บันเทิง

“แบงค์-มุกดา” ซึมซับแรงบันดาลใจของจาก “ในหลวงรัชกาลที่ 9”  

“แบงค์-มุกดา” ซึมซับแรงบันดาลใจของจาก “ในหลวงรัชกาลที่ 9”  

19 ต.ค. 2560

"แบงค์" อาทิตย์ ชวน "มุก"มุกดา ชมนิทรรศการ “ดิน น้ำ ป่า ฟ้า” รับแรงบันดาลใจของจาก “ในหลวงรัชกาลที่ 9”

         เชื่อเหลือเกินว่า “ในหลวงรัชกาลที่ 9” เป็นแรงบันดาลใจให้ปวงชนชาวไทยจำนวนมาก ซึ่งหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครจึงได้รวบรวม “แรงบันดาลใจจากพ่อ” จัดเป็นนิทรรศการ “ดิน น้ำ ป่า ฟ้า” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “น้อมรำลึกองค์อัครศิลปิน” และรำลึกพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผู้องค์อุปถัมภ์งานด้านศิลปวัฒนธรรม

“แบงค์-มุกดา” ซึมซับแรงบันดาลใจของจาก “ในหลวงรัชกาลที่ 9”  

 

        ทั้งนี้ “บันเทิงคม ชัด ลึก” จึงชักชวนพระเอกและนางเอกสาวดาวรุ่ง “แบงค์” อาทิตย์ ตั้งวิบูลย์พาณิชย์ และ “มุก” มุกดา นรินทร์รักษ์ มาซึบซับแรงบันดาลใจครั้งนี้ เมื่อถึงเวลานัดหมายหนุ่มแบงค์และสาวมุกมาในชุดไว้ทุกข์สีดำอย่างสุภาพเรียบร้อย

แบงค์และมุกเดินมายังจุดนัดหมายในหอศิลปวัฒนธรรม โดยสาวมุกพูดขึ้นว่า “ตื่นเต้นมากนะที่มาชมนิทรรศการครั้งนี้” มุกหันไปคุยกับแบงค์ที่กำลังสอดส่องสายตามองดูรอบๆ หอศิลป์ด้วยความสนใจ จากนั้นทั้งสองคนเดินขึ้นไปยังชั้น 7 เพืื่อเดินชมนิทรรศการ “ดิน น้ำ ป่า ฟ้า” แรงบันดาลใจจากพ่อ 

“แบงค์-มุกดา” ซึมซับแรงบันดาลใจของจาก “ในหลวงรัชกาลที่ 9”  

        ทันทีที่เข้ามายังห้องโถงที่ไว้จัดนิทรรศการแบงค์กับมุกถึงตะลึงกับความคิดสร้างสรรค์ของเหล่าศิลปินที่มาจัดแสดงครั้งนี้ โดยมุกไม่พลาดที่จะหยิบโบรชัวร์ติดไม้ติดมือมาด้วย “พี่แบงค์ๆ รู้ไหมว่ามีกี่ศิลปินที่มาจัดงานแสดงครัั้งนี้!?” แบงค์สายหน้า มุกอมยิ้มเบาๆ แล้วค่อยๆ ตอบ “45 ศิลปิน และมีผลงานทั้งหมด 90 ผลงาน” มุกตอบอย่างฉะฉาน 

         แบงค์เหลือบไปมองโบรชัวร์ในมือของสาวมุกพร้อมทั้งพูดว่า “อ่านรายละเอียดมาหมดแล้วใช่ไหมถึงมาถามพี่เนี่ย” แบงค์แซวมุกได้แต่ยิ้ม   ทั้งสองคนค่อยๆ เริ่มเดินชมนิทรรศการต่างๆ ด้วยความสนใจอย่างมาก  ถึงแม้ว่างานศิลปะจะต้องใช้จินตนาการของผู้เสพ แต่ทุกชิ้นงานนั้นได้รับแรงบันดาลใจจาก “ในหลวงรัชกาลที่ 9” ทั้งหมด  

“แบงค์-มุกดา” ซึมซับแรงบันดาลใจของจาก “ในหลวงรัชกาลที่ 9”  

         อย่างเช่นผลงานที่ใช้ชื่อว่า “ฝนหลวง”  ที่ศิลปินนำโอ่งดินมาจัดวาง มุกหันไปพูดคุยแบงค์   “เห็นโอ่งแล้วนึกถึงน้ำฝนเลยอ่ะ พี่แบงค์ว่าไหม” มุกพูด แบงค์พยักหน้ารับ “คนสมัยก่อนใช้โอ่งเก็บน้ำฝนไว้ทั้งกินและใช้ไง” แบงค์ตอบพร้อมทัั้งพูดเสริมว่า   “รู้เลยว่าเจ้าของผลงานต้องได้รับแรงบันดาลใจจากโครงการฝนหลวงของรัชกาลที่ 9”    

         “งั้น..มุกขอถามพี่แบงค์ต่อแล้วโครงการฝนหลวงก่อตั้งเมืื่อปีพ.ศอะไร” มุกถาม แบงค์ไม่รอช้ารีบใช้ความทันสมัยของเทคโนโลยี  เสิร์ช หาข้อมูลทันที “เมื่อปี พ.ศ.2498 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎรและเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตรจึงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานโครงการพระราชดำริ “ฝนหลวง” ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี พ.ศ.2512 ด้วยความสำเร็จของโครงการ จึงได้ตราพระราชกฤษฎีการก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นในปีพ.ศ.2518 ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวง” แบงค์ตอบอย่างมั่นใจจากข้อมูลที่ีหามา  

“แบงค์-มุกดา” ซึมซับแรงบันดาลใจของจาก “ในหลวงรัชกาลที่ 9”  

   “ถึงคราวพี่ถามมุกบ้างนะ รู้ไหมว่า “ในหลวงรัชกาลที่ 9” มีโครงการพระราชดำริทัั้งหมดกี่โครงการ“ แบงค์ถามกลับ  มุกตอบอย่าางรวดเร็ว ”4,685 โครงการ"    แบงค์ปรบมือด้วยความภาคภูมิใจ  

   จากนั้นทั้งแบงค์และมุกเดินชมผลงานของศิลปินท่านอื่นมาเรื่อยๆ จนมาถึงผลงานที่ได้นำ  “พระราชเสาวนีย์” ของ  “สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ”   ตรัสไว้ว่า  “...พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ ... พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า...”   แบงค์และมุกยืนอ่านอยู่ครู่ใหญ่จนกระจ่างชัดอยู่ในใจ รับรู้ถึงพระราชปณิธานของพ่อแและแม่ของแผ่นดิน  

“แบงค์-มุกดา” ซึมซับแรงบันดาลใจของจาก “ในหลวงรัชกาลที่ 9”  

        เพื่อความต่อเนื่องแบงค์และมุกเดินชมมาอีกด้านหนึ่งของนิทรรศการ “ดิน น้ำ ป่า ฟ้า” แรงบันดาลใจจากพ่อ ซึ่งเป็นฝั่งที่จัดแสดงภาพถ่ายเก่ี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้เมืองไทย  แบงค์และมุกค่อยๆ ดูอย่างพินิจพิเคราะห์ภาพถ่ายแต่ละรูป ภาพเหล่านี้สะท้อนให้ถึงความห่วงใยของ “ในหลวงรัชกาลที่ 9” ที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย ที่มีผืนแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์  

“แบงค์-มุกดา” ซึมซับแรงบันดาลใจของจาก “ในหลวงรัชกาลที่ 9”  

    

เรื่อง ภัทรวรรณ สุนทรธนานุกูล 

ภาพ อนันต์ จันทรสูตร์