
สู่ยุคใหม่ในวงการโทรทัศน์ไทยความล้ำสมัยของ'ทีวีดิจิทัล'
19 ส.ค. 2558
สู่ยุคใหม่ในวงการโทรทัศน์ไทยความล้ำสมัยของทีวีดิจิทัล : สกู๊ปดิจิทัล
ที่ผ่านมามีการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวในแวดวงทีวีดิจิทัลมามากพอสมควร แต่มานั่งย้อนดูแล้ว ยังไม่ค่อยมีการพูดถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามามีบทบาทในการออกอากาศโทรทัศน์ในบ้านเราสักเท่าไหร่ วันนี้เลยถือโอกาสมาแนะนำเรื่องราวเหล่านี้ให้ได้เข้าใจและรู้จักกับสิ่งใหม่เหล่านี้ใหม่มากยิ่งขึ้น
HD และ SD
เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยได้ดูโฆษณาทางโทรทัศน์มาบ้างแล้ว กับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับระบบโทรทัศน์ในบ้านเรา ซึ่งเริ่มแล้วกับระบบทีวีดิจิทัลและถ้าไม่ได้คิดอะไรมากมาย ความหมายของทีวีดิจิทัลคือ การได้รับชมภาพระดับความคมชัดสูง หรือที่เรามักนึกถึงคำว่า HD ซึ่งย่อมาจากคำว่า High Definition นั่นเอง โทรทัศน์ที่ขายๆ กันตามห้างสรรพสินค้า ก็บอกว่าเป็น HD เช่นเดียวกัน แต่ยังอาจไม่สามารถรับชมภาพดิจิทัลได้ทั้งหมดมาเปรียบเทียบรายละเอียดของคำว่า SD กับ HD แตกต่างกันอย่างไร
SD ย่อมาจากคำว่า Standard Definition ถ้าเป็นภาษาไทย คำว่า SD ข้างต้น ก็น่าจะหมายถึง ความคมชัดแบบมาตรฐาน หรือปกติ นั่นเอง ดังนั้น บ้านใครที่ติดตั้งจานดาวเทียม และชมช่องดิจิทัลได้ แสดงว่า ภาพที่ได้ยังไม่ถึงระดับ HD แน่นอนมาถึงตอนนี้คงต้องมาเปรียบเทียบให้ดูว่า ความละเอียดหรือความคมชัดระดับ SD ต่างจาก HD เท่าไหร่สำหรับค่าความละเอียดของ SD และ HD ค่าของ SD ความละเอียดอยู่ที่ 720x480 HD ความละเอียดอยู่ที่ 1,280x720p Full HD ความละเอียดอยู่ที่ 1,920x1,080 p จากข้อมูลข้างต้นเชื่อว่า คงทำให้หลายๆ กระจ่างบ้างว่า ความคมชัด SD ต่างจาก HD อย่างไร ถ้าดูให้ดีๆ ตัวเลขข้างบนก็มีการเปรียบเทียบเหมือนกับความละเอียดของกล้องดิจิทัลที่เราได้เห็นได้กันบ่อยๆ
อัตราส่วนการออกอากาศ 16?:9
ทีวีดิจิทัล หรือโทรทัศน์ระบบดิจิทัล คือช่องสัญญาณที่ได้รับการแพร่ภาพจากระบบดิจิทัล แทนระบบอนาล็อกแบบเก่า ซึ่งทีวีระบบดิจิทัลสามารถแพร่ภาพในอัตราส่วน 16:9 คุณภาพ HD และเสียงแบบเซอร์ราวนด์ 5.1 และมีจำนวนช่องที่เพิ่มขึ้นถึง 48 ช่อง ในขณะที่ทีวีอนาล็อกหรือโทรทัศน์ระบบอนาล็อก แพร่ภาพจากเสา ซึ่งสัญญาณอาจถูกบดบังได้หากถูกตึกหรือภูเขาบัง แสดงภาพในอัตราส่วน 4:3 ถือเป็นคุณภาพระดับ SD เสียงแบบสเตอริโอ และจำนวนช่องที่น้อยกว่าระบบดิจิทัล ในปัจจุบันการออกอากาศแบบอัตราส่วน 16:9 มีการใช้อย่างครอบคลุมเกือบทุกช่อง สำหรับข้อดีของอัตราส่วนแบบนี้คือ ภาพที่ออกอากาศจะสวย ดูดี และคมชัดมากขึ้น
กล้องโดรน (Drone)
กล้องโดรนเป็นเครื่องบินร่อนไร้คนขับที่ใช้การบังคับการผ่านรีโมทคอนโทรล ซึ่งตอนนี้กล้องโดรนได้มาเป็นส่วนหนึ่งของการรายงานข่าวแล้ว การใช้เครื่องบินเล็กบังคับได้เพื่อลอยขึ้นไปบนท้องฟ้าเพื่อบันทึกภาพจากข้างบนได้มีการลองใช้กันบ้างแล้วในเมืองไทย ที่เห็นได้ชัดเจนก็มีสื่อในเครือเนชั่นที่ใช้กล้องโดรนมาทำงานในวงการข่าวอย่างจริงจัง ที่คิดจะใช้ “ฝูงบินโดรน” ขึ้นไปบนท้องฟ้าเพื่อถ่ายทอดสดบางสถานการณ์ ที่จะสร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้ดูรายการข่าวทางโทรทัศน์ของเรากันทีเดียว กล้องโดรนมีประโยชน์มากมายหลายด้านในการทำงานด้านข่าว เช่น ทำข่าวและถ่ายภาพจากบนท้องฟ้าได้ไม่ว่าจะเป็นข่าวจราจรติดขัด ข่าวอากาศ อุบัติเหตุ หรือภัยธรรมชาติ รวมถึงสภาพอากาศเป็นพิษ หรือตำรวจตามล่าผู้ร้าย เป็นต้น แต่ก่อนอาจจะคุ้นชินกับการที่ต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ลำใหญ่ราคาแพง เพื่อจะรายงานข่าวจากจากมุมสูง แต่วันนี้เมื่อมีกล้องโดรนแล้ว อะไรๆ ก็ง่ายขึ้น ข้อถัดมากล้องโดรนไม่ใช่จะเพียงแค่ทำหน้าที่เก็บภาพสวยๆ จากที่สูงเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้อุปกรณ์ที่เป็นเซ็นเซอร์เพื่อเก็บข้อมูลหรือสแกนเพื่อประเมินสถานการณ์ต่างๆ อย่างเช่น เขตน้ำท่วม น้ำมันหรือสารเคมีรั่วลงแม่น้ำ หรือทะเล เก็บข้อมูลทางภูมิศาสตร์ต่างๆ ได้อีกด้วย โดรนสามารถช่วยให้นักข่าวและช่างภาพทำหน้าที่ของตัวได้โดยปลอดภัยหรือเสี่ยงน้อยลงขณะทำข่าวที่มีโอกาสสุ่มเสี่ยงต่ออันตรายได้
.......................................
(หมายเหตุ สู่ยุคใหม่ในวงการโทรทัศน์ไทยความล้ำสมัยของ“ทีวีดิจิทัล” : สกู๊ปดิจิทัลX