ด่วน คดี "แตงโม" ล่าสุด เปิดผลตรวจเลือดคนบนเรือ พบสาร "อัลปราโซแลม"
ด่วน ผลตรวจเลือดคนบนเรือออกแล้ว!! ล่าสุดมีความคืบหน้าคดี "แตงโม" ที่พลัดตกเรือสปีดโบ๊ทเสียชีวิตปริศนา กลางแม่น้ำเจ้าพระยา มีหลักฐานใหม่อีก 1 ชิ้น หลังผลตรวจเลือดคนบนเรือ พบสารเสพติดของพยานบุคคลจำนวน 1 ราย คือ "ยาเสียวสาว"?!!!
ต้องบอกว่าคดีการเสียชีวิตของ "แตงโม" นิดา พัชรวีระพงษ์ นักแสดงสาวชื่อดัง ยังคงเป็นที่สนใจจากสังคมทั้งประเทศ แม้จะผ่านไปแล้วกว่า 3 เดือน แต่คดีก็ยังคงไม่คลี่คลาย ชัดเจน รวมไปถึงเมื่อวันที่ (26 เมษายน 65) ที่ผ่านมา ทางตำรวจได้ตั้งโต๊ะแถลงข่าวสรุปสำนวนการสอบสวนคดีการเสียชีวิตของ "แตงโม" ว่า "เสียชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจ เนื่องจากการจมน้ำ ยืนยันไม่ใช่การฆาตกรรม ไม่ใช่อุบัติเหตุ แตงโมไม่ได้ตกน้ำเอง แต่มีคนประมาทจนแตงโมตกน้ำเสียชีวิต" อีกทั้งยังชี้แจงเรื่องบาดแผลขนาดใหญ่บนต้นขาของแตงโม ว่า "เป็นแผลที่เกิดจาก ใบพัดเรือ เพราะรอยแผลสอดคล้องกับใบพัดเรือ" แต่ก็ยังมีการสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสอบเพิ่มอีก 20 ประเด็นที่สำคัญ
ล่าสุดวันนี้ (10 พฤษภาคม 65) ในเพจ "สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว" ได้มีการเปิดเผยข้อมูล หลังพบสารเสพติดของพยานบุคคลจำนวน 1 ราย ในคดี "แตงโม" เป็นสารกลุ่มเบนโซไดอาซิปินส์ ชนิด Alprazolam หรือ "ยาเสียสาว"
ซึ่งมีการเขียนระบุแจ้งข่าวว่า "พบ Alprazolam หรือ "ยาเสียตัว" ในพยานบุคคลบนเรือ 1 ราย …
ผู้ตรวจการแผ่นดิน เผย ยังไม่ได้รับคำชี้แจงจาก ตร. ปมไม่ตรวจสารเสพติด 2 ผู้ต้องสงสัยบนเรือ คดี "แตงโม" ขณะที่พบสารเสพติดของพยานบุคคลจำนวน 1 ราย เป็นสารกลุ่มเบนโซไดอาซิปินส์ ชนิด Alprazolam
วันที่ 9 พฤษภาคม 2565 พันตำรวจโท กีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า ขณะนี้ได้รับหนังสือผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคดีการเสียชีวิตของ นางสาว ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ หรือ แตงโม ตามที่นายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ประธานเครือข่ายรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาและแสวงหาข้อเท็จจริง ตลอดจนตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองนนทบุรี กรณีใช้ดุลพินิจโดยมิชอบด้วยกฎหมายและเลือกปฏิบัติในการตรวจหาสารเสพติดและแอลกอฮอล์ในร่างกายของประจักษ์พยานจำนวน 3 คน แต่ไม่ตรวจหาสารเสพติด ในร่างกายของประจักษ์พยานอีก 2 คน ซึ่งเป็นคดีเดียวกันและอยู่ในสถานที่เกิดเหตุเดียวกัน
ซึ่งสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองนนทบุรี พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองนนทบุรี ได้ประสานเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ทำการเก็บตัวอย่างเลือดจากพยานบุคคลที่อยู่ในเรือลำเกิดเหตุ จำนวน 3 ราย ระหว่างเวลา 12.07 น. ถึงเวลา 13.30 น.
ต่อมาเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองนนทบุรี ได้ส่งตัวอย่างเลือดดังกล่าว ไปยังสถาบันนิติเวชวิทยา เพื่อตรวจหรือทดสอบหาปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด และตรวจหาสารเสพติดในร่างกายของพยานบุคคลในเรือลำเกิดเหตุ
ผลการตรวจพิสูจน์ตัวอย่างเลือดโดยวิธี Gas Chromatography ตรวจไม่พบแอลกอฮอล์แต่อย่างใด แต่ผลการตรวจหาสารเสพติดของพยานบุคคลจำนวน 1 ราย ตรวจพบสารกลุ่มเบนโซไดอาซิปินส์ ชนิด Alprazolam
อนึ่ง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 สถานีตำรวจภูธรเมืองนนทบุรี ได้ประสานให้แพทย์และเจ้าหน้าที่ สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ ตรวจร่างกาย สารเสพติด และเก็บชีววัตถุของพยานบุคคล จำนวน 5 ราย ที่อยู่ในเรือลำเกิดเหตุ โดยทำการเก็บตัวอย่างปัสสาวะจากพยานบุคคล จำนวน 3 ราย และปัสสาวะและเลือดจำนวน 1 ราย แต่พยานบุคคลที่อยู่ในเรือลำเกิดเหตุจำนวน 1 ราย ไม่ได้ทำการเก็บตัวอย่างใดๆ เนื่องจากเจ้าตัว ไม่ยินยอมให้ทำการเก็บตัวอย่างเลือดและปัสสาวะ
ทั้งนี้ สารเสพติดสามารถตรวจพบจากตัวอย่างของร่างกายได้นานที่สุดคือตรวจทางเส้นผม โดยสามารถตรวจหาสารเสพติดได้ย้อนหลังนานกว่า 3 เดือน แต่การตรวจหรือทดสอบหาปริมาณแอลกอฮอล์นั้น จะสามารถตรวจพบภายหลังดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปในร่างกายภายใน 30 นาที และปริมาณแอลกอฮอล์จะลดลงเฉลี่ย 15 - 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ต่อชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม หากสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับการชี้แจงข้อเท็จจริงจากตำรวจภูธรภาค 1 แล้ว จะเร่งรัดสรุปผลการวินิจฉัยโดยเร็ว และขอให้สังคมมั่นใจว่าจะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในคดีนี้อย่างเท่าเทียมกัน โดยยึดถือพยานหลักฐานและหลักกฎหมายเป็นสำคัญ
ข้อมูลจากกองควบคุมวัตถุเสพติด ‘ยาอัลปราโซแลม’ (alprazolam) เป็นยากลุ่ม benzodiazepine ที่ออกฤทธิ์สั้นหรือนานปานกลาง เช่นเดียวกับ lorazepam มีชื่อทางการค้า เช่น zolam® , xanax® เป็นต้น ใช้สำหรับรักษาอาการวิตกกังวล สงบระงับ และช่วยให้นอนหลับ มีการดูดซึมยา ( t max) ภายใน 1-2 ชั่วโมง จับกับโปรตีนในพลาสมาได้ 67-72 % และมีค่าครึ่งชีวิต 11.1 – 19 ชั่วโมง
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่นๆ ที่พบ เช่น คลายกล้ามเนื้อลาย (muscle relaxants) ต้านอาการชัก (antiepileptics) ทำให้สูญเสียความทรงจำชั่วขณะ (anterograde amnesia) ความสามารถในการเรียนรู้ และความจำลดลง สมรรถภาพในการทำงานที่ต้องใช้ความชำนาญ หรือการตัดสินใจฉับพลันเสื่อมลง เนื่องจากยานี้มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางจึงมีผู้ที่นำยานี้มาใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด เช่นที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ ว่า ยาเสียตัว"
ขอบคุณเพจ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว