
"ทราย สก๊อต" เปิดเบื้องหลัง "หมู่บ้านมอแกน" ที่ใครๆไม่กล้าพูด!
อย่าหลงแค่วิวทะเลจนมองข้ามสิทธิคน! "ทราย สก๊อต" เปิดโปงความจริงเบื้องหลังหมู่บ้านมอแกนที่ใครๆไม่กล้าพูด! เล่าเรื่องสะเทือนใจชีวิตจริงของเด็ก "กล้าทะเล"
ประเด็น ทราย สก๊อต เปิดเผยความจริงเกี่ยวกับ หมู่บ้านชาวมอแกน กลายเป็นกระแสในสังคม หลังจากเธอออกมาโพสต์ข้อมูลหรือเปิดโปงเรื่องราวเบื้องหลังที่คนทั่วไปอาจไม่เคยรู้ โดยเฉพาะเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวมอแกนที่กำลังถูกคุกคามจาก การพัฒนา-การท่องเที่ยว-ผลประโยชน์เชิงธุรกิจ บนเกาะสุรินทร์
ประเด็นหลักที่ทราย สก๊อตเปิดเผย
- เด็กๆชาวมอแกนในหมู่บ้านบางคน ไม่ได้ใช้ชีวิตตามวิถีดั้งเดิม ต้องมาทำงานรับทัวร์
- มีข้อสงสัยเรื่อง การบริหารจัดการพื้นที่โดยหน่วยงานรัฐ หรือผู้มีอิทธิพล ที่อาจเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากพื้นที่และทรัพยากร หรือไม่?
- เด็กๆ ชาวมอแกนบางคนขาดโอกาสเข้าถึงการศึกษา หรือบริการพื้นฐานที่คนทั่วไปได้รับ
- การสร้างภาพว่า “หมู่บ้านเป็นแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรม” แต่เบื้องหลังอาจมีความเหลื่อมล้ำหรือการควบคุมที่ไม่เป็นธรรม
โพสต์ของทรายจุดประเด็นให้สังคมหันมาสนใจเรื่อง สิทธิมนุษยชนของชุมชนชายขอบ ชาวเน็ตจำนวนมากให้การสนับสนุนและเรียกร้องให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างโปร่งใส
โดย ทราย สก๊อต ได้โพสต์ข้อมูลดังกล่าวโดยระบุว่า *ไม่ได้มีเจตนาพาดพิงใครแต่จะเล่าในสิ่งที่ทรายเห็นและเจอ เพื่อหวังว่าจะได้มีการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น*
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์เป็นอุทยานเดียวในช่วงระหว่างที่ทรายทำงานเป็นที่ปรึกษาอธิบดีทรายจะหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด เราเคยไปเกาะนี้แค่สามครั้งและถือว่าไม่อยากกลับไปอีก ทำไมทรายถึงรู้สึกอึดอัด?
ครั้งแรกที่ทรายไปเกาะสุรินทร์ก็จะเป็นสามปีก่อนหน้านี้ ตอนนั้นทรายได้จองทัวร์ นอน camp บนเกาะและดำน้ำ 3 วัน ทรายไม่ได้ทราบก่อนหน้าว่าทัวร์ที่ทรายจองนี้มีชื่อเสียงในพื้นที่เพราะเขานำเด็กชาวมอแกนมาเป็นเหมือนทัวร์ไกด์/ พนักงานสอนดำน้ำ น้องๆชาวมอแกนจะมีประมาณ 5-6 คน อายุตั้งแต่ 12-18 ... วันนึงน้องๆพา นทท ดำน้ำตั้งแต่ (คร่าวๆ 9 โมงเช้าจนถึงบ่าย สีโมง) เตรียมอุปกรณ์ดำน้ำและ ดำน้ำถ่ายภาพกับแขก (บางทริปน้องๆต้องรับมือดูแล กลุ่มลูกค่าทัวร์ 10 คน!) รวมถึง ทำหน้าเสริฟอาหารให้แขกและเก็บจาน....ค่าจ้างและค่าตอบแทน? เดือนละ 4000 และทางเจ้าของทัวร์จะให้ tip เด็กๆด้วยการเติมเนตโทรศัพท์มือถือของน้องๆเพื่อได้เล่นเกม
......ตอนนั้นทรายไปเที่ยวรู้สึกอึดอัดมากๆ เพราะในสังคมธรรมดาเขาไม่ได้จ้างเด็กมาเป็นแรงงานและขนาดตอนทานข้าวเที่ยงบริษัททัวร์ดังกล่าวจะไม่ให้ น้องๆ (จริงสมควรเรียกว่าเด็กๆ ) มานั้งทานข้าวด้วยกัน- เด็กๆจะต้องนั้งตรงพนักงานไม่สามารถมาให้นั่งกับลูกค่าได้ สำหรับลูกค่าที่เป็นผู้หญิงสาวๆ ทัวร์นี้ก็จะให้เด็กชาวมอแกนผู้ชายถอดเสื้อถ่ายภาพด้วย..
เด็กๆชาวมอแกนกลุ่มนี้ จะทำงานทุกฤดูการท่องเที่ยวตามช่วงที่อุทยานเปิด... น้องๆจะไป 'รับใช้' ทัวร์ทุกๆครั้งที่มีลูกค่าจองมา โดยจะมีผู้ใหญ่ในหมู่บ้านคนนึงที่คอย 'เกณฑ์' และ'รวบรวม' น้องๆมารายงานตัวกับทัวร์
ทรายสังเหตุว่าสถานการที่น้องๆมอแกนอยู่ไม่ปลอดภัยเลยหลังจากที่ทัวร์เสร็จทรายได้เบอร์ติดต่อน้องๆโดยตรงและจะคอยทักไปถามเรื่องการเป็นอยู่ และชวนมาทำกิจกรรมอาสาสมัครข้างนอกพื้นที่เกาะเพื่อจะได้โอกาสเรียนรู้อะไรใหม่ๆ แต่น้องๆจะกล่าวเสมอว่าต้องถามทางเจ้าของทัวร์และทุกครั้งเจ้าของจะปฏิเสธไม่ให้น้องๆมา (หลักฐาน chat ลงใน post)
ชาวมอแกนอาศัยอยู่บนหาดเล็กๆบนเกาะสุรินทร์ในเขตอุทยาน ทั้งชุมชนอยู่บนหาดเดียวยาวประมาณ 230 เมตร..ไม่สามารถขยายพื้นที่ได้แม้ว่า ประชากรเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ณ วันนี้พื้นที่หาดที่ชุมชนชาวมอแกนอาศัยมีบ้านเรียงติดๆกัน 100 กว่าหลัง....ถ้าใครเคยไปเที่ยวเกาะสุรินทร์ก็จะเห็นว่าสภาพสุขอนามัยเป็นสภาพที่ ควรตั้งคำถามต่อการเป็นอยู่ของเขา
ครั้งที่สามล่าสุดที่ทรายไปเกาะก็คือตอนที่ทรายได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาทรายเลยเอาเรื่องราวนี้เรียนหัวหน้าอุทยานช่วงต้นปีที่แล้ว ทรายเล่าว่ามีบริษัททัวร์ในพื้นที่อุทยานกำลังใช้แรงงานเด็ก ทางหัวหน้าบอกทรายว่าเขาทราบและรู้จักบริษัท (การพูดคุยครั้งนี้ไม่ได้สงผลการเปลี่ยนแปลงใด) เพราะในสำนักงานอุทยานบนเกาะเองเขาก็ได้จ้างชาวมอแกน มาทำงานเก็บกวาด/ ทำงานครัว/ ทำงานแบกกระสอบข้าว/ ขนของ ช่วยงานอุทยานทั้งวัน เมื่อทรายถามพนักงานมอแกนว่าอุทยานให้ค่าตอบแทนเท่าไหร่เขาตอบว่าเดือนละ 4000/5000.... อยากเพิ่มข้อมูลให้ทุกคนว่าชาวมอแกนส่วนใหญ่เป็นคนไทยนะครับ (สมเด็จย่าได้ให้นามสกุลชาวมอแกนว่า 'กล้าทะเล' และหลายๆคนในชุมชนมีบัตรประชาชนไทย)
ในช่วงต้นปีที่แล้วทรายได้แวะไปช่วยภารกิจอนุรักษ์ของอุทยานสามวันเลยได้นึกถึงน้องๆ ที่ทรายเคยรู้จักและชวนมาอาสาช่วยงานอุทยานกับทราย (ออกจากน้องๆ 6 คนที่ทรายรู้จักในปีที่ผ่านมาตายไปสอง) เหลือแค่ 4 คน...แต่สำหรับภารกิจรอบนี้ทรายได้น้องมอแกนมาร่วมกิจกรรมอาสาสมัครสองคนที่เหลือติดงานทัวร์ (รอบอื่นๆที่ชวนน้องมาร่วมกิจกรรมบริษัททัวร์ไม่ให้น้องมาแต่รอบนี้ทรายใช้อำนาจของตำแหน่งกดดันให้เขาปล่อยให้เด็กมา)
ทำไมทรายถึงนำน้องๆมาลองร่วมอาสาและเรียนรู้ในภารกิจของอุทยาน? ชาวมอแกนไทยเป็นแรงบันดาลใจส่วนนึงของหนัง Avatar Way of Water - เพราะชาติพันธุ์ของน้องๆและกรรมพันธุ์ของชาวมอแกนที่อยู่คู่ทะเลมาเสมอเปลี่ยนให้ร้างกายของพวกเขาสามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานกว่ามนุษย์ปกติและบางคนมีสายตาใต้น้ำดีมากๆ ... นี้คือพรสวรรค์ที่ทรายเห็นในตัวน้องๆกับตาจึงอยากให้เขามาช่วยภารกิจ + อีกเหตุผลที่ทรายอยากให้น้องๆมาร่วมกิจกรรมด้วยเพราะต้องการให้ น้องๆที่ทรายรู้จักได้มาอยู่ในสายตาของเจ้าหน้าที่อุทยาน (ให้เจ้าหน้าที่เขารู้ว่าทรายรู้จักน้องๆ) เพื่อจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับเด็กๆ..
ภารกิจหลักของเราในสามวันนั้นคือการดำน้ำสำรวจปะการังด้วยและเก็บขยะ ซึ่งน้องๆเขาสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์แม้ว่าจะต้องดำน้ำไป 10 กว่าเมตรเขาสามารถดำลงไปตัดอวนและดึงกลับขึ้นฝั่งเร็วกว่าเจ้าหน้าที่บนเกาะเอง + เมื่อเราทำภารกิจสำรวจแนวปะการัง น้องๆสามารถชี้และสังเกตุ สัตว์ทะเลและเศษอวนเร็วกว่าทุกๆคนในกลุ่มทีมงาน
ช่วงเย็นทรายใช้โอกาสนั้งเรือไปที่หมู้บ้านชาวมอแกนและนั้งคุยกับชาวมอแกนท่านนึงเขาเล่าว่าชาวมอแกนบนเกาะไม่สามารถ สร้างเรือตามรูปทรงของวัฒนธรรมของเขาได้เพราะถูกกดดันว่าชาวมอแกนต้องซื้อเรือหางยาวจากฝั่งพังงามาทำทัวร์ (เพราะมันไปตามภาพของการท่องเที่ยวของทะเลใต้)
บนเกาะมีโรงเรียนหนึ่งโรงและมีคุณครูอาสาสมัครมาสอนท่านเดียว ครูคนนี้จะต้องสอนทุกๆวิชาและด้วยการเดินทางที่ลำบากบางครั้งก็จะไม่ได้มาสอนเด็กๆบนเกาะ... จึงสงผลให้เด็กๆมอแกนไม่ได้รับการศึกษาเหมือนเด็กไทยคนอื่นๆ
หลังจากที่ภารกิจจบและทรายกลับฝั่งทรายได้รายงานอธิบดี เรื่องของการที่อุทยานจ้างชาวมอแกนเดือนละ 4000/5000 และมีแรงงานเด็ก
สองเดือนต่อมาน้องชาวมอแกนที่มาช่วยอาสางานกับทรายทักมาบอกผ่าน messenger ว่าน้องอีกคนนึงที่ชื่อว่าน้อง ชล ถูกรถชนเสียชีวิตระหว่างที่เดินทางในตัวเมืองพังงา (น้อง ชล ได้โอกาสไปฟึกงานกับบริษัททัวร์แถวเกาะสิมิลัน/ น้องชลยังไม่อายุ 18 ที) น้องที่ติดต่อมาอยากให้ทรายช่วยคิดหาทางนำศพน้อง ชล กลับมาฝังศพที่เกาะสุรินทร์ ทรายเลยบอกน้องเขาว่าจะคุยกับอุทยานให้...แต่ทรายเองรู้สึกหดหู่มากว่าขนาดในกรณีแบบนี้ทำไมน้องๆเขาไม่รู้สึกว่าสามารถขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่บนเกาะได้
(หลักฐาน Chat เป็นภาพประกอบกับ post นี้)
ชาวมอแกน (ซึ่งเป็นส่วนนึงของประชากรคนไทย) เป็นสมาชิกที่สำคัญของสังคมเรา นอกเหนือจากกลยุทธและความสามารถทางดำน้ำของน้องๆ วัฒนธรรมและประวัติของชาวมอแกนเป็นสีสันของประเทศไทยที่เตือนให้เราทบทวนถึงความหลากหลายของคำว่า 'คนไทย'
ความเป็นอยู่ของชีวิตเขาสมควรคู่ควรกับความสามารถของเขา ทางองค์กรใหญ่ๆและภาครัฐควรเพิ่มโอกาสเพื่อสงเสริมและนำความสามารถของเขามาเป็นเอกลักษณ์เด่นที่ยกระดับการท่องเที่ยวทะเลไทยใต้ให้เป็นสีสัน หาไม่ได้ที่อื่น- นอกเหนือจากนั้นชาวมอแกนเป็นบุคคลที่เหมาะสมกับการเป็นเจ้าหน้าที่อุทยานในพื้นที่มากๆเพราะเขาเข้าใจพื้นที่ดีกว่าคนอื่นๆ...
ทรายมาเล่าให้ทุกคนฟังเพราะผมสัญญากับตัวเองว่าเมื่อพร้อมและมีโอกาสทรายจะพูด และอยากให้ชาวมอแกนออกมาเล่าเรื่องราวของเขา.. อยากให้ทุกคนสนใจของเรื่องราวการเป็นอยู่ของน้องๆชาวมอแกน เพราะเด็กไทยทุกคนสมควรได้ชีวิตที่มั่นคงและปลอดภัย
ต่อมา ทราย สก๊อต ได้โพสต์อีกหนึ่งโพสต์โดยระบุข้อความว่า
น้อง ชล เด็กมอแกนคนนึงที่มียังมีอนาคตที่ไกลแต่เสียก่อนที่จะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่และแชร์ความสามารถของตัวตนให้กับโลก น้องชลเป็นนักดำน้ำที่เก่งมากๆ
ครั้งสุดท้ายที่ทรายเจอน้อง ชล.. ทรายไปดูงานอุทยานที่ สิมิลันและได้ยินเสียงคนเรียกชื่อ “พี่ทราย” หันไป อ้าวเจอน้อง ชล… ทรายถามน้องว่าเรามาเจอกันที่ เกาะ สิมิลันได้ยังไง (เพราะบ้านน้องอยู่เกาะสุรินทร์) น้องเขาตอบว่าเขามาฟึกงานกับบริษัททัวร์ในพื้นที่ (ประมาณว่าอยากได้ประสบการ์ณข้างนอก) ทรายเลยตอบน้องว่า ‘ดูแลตัวเองด้วยนะ…มีอะไรให้พี่ช่วยติดต่อพี่ได้เสมอ’
อีกเดือนนึงผ่านมาน้อง ชล โดนรถชนเสียชีวิต..
พี่ทรายอยากขอโทษ น้อง ชล ขอโทษที่สังคมเราไม่ได้ปกป้องน้องมากกว่านี้ ขอโทษที่โลกไม่ได้เห็นความสามารถของน้อง…พี่ขอให้น้องมีจิตวิญญาณที่สบายและสงบ…หวังว่าสักวันนึงเราจะได้ดำน้ำและว่ายน้ำเล่นกันอีกนะครับ
Rest in Peace, little brother