจะปกติ เพราะว่าออสการ์ที่ดังๆ ก็มีคนเห็นแย้งทุกปี ซีไรต์ ไปจนถึงโนเบล ล้วนมีเคยมีคนเห็นแย้งหมดสุดสัปดาห์นี้ 5-6 มีนาคม มิเพียงคนในแวดวง ดารานักแสดง นักวิจารณ์ ผู้กำกับหนังและเซเลบมากมายจะไปปรากฏตัว จัดงานที่พัทยาเท่านั้น แต่ มาราโดนา ยังคงเดินเล่นอยู่ที่นั่นด้วย (ถ้าจะให้ฮา อาจจะจัดรางวัลพิเศษ
ชื่อนักแสดงใช้มือยอดเยี่ยม แล้วมอบให้เขาไป จากเหตุการณ์ hand of god 1986)แม้จะมีรางวัลมากมายเกินนิ้วมือนับ แต่เมื่อเทียบน้ำหนักรุ่นต่อรุ่น ปอนด์ต่อปอนด์แล้ว

 เราต้องยอมรับว่าชื่อชั้นและรูปร่างนั้น สุพรรณหงส์ฯ ตัวใหญ่กว่าทุกค่าย ตัวสูงกว่า “ชมรมวิจารณ์บันเทิง” และตัวหนากว่า “คมชัดลึก อวอร์ดส์” แต่ไม่ได้หมายความว่ากรรมการดีกว่านะครับ ผมว่าคุณภาพของกรรมการ สูสีกันมาก และอยู่ในคลาสเดียวกันเพียงแต่สิ่งที่ซึ่งสุพรรณหงส์ทองคำจะต้องแบกรับมากกว่าก็คือ “หน้าที่” ของตัวเองต่อสังคมและคนดู เนื่องเพราะรางวัลตัวนี้ มีสภาพที่เป็นแกนหลักของวัฒนธรรมภาพยนตร์ เป็นทั้งอดีตที่ยาวนานกว่า และเป็นทั้งประวัติศาสตร์บอกเล่าเกี่ยวกับวัฒนธรรมรางวัลแง่มุมและภาพสะท้อนที่อธิบายได้ง่ายๆ ก็คือ การมาร่วมงานของคนในวงการอย่างเป็นทางการมากที่สุด มากกว่าทุกสถาบัน และมีแขกเหรื่อเข้างานหลากหลายกว่าที่อื่นๆ เพราะตัวสุพรรณหงส์ฯ เอง เหมือนเป็นตัวแทน ของประเทศและเมื่อประกาศไปแล้ว ผลของคะแนนมีการรับรู้มากกว่า ผ่านสื่อมวลชนที่คอยช่วยเหลือกระจายข่าวสารอีกอย่างหนึ่งก็คือ โครงสร้างของกรรมการนั้น พยายามจะเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญทุกแขนง เข้ามาเป็นกรรมการโดยสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียน เพื่อให้เกิดมุมมองและ viewpoint ในการมองเข้าไปมากที่สุด

 บางคนตั้งคำถามว่า ทำไม สุพรรณหงส์ฯ ถึงไม่จัดใจกลางเมืองทุกปี ไม่จัดสกาล่าที่คลาสสิค หรือจัดที่พารากอนอันเป็นสัญญะเชิงความทันสมัย (หรือใครจะคิดว่าจัดกันในเชิงยอมรับสัญญะก็ตาม)ผมไม่ใช่คนวงในแน่นอน แต่ถ้ามองการเดินทางนี้ เหมือนตัวสุพรรณหงส์ฯ เองก็อยากจะมีส่วนในการกระตุ้นบรรยากาศและมีหน้าที่ในการช่วยเหลือสังคมไปด้วย อาทิ ปีที่มีเหตุการณ์สึนามิ ก็ต้อง “ทุลักทุเล” ไปจัดกันแบบตามมีตามเกิด
จนโดนด่าเว็บระเบิด ด้วยความไม่พร้อมในการจัดงานแต่ในที่สุด 2 ปีต่อมา ตัวสถาบันก็ปรับเปลี่ยนการจัดงาน จากการเรียนรู้มากขึ้น เราจะเห็นว่าจากเหตุการณ์ต่างๆ สุพรรณหงส์ฯ เป็นมากกว่าแค่การประกาศรางวัลนักแสดงและหนัง สิ่งที่จะขับเคลื่อนและผลักดันตัวรางวัลของสถาบันใดก็ตาม จะไม่ใช่ปัจจัยภายนอก แต่เป็นเงื่อนไขภายในนั่นคือ กรรมการลงคะแนนตัดสิน

 ซึ่งจะต้องเป็นคนที่มีความรู้ความเข้าใจในระดับหนึ่งกับตัวหนัง เพราะสิ่งนี้จะเป็นตัวยืนยัน เป็นตัวขับเคลื่อนและสร้างความน่าเชื่อถือ ให้กับสังคมวงนอกที่มองเข้ามา ยิ่งมีสถาบันเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ การพิสูจน์หรือปรู๊ฟตัวเองของสถาบันก็ยิ่งต้องมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

 นอกเหนือจากการเตรียมตัวในการจัดงาน ไหนๆ ก็เป็นรางวัลที่เก่าแก่สุดตัวหนึ่ง ก็ขออวยพรให้สุพรรณหงส์แล่นไปข้างหน้าอีกไกลๆ เพราะคนได้ประโยชน์ก็คือ สังคมและคนสร้างงานนั่นเอง

 และการมาเขียนถึงตรงนี้ คงไม่ใช่สิทธิ์ของกรรมการใดๆ เพราะการเป็นกรรมการนั้น สำหรับผมนับเป็นเกียรติ แต่คงไม่ใช่เรื่องที่ต้องเขียนเอาใจใครขอให้ทุกท่าน enjoy กับสุพรรณหงส์ทองคำสุดสัปดาห์นี้

"นันทขว้าง สิรสุนทร"