บันเทิง

ชุดที่ไม่มีใครได้เห็นของ มิสยูนิเวิร์สเมียนมา 2020

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ความหมายสุดลึกล้ำสัญลักษณ์แห่งสันติ คือชุดประจำชาติ ที่มิสยูนิเวิร์สเมียนมา 2020 ไม่ได้ใส่และไม่มีใครได้เห็นบนเวทีจักวาล ชุดที่ต้นแบบมาจากตุ๊กตาล้มลุกแสดงถึงความไม่ย่อท้อ จะล้มกี่ครั้งก็ลุกขึ้นมาได้ซึ่ง เป็นการสะท้อนวิกฤตทางการเมืองของเมียนมา ในปัจจุบัน

ภาพที่เป็นกระบอกเสียงปรากฏออกสื่อทั่วโลกในการประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2020 (ครั้งที่69)  นั่นก็คือภาพของ ธูซาร์ วินท์ ลวิน ตัวแทนสาวงามจากเมียนมา ที่มาในชุดประจำชาติแบบเรียบง่าย พร้อมกับชูป้าย “Pray for Myanmar” หรือ “สวดภาวนาให้เมียนมา” หากกระเป๋าเดินทาง ของ  ธูซาร์ วินท์ ลวิน  มิสยูนิเวิร์สเมียนมา  2020 ไม่ตกค้างแฟนๆนางงามก็จะได้เห็น อีกหนึ่งในชุดที่สำคัญในการประกวดนั่นก็คือ ชุดประจำชาติที่เธอเตรียมไว้แต่ไม่ได้ใส่ขึ้นเวทีการประกวด ที่แฝงไปด้วยความหมายอันลึกซึงในหลายแง่มุม สะท้อนกับสิ่งที่ ประเธอของเธอกำลังเผชิญวิกฤตทางการเมือง

 

ชุดที่ไม่มีใครได้เห็นของ มิสยูนิเวิร์สเมียนมา  2020

 

 

 

โดย ชุดที่ไม่มีใครได้เห็นของ ยูนิเวิร์สเมียนมา  2020 เป็นชุดประจำชาติ ได้แรงบันดาลใจจากของเล่นทางวัฒนธรรมอย่าง Pyit-Tine-Htaung  หรือตุ๊กตาล้มลุกของเล่นที่ทำมาจากไม้ รูปร่างเหมือนไข่ มีใบหน้าเหมือนคน เป็นของเล่นที่แฝงไปด้วยคติความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ชีวิตและการที่ไม่ยอมย่อท้อต่ออุปสรรคและปัญหา ก็เหมือนกับว่า  Pyit-Tine-Htaung  คือวิถีแห่งจิตใจที่ไม่ยอมแพ้ของเมียนมา

 

 

ชุดที่ไม่มีใครได้เห็นของ มิสยูนิเวิร์สเมียนมา  2020

 

Pyit-Tine-Htaung หากแปลตรงตัวว่าหมายถึงการลุกขึ้นจากการโยนทุกครั้ง ตัวตุ๊กตาทำจากกระดาษและมีรูปร่างวงรี โดยส่วนก้นจะใหญ่กว่าด้านบนซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มันตั้งตรงได้ ส่วนเพศของตุ๊กตาจะถูกแบ่งแยกด้วยการวาดใบหน้า นอกจากตัวตุ๊กตากระดาษ ยังสวมเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับแบบ Thu-Nge-Naw เพื่อแสดงการเต้นรำแบบดั้งเดิม มีกำไลทองคำ โซ่เท้า และเหรียญตราจะสวมใส่ในระหว่างพิธี ขณะที่รองเท้าเลียนแบบนกฟีนิกซ์จากตำนานของเมียนมา ส่วนผมมัดเป็นหางเปียที่มีความร่วมสมัยลักษณะเฉพาะของ Pyit-Tine-Htaung คือสามารถลุกขึ้นได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์ใดๆ จึงภูมิใจนำเสนอเป็นชุดประจำชาติของ Miss Universe Myanmar ในปีนี้

 

 

 

นอกจากตุ๊กตาแล้ว ก็ยังเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับแบบ Thu-Nge-Naw ก็เป็นสิ่งสำคัญกับแสดงการเต้นรำแบบดั้งเดิม มีทั้งกำไลทองคำ โซ่เท้า และเหรียญตราจะสวมใส่ในระหว่างพิธี ส่วนการออกแบบของรองเท้านั้นได้เลียนแบบนกฟีนิกซ์จากตำนานของเมียนมา และที่ขาดไม่ได้คือ   ‘แป้งทานาคา’ ที่นำมาแต่งแต้มบนใบหน้าของ มิสยูนิเวิร์สเมียนมา 2020 ได้อย่างลงตัว

 

ชุดที่ไม่มีใครได้เห็นของ มิสยูนิเวิร์สเมียนมา  2020

 

ทั้งนี้เหล่าผู้ชุมนุมชาวเมียนมายังเคยได้ใช้ Pyit-Tine-Htaung เพื่อเป็นการแสดงออกทางการเมืองอย่างสันติ และสร้างสรรค์ โดยนำตุ๊กตาหลายพันตัวมาวางไว้บนท้องถนน แทนการชุมนุมบนโดยตุ๊กตาล้มลุกนี้จะแสดงถึงความไม่ย่อท้อของผู้ชุมนุม ที่ไม่มีว่าจะล้มสักกี่ครั้ง พวกเขาก็จะลุกขึ้นมาหยัดยืนต่อสู้กับความอยุติธรรม ตลอดไปและนี่วิถีแห่งจิตใจที่ไม่ยอมแพ้ของเมียนมา

 

ชุดที่ไม่มีใครได้เห็นของ มิสยูนิเวิร์สเมียนมา  2020

 

ชุดที่ไม่มีใครได้เห็นของ มิสยูนิเวิร์สเมียนมา  2020

 

 

ชุดที่ไม่มีใครได้เห็นของ มิสยูนิเวิร์สเมียนมา  2020

 

ชุดที่ไม่มีใครได้เห็นของ มิสยูนิเวิร์สเมียนมา  2020

 

ชุดที่ไม่มีใครได้เห็นของ มิสยูนิเวิร์สเมียนมา  2020

 

 

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ