
พรมแดนของโลกมายา - มาดมัวแซล นาเดีย บูลังเกร์
อัลบั้มดีวีดีหนังสารคดี Nadia Boulanger Mademoiselle โดย Bruno Monsaingeon ถ่ายทำเมื่อปี 1977 ในวาระครบรอบ 90 ปีก่อนที่จะถึงแก่กรรมในปี 1979 Nadia Boulanger (1887-1977) เธอคือหนึ่งในศาสตราจารย์สอนวิชาดนตรีผู้มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20 เป็นวา
หนังสารคดีเรื่องนี้อาจจะดูค่อนข้างเข้าใจยากสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่เคยมีพื้นฐานทางด้านดนตรีคลาสสิกมาก่อน อย่างน้อยที่สุดควรเป็นผู้สนใจฟัง ติดตามศึกษาหาข้อมูล เหมาะอย่างยิ่งสำหรับครูสอนดนตรี นักเรียนวิชาดนตรี อาจเป็นวิสัยทัศน์สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีลูกหลานเรียนดนตรี และสำหรับลูกผู้หญิงทุกคนโดยเฉพาะคนดนตรี
Paul Var?lie เล่าถึงรากเหง้าที่มาของครอบครัวดนตรีของนาเดีย (มาดมัวแซล) กับความประทับใจของเขาเมื่อได้พบเธอครั้งแรก ตัดไปสู่ชั้นเรียนในบ้านที่เธอกำลังสอนนักเรียนเด็กในวิชาฮาร์โมนี มันเป็นการสอนที่ใกล้ชิดลึกซึ้ง
เธออธิบายให้ลูกศิษย์ระหว่างทฤษฎีกับเสียงโน้ตแต่ละตัวที่เล่นออกมา ลูกศิษย์ที่เคยศึกษากับเธอหลายคนออกไปทำงานดนตรีในสาขาต่างๆ เป็นศิลปินมีชื่อเสียงด้านเปียโน อาทิ Dinu Lipatti, Daniel Barenboim ฯลฯ นักประพันธ์ดนตรีและวาทยกร อาทิ Aaron Copland, Walter Piston, Michel Legrand, Igor Markevitch, Leonard Bernstein เล่าว่าเขาเคยเอาเพลงที่เขียนไว้ไปเล่นให้เธอฟัง เธอแนะเขาทันทีว่าโน้ตเบส B flat ไม่น่าใช้มันทำให้เสียงหม่น ตอนนั้นเขาอายุ 58 ปีแล้ว เขารู้สึกเหมือนเป็นนักเรียนอายุ 21 ปี เขายังยอมรับว่าเธอเป็นคนเหลือเชื่อและเด็ดเดี่ยวมาก Stravinsky เคยพูดถึงเธอว่า นาเดียได้ยินเสียงทุกเสียง Bernstein ยังเล่าถึง Stravinsky ในช่วงที่มีปัญหา แต่นาเดียกลับเข้าใจถึงวิวัฒนาการของเขาได้ดี
นาเดียแสดงทัศนะทางดนตรีของเธอว่าเธอยอมรับในพระเจ้า อารมณ์ และผลงานชิ้นเอก รวมทั้งทัศนะใหม่ทางดนตรี เธอเคยสอนลูกศิษย์ว่า เมื่อเธอเขียนเพลงเธอจะลองผิดลองถูกบ้างก็จงทำไปเถิด แต่ต้องให้ มันเป็นธรรมชาติและอิสระ มากกว่าความปรารถนาให้ผู้อื่นยอมรับมากกว่าตัวเธอเอง เรื่องสำคัญของครูคือ ปล่อยให้ศิษย์เล่นหรือเขียนอย่างที่เขาอยากจะทำ และอีกหลายเรื่องที่สำคัญเกี่ยวกับการรับศิษย์ใหม่ ข้อแรกคือ พยายามทำความเข้าใจพรสวรรค์ที่เด็กมีติดตัวมา นาเดียยังพูดถึงพรสวรรค์ไว้อย่างน่าสนใจ เมื่อเธอเปรียบเทียบระหว่างพรสวรรค์และความสามารถทางเทคนิคของนักเรียน 2 คน เธอยังให้ความสำคัญค่อนข้างมากในเรื่องบุคลิกเฉพาะตัว นาเดียได้ตอบคำถามเกี่ยวกับปัญหาด้านดนตรีที่ค่อนข้างท้าทาย และติดตามศึกษา ดังที่ Paul กล่าวว่า นาเดียเป็นคนเปิดใจกว้าง เขายกตัวอย่างที่เธอต้องศึกษาทฤษฎี Twelve Tone ของ Sh?nberg เพื่อสนองความต้องการของลูกศิษย์ แทนที่จะบอกปัดหรือแสดงความปฏิเสธ เธอกลับใส่ใจเพื่อช่วยเหลือพวกเขา
ในช่วงท้าย นาเดียแสดงตัวตนชัดเจนในจุดเปลี่ยนของชีวิต จากการเป็นผู้ประพันธ์ดนตรี มาเป็นครูสอนดนตรี นับได้ว่าเธอเป็นผู้กล้ายอมรับตัวเอง และเข้าใจตัวเองอย่างแท้จริงคนหนึ่ง
"วีระศักดิ์ สุนทรศรี"